แหล่งเรียนรู้สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชหรือแหล่งสงวนชีวมณฑลสะแกราช ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2510 โดยมีภารกิจการวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา จนถึงขณะนี้มีผลงานวิจัยในพื้นที่แห่งนี้มากกว่า 200 เรื่องขณะเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2519 สถานีฯ สะแกราชได้รับการรับรองจาก UNESCO ภายใต้โครงการ MAB (Man and Biosphere Program) ให้เป็นแหล่งสงวนชีวมณฑลแห่งหนึ่งของโลกซึ่งเป็นแห่งแรก ของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 7 แห่งของเอเซียในขณะนั้น ขณะนี้แหล่งสงวนชีวมณฑลมีจำนวน 529 แห่ง ใน 105 ประเทศ (ข้อมูล 23 พฤศจิกายน ปี 2550)
กลับไปที่เนื้อหา
สาระ มาตรฐานและตัวชี้วัดชั้นปี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3 ) และช่วงชั้นที่ 4 (ม. 4 – ม.6)
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1. 2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
(ม.3) 4. สำรวจและอธิบายความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล
5. อธิบายผลของความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม
( ม.4 – 6) 3. สืบค้นข้อมูลและอภิปรายผลของความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
( ม.3) 1. สำรวจระบบนิเวศต่างๆในท้องถิ่นและอธิบายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศ
(ม.4 – 6) 1. อธิบายดุลยภาพของระบบนิเวศ
3. อธิบายความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และเสนอแนะแนวทางในการดูแลและรักษา
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศและโลก นำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด
( ม.3 ) 1. วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา
2. อธิบายแนวทางการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
3. อภิปรายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
4. วิเคราะห์และอธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. อภิปรายปัญหาสิ่งแวดล้อมและเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา
6. อภิปรายและมีส่วนร่วมในการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
( ม.4-6 ) 1. วิเคราะห์สภาพปัญหา สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในระดับ ท้องถิ่น ระดับประเทศและระดับโลก
2. อภิปรายแนวทางในการป้องกันแก้ไข ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
3. วางแผนและดำเนินการเฝ้าระวัง อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
( ม.3 ) 3. สังเกตและอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นแนวตรง และแนวโค้ง
สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
( ม.3 ) 1. อธิบายงาน พลังงานจลน์ พลังงานศักย์โน้มถ่วง กฎการอนุรักษ์พลังงานและความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเหล่านี้ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของ ชีวมณฑล และบอกความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศของป่าสะแกราชได้
2. อธิบายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในระบบนิเวศของป่าสะแกราชได้
3. เสนอแนวทางการักษาสมดุลของระบบนิเวศได้
4. เสนอแนวทางในการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นได้
5. อธิบายการเคลื่อนที่ของผลไม้มีปีกที่ตกจากต้นโดยอาศัยกฎการอนุรักษ์พลังงานได้
กลับไปที่เนื้อหา
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชอยู่ในสังกัดของศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ (ศลช.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ 9 ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชได้รับการรับรองจาก UNESCO ภายใต้โครงการ MAB (Man and Biosphere Program) ให้เป็นเป็นแหล่งสงวนชีวมณฑลแห่งหนึ่งของโลก ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 48,800 ไร่ มีพื้นที่อยู่ในเขตตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย ตำบลวังน้ำเขียวและตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมาโดยอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองนครราชสีมา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 60 กิโลเมตร
ภูมิประเทศภายในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชเป็นขอบด้านใต้ของที่ราบสูงโคราช มีความสูงอยู่ระหว่าง 280-762 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มียอดเขาสูงที่อยู่ทางด้านใต้ของพื้นที่สถานี ได้แก่ เขาเคลียด (สูง 762 เมตร) เขาเขียว (สูง729 เมตร) และเขาสูง (สูง725 เมตร) ส่วนความลาดชันอยู่ระหว่าง 10-30 และ 30-45 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับจากแผนที่ภูมิประเทศ จะเห็นสภาพพื้นที่ในส่วนของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชเป็นดังภาพ และเมื่อดูจากภาพถ่ายดาวเทียม ลักษณะภูมิประเทศที่เห็นเป็นดังนี้
ภาพอ้างอิง
ภาพขอบเขตสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จาก http://www.tistr.or.th/sakaerat/Map_GIS/Map001.htm
แผนที่จาก https://maps.google.com/maps?client=safari&q=สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช&oe=UTF-8&ie=UTF-8&hl=th
กลับไปที่เนื้อหา
เราสามารถเดินทางไปยังสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชโดยรถยนต์ จากกรุงเทพมหานคร จะไปได้ หลายเส้นทาง เส้นทางแรกจากกรุงเทพฯ ไปทางสระบุรี เข้าถนนมิตรภาพผ่านอำเภอมวกเหล็ก ตรงไปอำเภอปากช่อง มุ่งไปทางจังหวัดนครราชสีมา แล้วเลี้ยวขวาเข้าอำเภอปักธงชัยตรงไปทางอำเภอวังน้ำเขียว จะเห็นสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชอยู่ทางขวามือ เส้นทางนี้จะมีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร เส้นทางที่สอง จากกรุงเทพไปทางรังสิต เดินทางไปตามถนนสายรังสิต-นครนายก ผ่านตัวจังหวัดนครนายกแล้วเลี้ยวขวาไปทางจังหวัดปราจีนบุรี ผ่านอำเภอประจันตคาม อำเภอกบินทร์บุรี เลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอวังน้ำเขียว ผ่านตัวอำเภอวังน้ำเขียวไม่ไกลนักจะถึงสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชซึ่งอยู่ทางซ้ายมือ เส้นทางนี้จะมีระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร แต่ทางหลวงจากจังหวัดนครนายกไปถึงกบินทร์บุรี แคบ เป็นการจราจรสองช่องทางเส้นทางที่สามใช้ถนนวงแหวนตะวันออกหรือถนนกาญจนาภิเษกหรือมอเตอร์เวย์ จากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางไปจังหวัดชลบุรี ถึงทางออกไปจังหวัดฉะเชิงเทราก็เลี้ยวซ้ายเข้าจังหวัดฉะเชิงเทราไปจนถึงถนนเลี่ยงเมืองจึงเลี้ยวขวา จากนั้นตรงไปจนถึงอำเภอพนมสารคาม อำเภอกบินทร์บุรี ผ่านอำเภอวังน้ำเขียว จะถึงสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชซึ่งอยู่ทางซ้ายมือ เส้นทางนี้มีระยะทางประมาณ 230 กิโลเมตร
กลับไปที่เนื้อหา
ข้อมูลจาก http://www.tistr.or.th/sakaerat ได้กล่าวถึงความเป็นมาของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชหรือแหล่งสงวนชีวมณฑลสะแกราชว่า สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2510 มีหน้าที่วิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ได้รับการรับรองจาก UNESCO ภายใต้โครงการ MAB (Man and Biosphere Program) ให้เป็นแหล่งสงวนชีวมณฑลแห่งหนึ่งของโลกซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 7 แห่งของเอเซียในขณะนั้น
ในปี พ.ศ. 2543 UNESCO/MAB ได้มีนโยบายที่จะเพิ่มจำนวนแหล่งสงวนชีวมณฑลพร้อมทั้งขยายพื้นที่แหล่งสงวนชีวมณฑลที่มีอยู่เดิม ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีการขยายพื้นที่ของแหล่งสงวนชีวมณฑลสะแกราช ออกไปจากเดิมที่มีอยู่ 48,800 ไร่ เป็น 481,969 ไร่ หรือประมาณ 771 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่11 ตำบล ของอำเภอวังน้ำเขียวและอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ในอำเภอวังน้ำเขียวได้แก่ ตำบลอุดมทรัพย์ ตำบลวังน้ำเขียว ตำบลวังหมี ตำบลไทยสามัคคีและตำบลระเริง ส่วนอำเภอปักธงชัยครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูหลวง ตำบลตะขบ ตำบลตูม ตำบลสุขเกษม ตำบลลำนางแก้วและตำบลงิ้ว
ในพื้นที่แหล่งสงวนชีวมณฑสะแกราชตามที่ได้กำหนดใหม่ ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 771ตารางกิโลเมตรนั้น มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาอยู่ทางด้านเหนือ ซึ่งรวมพื้นที่ของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชด้วย ภูเขาดังกล่าวจะวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ โดยยอดเขาสูงสุดได้แก่ เขาโซ่ ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของเขื่อนลำพระเพลิงมีความสูงประมาณ 807 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของพื้นที่แหล่งสงวนชีวมณฑลสะแกราช เป็นที่ราบระหว่างภูเขาหรือแอ่งวังน้ำเขียว มีความสูงเฉลี่ย 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
