แหล่งเรียนรู้สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช
จากเว็บไซต์ http://www.huaikhakhaeng.net/forest/dry.html ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับป่าดิบแล้งไว้สรุปได้ดังนี้
ป่าดิบแล้งในประเทศไทย กระจายอยู่ตั้งแต่ตอนบนของทิวเขาถนนธงชัยจากจังหวัดชุมพรขึ้นมาทางเหนือ ปกคลุมลาดเขาทางทิศตะวันตกของทิวเขาตะนาวศรีไปจนถึงจังหวัดเชียงราย ส่วนทางซีกตะวันออกของประเทศ ปกคลุมตั้งแต่ทิวเขาภูพานต่อลงมาถึงทิวเขาบรรทัด ทิวเขาพนมดงรักลงไปจนถึงจังหวัดระยอง ขึ้นไปตามทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาเพชรบูรณ์จนถึงจังหวัดเลยและน่าน นอกจากนี้ยังพบในจังหวัดสกลนครและทางเหนือของจังหวัดหนองคายเลียบลำน้ำโขงในส่วนที่ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ป่าดิบแล้งจะอยู่ในระดับความสูงปานกลาง คือตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 100 เมตร ขึ้นไปจนถึง 800 เมตร มีน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,000 ถึง 2,000 มิลลิเมตรต่อปี โดยมีช่วงความแห้งแล้งที่ยาวนานประมาณ 3 - 4 เดือน มีดินค่อนข้างลึก สามารถกักเก็บน้ำได้ดีพอควรที่จะทำให้พันธุ์ไม้บางชนิด สามารถคงใบอยู่ได้ตลอดช่วงความแห้งแล้ง และไม่มีไฟป่าเข้ามารบกวน ดินในป่าดิบแล้งจึงมักเป็นดินเหนียวปนทราย ป่าดิบแล้งในปัจจุบันที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและที่รู้จักกันทั่วไป เช่น ป่าดิบแล้งที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ป่าดิบแล้งในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน ป่าดิบแล้งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เป็นต้น
ต้นไม้ในป่าดิบแล้งจะมีเรือนยอดไม้ปกคลุมต่อเนื่องกันตลอดโดยเรือนยอดจะมี 3 ชั้น มีพันธุ์ไม้หลายชนิด เช่น ยางแดง กระบาก ตะเคียนหิน เคี่ยมคะนอง ขึ้นผลมกับไม้ผลัดใบ เช่น ตะแบก สมพง มะค่าโมง พยุง สภาพพื้นล่างปกคลุมไปด้วยไม้พุ่ม กล้วยไม้ และเถาวัลย์เลื้อยพันไปมา จากเว็บไซต์ http://www.huaikhakhaeng.net/forest/dry.html ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับป่าดิบแล้งไว้สรุปได้ดังนี้
ป่าดิบแล้งในประเทศไทย กระจายอยู่ตั้งแต่ตอนบนของทิวเขาถนนธงชัยจากจังหวัดชุมพรขึ้นมาทางเหนือ ปกคลุมลาดเขาทางทิศตะวันตกของทิวเขาตะนาวศรีไปจนถึงจังหวัดเชียงราย ส่วนทางซีกตะวันออกของประเทศ ปกคลุมตั้งแต่ทิวเขาภูพานต่อลงมาถึงทิวเขาบรรทัด ทิวเขาพนมดงรักลงไปจนถึงจังหวัดระยอง ขึ้นไปตามทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาเพชรบูรณ์จนถึงจังหวัดเลยและน่าน นอกจากนี้ยังพบในจังหวัดสกลนครและทางเหนือของจังหวัดหนองคายเลียบลำน้ำโขงในส่วนที่ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ป่าดิบแล้งจะอยู่ในระดับความสูงปานกลาง คือตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 100 เมตร ขึ้นไปจนถึง 800 เมตร มีน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,000 ถึง 2,000 มิลลิเมตรต่อปี โดยมีช่วงความแห้งแล้งที่ยาวนานประมาณ 3 - 4 เดือน มีดินค่อนข้างลึก สามารถกักเก็บน้ำได้ดีพอควรที่จะทำให้พันธุ์ไม้บางชนิด
สามารถคงใบอยู่ได้ตลอดช่วงความแห้งแล้ง และไม่มีไฟป่าเข้ามารบกวน ดินในป่าดิบแล้งจึงมักเป็นดินเหนียวปนทราย ป่าดิบแล้งในปัจจุบันที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและที่รู้จักกันทั่วไป เช่น ป่าดิบแล้งที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ป่าดิบแล้งในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน ป่าดิบแล้งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เป็นต้น
ต้นไม้ในป่าดิบแล้งจะมีเรือนยอดไม้ปกคลุมต่อเนื่องกันตลอดโดยเรือนยอดจะมี 3 ชั้น มีพันธุ์ไม้หลาย
ชนิด เช่น ยางแดง กระบาก ตะเคียนหิน เคี่ยมคะนอง ขึ้นผลมกับไม้ผลัดใบ เช่น ตะแบก สมพง มะค่าโมง พยุง สภาพพื้นล่างปกคลุมไปด้วยไม้พุ่ม กล้วยไม้ และเถาวัลย์เลื้อยพันไปมา
ดินในป่าดงดิบแล้ง เกิดจากการผุพังอยู่กับที่ของหินทราย (sandstone) จึงได้เนื้อดินเป็นดินทราย ซึ่งเป็นดินเนื้อหยาบ มีระดับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชต่ำกว่าดินเนื้อละเอียดในป่าดิบชื้น เพราะดินทรายจัดเป็นชั้นดินที่มีการชะล้างรุนแรง ธาตุอาหารและอินทรีย์วัตถุที่เป็นประโยชน์ต่อพืชถูกชะล้างลงไปสะสมในดินชั้นล่างทำให้ดินไม่อุดมสมบูรณ์เช่นป่าดิบชื้น
วิดีทัศน์เรื่อง รู้จักป่าดิบแล้ง
คำถาม
- เรือนยอดของต้นไม้ในป่าดิบแล้งมีลักษณะอย่างไร แต่ละชั้นประกอบด้วยไม้ชนิดใด
กลับไปที่เนื้อหา
ป่าดิบแล้งเป็นแหล่งสัตว์ป่าที่สำคัญของประเทศ เพราะมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับสัตว์ป่าในหลายกลุ่มหลายประเภท เรือนยอดของต้นไม้ชั้นบนที่ต่อเนื่องกันโดยตลอด เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่หากินอยู่บนเรือนยอดไม้ได้เป็นอย่างดี ส่วนพื้นป่าที่ได้รับแสงค่อนข