แผนที่ภูมิประเทศของแหล่งสงวนชีวมณฑลสะแกราช
(บริเวณที่มีขอบสีแดงคือขอบเขตของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช)
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชปกคลุมด้วยป่าไม้สำคัญ 2 ชนิด ได้แก่ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen forest) และป่าเต็งรัง (Dry Dipterocarp forest) ป่าทั้งสองชนิดครอบคลุมเนื้อที่ประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช นอกนั้นเป็นป่าชนิดอื่น เช่น ป่าไผ่ ป่าปลูก ทุ่งหญ้า เป็นต้น
วีดิทัศน์ เรื่องเที่ยวไปในไพรพฤกษ์
คำถาม
- ชีวมณฑล คืออะไร
อ้างอิงจาก
ภาพขอบเขตแหล่งสงวนชีวมณฑลสะแกราชจาก http://www.tistr.or.th/sakaerat/Map_GIS/Map002.htm
จากเว็บไซต์ http://www.huaikhakhaeng.net/forest/dry.html ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับป่าดิบแล้งไว้สรุปได้ดังนี้
ป่าดิบแล้งในประเทศไทย กระจายอยู่ตั้งแต่ตอนบนของทิวเขาถนนธงชัยจากจังหวัดชุมพรขึ้นมาทางเหนือ ปกคลุมลาดเขาทางทิศตะวันตกของทิวเขาตะนาวศรีไปจนถึงจังหวัดเชียงราย ส่วนทางซีกตะวันออกของประเทศ ปกคลุมตั้งแต่ทิวเขาภูพานต่อลงมาถึงทิวเขาบรรทัด ทิวเขาพนมดงรักลงไปจนถึงจังหวัดระยอง ขึ้นไปตามทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาเพชรบูรณ์จนถึงจังหวัดเลยและน่าน นอกจากนี้ยังพบในจังหวัดสกลนครและทางเหนือของจังหวัดหนองคายเลียบลำน้ำโขงในส่วนที่ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ป่าดิบแล้งจะอยู่ในระดับความสูงปานกลาง คือตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 100 เมตร ขึ้นไปจนถึง 800 เมตร มีน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,000 ถึง 2,000 มิลลิเมตรต่อปี โดยมีช่วงความแห้งแล้งที่ยาวนานประมาณ 3 - 4 เดือน มีดินค่อนข้างลึก สามารถกักเก็บน้ำได้ดีพอควรที่จะทำให้พันธุ์ไม้บางชนิด สามารถคงใบอยู่ได้ตลอดช่วงความแห้งแล้ง และไม่มีไฟป่าเข้ามารบกวน ดินในป่าดิบแล้งจึงมักเป็นดินเหนียวปนทราย ป่าดิบแล้งในปัจจุบันที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและที่รู้จักกันทั่วไป เช่น ป่าดิบแล้งที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ป่าดิบแล้งในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน ป่าดิบแล้งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เป็นต้น
ต้นไม้ในป่าดิบแล้งจะมีเรือนยอดไม้ปกคลุมต่อเนื่องกันตลอดโดยเรือนยอดจะมี 3 ชั้น มีพันธุ์ไม้หลายชนิด เช่น ยางแดง กระบาก ตะเคียนหิน เคี่ยมคะนอง ขึ้นผลมกับไม้ผลัดใบ เช่น ตะแบก สมพง มะค่าโมง พยุง สภาพพื้นล่างปกคลุมไปด้วยไม้พุ่ม กล้วยไม้ และเถาวัลย์เลื้อยพันไปมา จากเว็บไซต์ http://www.huaikhakhaeng.net/forest/dry.html ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับป่าดิบแล้งไว้สรุปได้ดังนี้
ป่าดิบแล้งในประเทศไทย กระจายอยู่ตั้งแต่ตอนบนของทิวเขาถนนธงชัยจากจังหวัดชุมพรขึ้นมาทางเหนือ ปกคลุมลาดเขาทางทิศตะวันตกของทิวเขาตะนาวศรีไปจนถึงจังหวัดเชียงราย ส่วนทางซีกตะวันออกของประเทศ ปกคลุมตั้งแต่ทิวเขาภูพานต่อลงมาถึงทิวเขาบรรทัด ทิวเขาพนมดงรักลงไปจนถึงจังหวัดระยอง ขึ้นไปตามทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาเพชรบูรณ์จนถึงจังหวัดเลยและน่าน นอกจากนี้ยังพบในจังหวัดสกลนครและทางเหนือของจังหวัดหนองคายเลียบลำน้ำโขงในส่วนที่ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ป่าดิบแล้งจะอยู่ในระดับความสูงปานกลาง คือตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 100 เมตร ขึ้นไปจนถึง 800 เมตร มีน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,000 ถึง 2,000 มิลลิเมตรต่อปี โดยมีช่วงความแห้งแล้งที่ยาวนานประมาณ 3 - 4 เดือน มีดินค่อนข้างลึก สามารถกักเก็บน้ำได้ดีพอควรที่จะทำให้พันธุ์ไม้บางชนิด
สามารถคงใบอยู่ได้ตลอดช่วงความแห้งแล้ง และไม่มีไฟป่าเข้ามารบกวน ดินในป่าดิบแล้งจึงมักเป็นดินเหนียวปนทราย ป่าดิบแล้งในปัจจุบันที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและที่รู้จักกันทั่วไป เช่น ป่าดิบแล้งที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ป่าดิบแล้งในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน ป่าดิบแล้งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เป็นต้น
ต้นไม้ในป่าดิบแล้งจะมีเรือนยอดไม้ปกคลุมต่อเนื่องกันตลอดโดยเรือนยอดจะมี 3 ชั้น มีพันธุ์ไม้หลาย
ชนิด เช่น ยางแดง กระบาก ตะเคียนหิน เคี่ยมคะนอง ขึ้นผลมกับไม้ผลัดใบ เช่น ตะแบก สมพง มะค่าโมง พยุง สภาพพื้นล่างปกคลุมไปด้วยไม้พุ่ม กล้วยไม้ และเถาวัลย์เลื้อยพันไปมา
ดินในป่าดงดิบแล้ง เกิดจากการผุพังอยู่กับที่ของหินทราย (sandstone) จึงได้เนื้อดินเป็นดินทราย ซึ่งเป็นดินเนื้อหยาบ มีระดับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชต่ำกว่าดินเนื้อละเอียดในป่าดิบชื้น เพราะดินทรายจัดเป็นชั้นดินที่มีการชะล้างรุนแรง ธาตุอาหารและอินทรีย์วัตถุที่เป็นประโยชน์ต่อพืชถูกชะล้างลงไปสะสมในดินชั้นล่างทำให้ดินไม่อุดมสมบูรณ์เช่นป่าดิบชื้น
วิดีทัศน์เรื่อง รู้จักป่าดิบแล้ง
คำถาม
- เรือนยอดของต้นไม้ในป่าดิบแล้งมีลักษณะอย่างไร แต่ละชั้นประกอบด้วยไม้ชนิดใด
กลับไปที่เนื้อหา
ป่าดิบแล้งเป็นแหล่งสัตว์ป่าที่สำคัญของประเทศ เพราะมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับสัตว์ป่าในหลายกลุ่มหลายประเภท เรือนยอดของต้นไม้ชั้นบนที่ต่อเนื่องกันโดยตลอด เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่หากินอยู่บนเรือนยอดไม้ได้เป็นอย่างดี ส่วนพื้นป่าที่ได้รับแสงค่อนข้างมากกว่าป่าดงดิบชื้น มีพื้นที่เป็นแหล่งอาหาร สัตว์ค่อนข้างมาก สภาพป่าที่ไม่ชื้นมากเกินไปเหมาะกับสัตว์ป่าหลายชนิดที่จะดำรงชีพได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ป่าดิบแล้งมีเขตต่อกับป่าเต็งรังและป่าผสมผลัดใบ จึงทำให้ป่าดิบแล้งเป็นแหล่งหลบภัยและพักนอนของสัตว์กินหญ้าทั่วไป รวมถึงเป็นแหล่งอาหารในช่วงฤดูแล้งที่ป่าเต็งรังถูกไฟเผาโล่งเตียนด้วย
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่สำคัญและอาศัยในป่าชนิดนี้มีหลายชนิด ที่อาศัยอยู่บนเรือนยอดไม้เช่น ลิงลม ลิงกัง ลิงอายเงี้ยะ ลิงเสน ลิงวอก ค่างแว่นถิ่นเหนือ ชะนีธรรมดา ชะนีมงกุฎ พญากระรอกดำ กระรอกหลากสี กระรอกปลายหางดำ และกระรอกชนิดอื่น ๆ กระแตและค้างคาวอีกหลายชนิด หมาไม้พบเห็นส่วนใหญ่ในป่าชนิดนี้ ส่วนสัตว์ป่าที่หากินบนพื้นดินขนาดใหญ่ได้แก่ ช้างป่า กระทิง กรูปรี วัวแดง ควายป่า กวางป่า เนื้อทราย อีเก้ง หมูป่า เลียงผา เป็นต้น สัตว์กินเนื้อที่สำคัญของป่านี้คือ เสือโคร่ง เสือดำ เสือลายเมฆ เสือไฟ แมวป่า แมวดาว เสือปลา พังพอนกินปู หมีขอ หมาไน หมาจิ้งจอก หมีควาย และหมีหมา
ส่วนในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ยังไม่พบสัตว์ป่าขนาดใหญ่ประเภทช้าง กระทิง กรูปรี วัวแดง ควายป่า เสือโคร่ง เสือดำ เสือลายเมฆ และเสือไฟ นกในป่าดงดิบแล้งมีอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นนกที่อาศัยประจำในป่าชนิดนี้และที่โยกย้ายถิ่นเข้ามาตามฤดูกาลหรือเข้ามาก่อกิจกรรมในบางช่วงเวลาเป็นประจำ นกที่จัดได้ว่าอาศัยอยู่อย่างประจำในป่าชนิดนี้ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังเทา ไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ป่า นกยูง นกกระทาดงแข้งเขียว นกแซวสวรรค์ นกโกโรโกโส และนกอื่น ๆ อีกหลายชนิด โดยเฉพาะนกในวงศ์นกเงือกที่มีถิ่นกระจายส่วนใหญ่ในป่านี้ได้แก่นกเงือกสีน้ำตาล นกเงือกกรามช้าง นกแก๊ก นกกก เหยี่ยวที่สำคัญได้แก่ เหยี่ยวรุ้ง นกหัวขวานหลายชนิดมีพบเฉพาะในป่าชนิดนี้
สัตว์เลื้อยคลาน ป่าดงดิบแล้งนับได้ว่าเป็นแหล่งของสัตว์เลื่อยคลานไม่ต่างจากป่าดงดิบชื้น ที่นับว่าสำคัญและพบได้บ่อยเช่นสัตว์จำพวกเต่าบก ได้แก่เต่าเหลือง เต่าหก เต่าเดือย เต่าปูลู และเต่าน้ำในลำห้วยอีกหลายชนิด สัตว์เลื้อยคลานในจำพวกตุ๊กแกมีอยู่หลายชิดที่จัดว่าหายาก เช่น ตุ๊กแกเขาหินลาย ตุ๊กแกป่าดงพญาเย็น เป็นต้น สัตว์ในวงศ์กิ้งก่า เช่น กิ้งก่าพม่า กิ้งก่าบินในสกุล Draco กิ้งก่าเขาหนามสั้น ตะกอง กิ้งก่างู ตะกวด เหี้ย ในวงศ์จิ้งเหลนมีอยู่หลายชนิดเช่น จิ้งเหลนด้วงปักธงชัย จิ้งเหลนด้วงชลบุรี จิ้งเหลนภูเขาสามนิ้ว จิ้งเหลนเรียวลาย จิ้งเหลนเรียวโคราช เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงูอีกหลายชนิดโดยเฉพาะที่หายาก ได้แก่ งูดินโคราช และงูจงอาง เป็นต้น
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ปรากฏอยู่ไม่น้อยกว่าป่าชนิดอื่น ที่สำคัญและหายากเช่น อึ่งในสกุล Leptobrachium และ Megophrys คางคกแคระ กบในสกุล Amolops, Phrynoglossus, และ Rana ปาด และอึ่ง อีกหลายชนิด
นอกจากนี้ ยังมีแมลงประเภทต่าง ๆ อยู่อาศัยในป่าดิบแล้งอีกมากมายหลายชนิด
วิดีทัศน์เรื่อง นกในป่า..ตามดูไก่ฟ้าพญาลอ
วิดีทัศน์เรื่อง แมลงในป่า
คำถาม
- ไก่ฟ้าพญาลอ มีความสำคัญอย่างไร
- ตัวห้ำและตัวเบียน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
- ที่เราเรียกว่าแมลงกับแมง มีข้อแตกต่างของสัตว์เหล่านี้อย่างไร
กลับไปที่เนื้อหา
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชได้ศึกษาสำรวจพืชที่กินได้ โดยทำการวางแปลงศึกษา เก็บข้อมูลในพื้นที่ป่าธรรมชาติ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และบริเวณรอยต่อระหว่างทั้งสองป่า จากการวางแปลงเก็บตัวอย่าง ทำให้ทราบชนิดของพืชกินได้ มีมากกว่า 170 ชนิด ชุมชนนิยมนำมารับประทานเป็นผัก ผลไม้ เคี้ยวมันและเป็นเครื่องเทศ ทำให้ได้พืชที่มีศักยภาพในเชิงการค้ามากถึง 10 ชนิด ได้แก่ กระบก มะกอกป่า มะกอกเกลื้อน มะขามป้อม ลูกดิ่ง ชะมวง เพกา ผักสาบ ผักเสม็ดและผักงูเห่า ทำให้ทราบถึง แหล่งพืชต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่ ที่เข้าสำรวจ เก็บข้อมูลและคัดเลือกแม่พันธุ์จากป่าและเก็บเมล็ดพันธุ์มาทดลองเพาะขยายพันธุ์ตามดูกาล เพื่อศึกษาการเจริญเติบโต และทดลองปลูกในพื้นที่สถานีฯ เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณพืชอาหารเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้น และยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญยิ่งของสัตว์ป่านานาชนิด
วิดีทัศน์เรื่อง พืชกินได้ในป่า
คำถาม
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพืชกินได้ในป่าสะแกราชจากเว็บไซต์ต่อไปนี้
http://www.tistr.or.th/sakaerat/Plant%20in%20Sakaerat/plant.htm
http://www.4shared.com/office/Y_-byTBs/_online.html
อ้างอิงจาก
ข้อมูลจาก http://www.tistr.or.th/sakaerat/Plant%20in%20Sakaerat/plant.htm
กลับไปที่เนื้อหา
พืชสมุนไพรในป่าสะแกราช มีอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ พืชชนิดที่มีอัลคาลอยด์ เป็นองค์ประกอบ ซึ่งอยู่ประมาณ 50 ชนิด ได้แก่ สันตุง พญาโจร จังหันเหลือง โมกหลวง โมกมัน และมะตึ่ง ชนิดที่มีซาโปนินประกอบ อยู่มีถึง 23 ชนิด ได้แก่ หัสดำ รากสามสิบ แคขน ชนิดที่มีอิริดอยด์ประกอบ ได้แก่ ตาไก่เถื่อน คัดเค้าดง ชนิดที่มีไซยาโนเจนเนทิคกลิโคไซด์ประกอบ อยู่ มี 4 ชนิดได้แก่ กระถินทุ่ง และ โทงเทงที่มีคูมาริน เป็นองค์ประกอบ
นอกจากนี้ ยังมีพืชสมุนไพรหลายชนิดในสภาพธรรมชาติ ได้แก่ โด่ไม่รู้ล้ม ม้ากระทืบโรง นอกจากนั้นยังมีพรรณไม้เด่นเป็นพิเศษของที่นี่ คือ ถั่วแปบช้าง ซึ่งเป็นไม้เลื้อยประจำถิ่นของป่าสะแกราช และมีดอกสีชมพูอมม่วง ถั่วแปบช้าง มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น คือโดยพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอยู่เพียง 2-3 แห่งเท่านั้น
วิดีทัศน์เรื่อง ป่า..คลังยาของมนุษย์
อ้างอิงจาก
ข้อมูลจาก http://www.sa.ac.th/biodiversity/contents/articles/sakaerad/tipa06.html
กลับไปที่เนื้อหา
สีที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันทั้งสีที่ผสมอาหารและสีย้อมผ้า ได้มาจากการสังเคราะห์สารเคมีและสีจากธรรมชาติ แต่สีสังเคราะห์หลายชนิดหากนำมาใช้ผสมอาหารจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย แตกต่างจากสีที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งใช้ผสมอาหารได้โดยไม่มีอันตราย และใช้เป็นสีย้อมผ้าที่ให้สีสันสวยงาม ได้ด้วย
สีธรรมชาติได้จากต้นไม้ในป่า โดยได้จากบางส่วนของต้นไม้ เช่น ราก แก่น เปลือก ต้น ผล ดอก เมล็ด ใบ เป็นต้น ข้อมูลจาก http://gis.agr.ku.ac.th/e_learning/texttile/html/Lesson03/4.html ได้กล่าวถึงสีธรรมชาติสีต่าง ๆว่าได้จากต้นไม้ชนิดใดไว้ดังนี้
- สีแดง ได้จาก รากยอ แก่นฝาง ลูกคำแสด เปลือกสมอ ครั่ง
- สีคราม ได้จาก รากและใบของต้นคราม หรือต้นห้อม
- สีเหลือง ได้จาก แก่นแขหรือแก่นแกแล แก่นขนุน ต้นหม่อน ขมิ้น เปลือกไม้นมแมว แก่นสุพรรณิการ์ ดอกกรรณิการ์ ดอกดาวเรือง
- สีตองอ่อน ได้จาก เปลือกต้นมะพูด เปลือกผลทับทิม แก่นแกแลและต้นคราม ใบหูกวาง เปลือกและผลสมอพิเภก ใบส้มป่อยและผงขมิ้น ใบแค ใบสับปะรดอ่อน
- สีดำ ได้จาก ผลมะเกลือ ผลกระจาก ผลและเปลือกสมอ
- สีส้ม ได้จาก เปลือกและรากยอ ดอกกรรณิการ์ (ส่วนที่เป็นหลอดสีส้ม) เมล็ดคำแสด
- สีเหลืองอมส้ม ได้จาก ดอกคำฝอย
- สีม่วงอ่อน ได้จาก ลูกหว้า
- สีชมพู ได้จาก ต้นฝาง ต้นมหากาฬ
- สีน้ำตาล ได้จาก เปลือกไม้โกงกาง เปลือกผลมังคุด
- สีกากีแกมเหลือง ได้จาก หมากสง กับแก่นแกแล
- สีเขียว ได้จาก เปลือกต้นมะริดไม้ ใบหูกวาง เปลือกสมอ ครามย้อมทับด้วยแถลง
ข้อดีของสีธรรมชาติ
1. ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค
2. น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไม่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม
3. วัตถุดิบหาได้ง่ายในชุมชนไม่ต้องใช้สีเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศ
4. การย้อมสีธรรมชาติสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นตามประสบการณ์ สามารถ ถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น
5. สีธรรมชาติมีความหลากหลาย ตามชนิด อายุและส่วนของพืชที่ใช้ ตลอดจนชนิดของสารกระตุ้นหรือขั้นตอนการย้อม
6. การย้อมสีธรรมชาติทำให้เห็นคุณค่าและรู้จักใช้ ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ
7. ความสัมพันธ์ระหว่างคนย้อมสีกับต้นไม้ ย่อมก่อให้ เกิดความรัก ความหวงแหน และเรียนรู้ที่จะอนุรักษ์ และปลูกทดแทนเพื่อการผลิตที่ยั่งยืน
ข้อจำกัดของสีธรรมชาติ
1. ปริมาณสารสีในวัตถุดิบย้อมสีมีน้อย ทำให้ย้อมได้สีไม่เข้มหรือต้องใช้วัตถุดิบปริมาณมาก
2. ไม่สามารถผลิตได้ในประมาณมากและไม่สามารถผลิตสีตามที่ตลาดต้องการ
3. สีซีดจางและมีความคงทนต่อแสงต่ำ
4. คุณภาพการย้อมสีธรรมชาติขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการซึ่งควบคุมได้ยาก การย้อมสีให้เหมือนเดิมจึงทำได้ยาก
5. ในการย้อมสีธรรมชาติถ้าไม่มีวิธีการ และจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนย่อมจะกลายเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมได้
วิดีทัศน์เรื่อง สีสันจากป่า
คำถาม
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวิธีย้อมผ้าฝ้ายและผ้าไหมให้เป็นสีต่าง ๆ โดยใช้สีจากธรรมชาติ
อ้างอิงจาก
ข้อมูลจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.ist.cmu.ac.th/cotton/naturalColor_AdvRestrict.php?subnav=3
กลับไปที่เนื้อหา
พืชพรรณหลายชนิดในป่าสะแกราชที่ให้กลิ่นหอม นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้ เช่น กฤษณา เปราะป่าหรือตูบหมูบ เป็นต้น จากเว็บไซต์ http://www.rspg.or.th/plants_data/use/perfume1-1.htm ของฝ่ายเภสัชศาสตร์และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลไว้ดังต่อไปนี้
น้ำมันหอมระเหยเป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้น มักมีกลิ่นหอม ระเหยง่าย โดยพืชเหล่านี้จะมีเซลล์พิเศษ ต่อมหรือท่อ เพื่อสร้างและกักเก็บน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะเห็นต่อมน้ำมันได้ชัดในส่วนของใบและเปลือกผลของพืชจำพวกส้ม น้ำมันหอมระเหยพบได้ตามส่วนต่างๆของพืชได้แก่ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด
องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย จะประกอบด้วยสารสำคัญ 2 กลุ่ม คือ เทอปีน (terpenes) และ ฟีนีลโพรปานอยด์ (phenyl pro- panoids) สารเทอปีนที่พบมากในน้ำมันหอมระเหย เป็นพวกที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำได้แก่ โมโนเทอปีน (monoterpenes, C-10) เช่น limonene, citral, geraniol, menthol, camphor และเสสควิเทอปีน (sesquiterpenes, C-15) เช่น b-bisabolene, b-caryophyllene ฟีนีลโพรปานอยด์ (C6-C1)พบได้น้อยกว่าสารกลุ่มเทอปีน ได้แก่ eugenol, anethole
พืชสร้างน้ำมันหอมระเหยมาทำไม กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในส่วนของดอกไม้มีบทบาทสำคัญในการช่วยดึงดูด แมลงมาผสมเกสร น้ำมันหอมระเหยในส่วนอื่นๆของพืชเชื่อว่ามีผลในการป้องกันตนเอง จากศัตรูภายนอกที่จะมาทำลายพืชนั้นๆเช่นแมลง เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ก่อโรค พืชที่ให้น้ำมันหอมระเหยมีกระจายอยู่ในวงศ์พืชต่างๆ ไม่เกิน 60 วงศ์ ที่สำคัญได้แก่ Labiatae(มินต์) , Rutaceae(ส้ม), Zingiberaceae(ขิง), Gramineae(ตะไคร้) เป็นต้น
คำถาม
- สืบค้นข้อมูล วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืช อย่างน้อย 2 วิธี
ป่าเต็งรังเป็นป่าผลัดใบที่มีไม้วงศ์ยางบางชนิดเป็นไม้เด่น ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง และยางกราด โดยทั่วไปความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าเต่งรังจะน้อยกว่าป่าเบญจพรรณ เพราะดินตื้นกักเก็บน้ำได้น้อย มีหินบนผิวดินมาก ก่อให้เกิดความแห้งแล้ง ป่าเต็งรังเป็นสังคมพืชเด่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดขึ้นที่ระดับความสูงประมาณ 50-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีช่วงแห้งแล้งจัดเกิน 4 เดือนต่อปี ประกอบกับปริมาณน้ำฝนตกน้อยคือ 900-1,200 มิลลิเมตรต่อปีเท่านั้น
ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำหนดการคงอยู่ของป่าเต็งรังคือ ไฟป่า ซึ่งมักเกิดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม เนื่องจากไฟเป็นตัวจัดการโครงสร้างป่าและคัดเลือกพันธุ์ไม้ ต้นฤดูแล้งใบไม้ในป่าเต็งรังจะพร้อมใจกันผลัดใบเป็นสีแดง เหลือง ส้ม อย่างสวยงาม แล้วจะสลัดใบทิ้งจนหมดกลายเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี หลังจากไฟผ่านไปพื้นป่าจะโล่งเตียน แต่เมื่อได้รับน้ำฝน ป่าเต็งรังก็จะกลับเขียวสดขึ้นอีกครั้งด้วยหญ้าระบัด ดึงดูดสัตว์กินพืชหลายชนิดเข้ามาสู่ป่าเต็งรัง อาทิ วัวแดง กวางป่า เก้ง กระทิง กระต่ายป่า ความร้อนจากไฟยังช่วยไล่แมลงบนพื้นดินหรือใต้เปลือกไม้ให้เผยตัวออกมา กลายเป็นอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของเหล่านกกินแมลงนานาชนิดอีกด้วย ปัจจุบัน ป่าเต็งรังในประเทศไทยมีความเสื่อมโทรมลงมาก เพราะการตัดไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจออกไปใช้งาน สัตว์เลี้ยงพวกวัวควายเข้าไปหากินในป่าเหยียบย่ำทำลายพันธุ์ไม้ต่าง ๆ รวมทั้งผลกระทบจากไฟป่าที่เกิดขึ้นมักรุนแรงเกินกว่าป่าจะฟื้นตัวได้ทัน
พื้นที่ซึ่งเป็นป่าเต็งรังส่วนใหญ่จะมีลักษณะทางกายภาพที่เป็นข้อจำกัดในการเจริญเติบโตของพืชหลายประการอาทิเช่น
1. เนื้อดินเป็นทราย
2. ชั้นดินมีการชะล้างรุนแรง (albic horizon) ชั้นดินถูกน้ำชะล้างเอาอนุภาคดินเหนียว ธาตุอาหาร
อินทรีย์วัตถุลงไปสะสมในดินชั้นล่าง ธาตุอาหารอยู่ลึกเกินไป รากพืชไม่สามารถแพร่ะกระจายผ่านชั้นดินนี้ลง
ไปยังชั้นดินล่างที่มีความอุดมสมบูรณ์ได้่
3. ความลึกที่พบชั้นดานแข็งหรือก้อนกรวดมาก (consolidated layer or gravel)
4. มีหินโผล่ (rock out crop)
5. มีก้อนหินโผล่ (stoniness)
6. ความอุดมสมบูรณ์ของดินน้อย (nutrient status)
7. การกร่อนของดิน (soil erosion) สูงข้อจำกัดทางด้านกายภาพดังกล่าวมีผลทำให้การเจริญเติบโตของต้นไม้ด้านความโตและความสูงไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบมีหินโผล่และก้อนหินโผล่มากมาย ต้นไม้ใหญ่ไม่สามารถขึ้นได้ ความหนาแน่นของป่าเต็งรังจึงต่ำกว่าป่าชนิดอื่น พื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นลานเตียนโล่ง พืชที่ต้องการแสงมากเช่น พวกหญ้าและไผ่เพ็ก แผ่คลุมพื้นที่ได้อย่างกว้างขวาง ต้นไม้ในป่าเต็งรังจึงไม่จำเป็นต้องแย่งแสงสว่างกันแบบบป่าดงดิบ
ต้นไม้ในป่าเต็งรังจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีไฟป่า โดยมีการปรับตัวดังนี้
1. การมีเปลือกหนา เพื่อไม่ให้ไฟไหม้เข้าไปถึงเนื้อไม้
2. จัดช่วงเวลาการออกดอกและโปรยเมล็ดให้ปลอดอันตรายจากไฟป่า
3. อาศัยไฟป่าช่วยในการงอกของเมล็ด เช่น มะค่าแต้ มะค่าโมง
4. ไม้บางชนิดจะโปรยเมล็ดหลังฤดูไฟป่าเนื่องจากเมล็ดสามารถตกลงถึงพื้นดินโดยไม่ได้ค้างอยู่บนยอดไผ่เพ็ก
5. กล้าไม้ของพันธุ์ไม้ในป่าเต็งรังและป่าผสมผลัดใบส่วนใหญ่มักจะสร้างรากให้แข็งแรงในดินก่อนการ
สร้างลำต้นที่เรียกกันว่า “burn back phenomina” ตลอดจนการทำให้ต้นแกร่ง (hardenning)ป่าเต็งรังกับไฟป่าจึงเป็นของคู่กันเสมอ
วิดีทัศน์เรื่อง รู้จักป่าเต็งรัง
คำถาม
- ต้นเต็งกับต้นรังมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างไร
- ไฟป่ามีประโยชน์หรือโทษต่อป่าเต็งรังอย่างไร
อ้างอิงจาก
ข้อมูลจาก http://www.tropicalforest.or.th/p49.htm
ข้อมูลจาก http://royal.rid.go.th/phuphan/parmai/DripterocarpForest.htm
กลับไปที่เนื้อหา
ในอดีต เราใช้ประโยชน์จากป่าดิบแล้งและป่าเต็งรังโดยไม่ได้คำนึงถึงอนาคต นอกเหนือจากการเก็บผลผลิตจากป่าทั้งสมุนไพร ไม้ที่ให้สีสัน กลิ่นหอมแล้ว เรายังตัดไม้จากป่านำมาใช้สอย ทั้งนำมาปลูกบ้านอยู่อาศัย ทำเครื่องใช้ เครื่องเรือน สิ่งประดับตกแต่งบ้าน ทำไม้หมอนรางรถไฟ แม้แต่ทำฟืน จนปัจจุบันเราต้องนำเข้าไม้เนื้อแข็งเหล่านี้จากต่างประเทศ เพราะสงวนไม้เหล่านี้ไว้โดยห้ามไม่ให้ตัดไม้เหล่านี้จากป่าต่าง ๆ อีก แต่ก็ยังมีการลักลอบตัดไม้อยู่ทั่วไปในทุกป่า โดยเฉพาะไม้คุณภาพสูงจากป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง
ไม้ต้นที่พบทั่วไปในป่าดิบแล้ง ได้แก่ ตะเคียนหิน Hopea ferrea, ตะเคียนทอง H. odorata, เคี่ยมคะนอง Shorea henryana, พะยอม S. roxburghii, ยางแดง Dipterocarpus turbinatus, ยางนา D. alatus, ยางปาย D. costatus, กระบาก Anisoptera costata, กระบากขาว A. scaphula, ซีหรือเต็งแดง Vatica harmandiana, ยางหนู V. odorata , มะปิน Pterygota alata , กะบก Irvingia เป็นต้น
ส่วนไม้เด่น ๆ ที่พบทั่วไปในป่าเต็งรัง เช่น กราด Dipterocarpus intricatus, เหียง D. obtusifolius, พลวง D. tuberculatus, เต็ง Shorea obtusa, และรัง S. siamensis เป็นต้น
ทั้งต้นไม้ในป่าดิบแล้งและป่าเต็งรังที่มีขนาดใหญ่ จะมีอายุนับร้อยปี ซึ่งเราทราบได้จากการนับวงปีของต้นไม้นั้น วงปี (annual ring) เกิดขึ้นจากการเจริญเติบโตของต้นไม้ในรอบปีไม่เท่ากัน เนื้อไม้ที่เกิดขึ้นในฤดูฝนจะมีความหนาแน่นต่ำและค่อนข้างที่มีรูพรุนมากเห็นเป็นสีอ่อน เราเรียกเนื้อไม้ต้นฤดู (Early wood หรือ spring wood) ไม้ที่เจริญเติบโตในช่วงฤดูนี้จะโตอย่างรวดเร็วจึงทำให้เป็นสาเหตุที่เนื้อไม้ไม่หนาแน่นและมีสีที่อ่อน ขณะที่เนื้อไม้ที่เกิดขึ้นในปลายฤดูฝนต่อฤดูแล้งจะมีความแน่นสูงเห็นเป็นสีเข้ม เราเรียกเนื้อไม้ปลายฤดู (Late wood หรือ summer wood) เพราะไม้ที่โตในช่วงฤดูนี้จะมีการเติบโตช้าทำให้เนื้อไม้ความหนาแน่นสูงและมีสีเข้ม ในปีต่อไปการเจริญเติบโตของเนื้อไม้ก็จะเป็นเช่นนี้อีก ทำให้เกิดเนื้อไม้ที่มีสีอ่อนละสีเข้มสลับกันเป็นช่วงๆ เป็นวง เราเรียกว่า วงปี โดยไม้สีอ่อน 1 ชั้นรวมกับไม้สีเข้ม 1 ชั้นคืออายุ 1 ปีของไม้นั้นเอง
คำถาม
- เราจะมีวิธีการสงวนรักษาป่าไม้ได้อย่างไรบ้าง
อ้างอิงจาก
ภาพวงปี http://www.baannatura.com/public/images/real_wood/small_red_pine.jpg
ข้อมูลจากhttp://www.baannatura.com/th/mat/content/detail/112.html
กลับไปที่เนื้อหา
ไม้ยืนต้นในป่าดิบแล้งและป่าเต็งรังใช้การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เมื่อต้นไม้เหล่านี้ออกผลและผลแก่ก็จะหล่นจากต้น ตกสู่พื้นด้วยแรงดึงดูดของโลก เมื่อตกสู่พื้นดินที่มีความชื้นและมีความอุดมสมบูรณ์ก็จะงอกเป็นต้นใหม่ แต่ธรรมชาติได้ช่วยให้มีการกระจายพันธุ์ของต้นไม้เหล่านี้ให้ผลของต้นไม้เหล่านี้กระจายออกไปงอกยังที่อื่น ๆ ไกลจากต้นเดิม จนเกิดเป็นป่าโดยผลของต้นไม้อาจมีขนาดเล็ก เบา มีเยื่อขนาดใหญ่หุ้ม หรือมีปีก เมื่อหล่นจากต้นไม้ที่มีความสูงก็จะถูกลมพัด ให้ไปตกไกลจากต้น ผลที่มีปีกแทนที่จะตกลงมาในแนวดิ่งแบบเดียวกับการตกอิสระ ก็จะเกิดการหมุนทำให้ตกช้าลง และลมก็ช่วยพัดให้ไปตกยังที่ไกลออกไป เช่น เต็ง รัง พะยอม เหียง พลวง กราด เป็นต้น
ส่วนต้นไม้บางชนิดที่ผลไม่มีปีก เมื่อผลแก่อาจเป็นอาหารของสัตว์ทั้งนก กระรอก และสัตว์ป่าอื่น ๆ เมล็ดที่ปนอยู่ในมูลของสัตว์เหล่านี้ ทำให้เกิดการกระจายพันธุ์ได้มากและไกลออกไปอีก
วิดีทัศน์เรื่อง ลูกไม้ไกลต้นได้อย่างไร
คำถาม
- ถ้าผลของต้นไม้ในป่าทั้งหมดไม่มีปีก นักเรียนคิดว่าสภาพป่าในปัจจุบันจะเป็นอย่างไร
- เฮลิคอปเตอร์กระดาษหรือผลไม้มีปีกจำลอง มีการเคลื่อนที่อย่างไร เพราะเหตุใด
กลับไปที่เนื้อหา
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช เป็นสถานที่เพื่อการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยาป่าเขตร้อน โดยเฉพาะป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง มีนักวิจัยทั้งของไทยและต่างประเทศที่สนใจเข้ามาทำการศึกษา วิจัยและสำรวจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ทั้งพืช สัตว์และระบบนิเวศ นักเรียนที่เรียนทางวิทยาศาสตร์ จะต้องรู้จักใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และมีจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ และเข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
วิดีทัศน์เรื่อง ติดตามนักวิจัยทางธรรมชาติ
คำถาม
- กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการหาความรู้มีอะไรบ้าง
- การมีจิตวิทยาศาสตร์ คือมีลักษณะอย่างไร
กลับไปที่เนื้อหา
-
คลังวิดีทัศน์
ตอน เที่ยวไปในไพรพฤกษ์
ตอน รู้จักป่าดิบแล้ง
ตอน นกในป่า...ตามดูไก่ฟ้าพญาลอ
ตอน แมลงในป่า
ตอน พืชกินได้ในป่า
ตอน ป่า...คลังยาของมนุษย์
ตอน สีสันจากป่า
ตอน ป่ากลิ่นหอม
-
แผนการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนแผนการสอนนายธานี จันทร์นาง โรงเรียนบ้านท่ากลอย จ.ฉะเชิงเทราผู้เขียนแผนการสอนผู้เขียนแผนการสอนนางพยงค์ สุหัตถาพร โรงเรียนบุญวัฒนา จ.นครราชสีมาผู้เขียนแผนการสอนนางสาวกิ่งกาญจน์ กลิ่นจันทน์ โรงเรียนบุญวัฒนา จ.นครราชสีมาผู้เขียนแผนการสอนนางพงศ์ผกา นิลแก้ว โรงเรียนสหัสขันธ์ศึกษา จ.กาฬสินธุ์ผู้เขียนแผนการสอนนางสาวประภาศิริ คูนาคำ โรงเรียนสหัสขันธ์ศึกษา จ.กาฬสินธุ์ผู้เขียนแผนการสอนเสกสรร คล้ายสุข โรงเรียนอินทร์บุรี จ.สิงห์บุรีผู้เขียนแผนการสอน
-
คำที่เกี่ยวข้อง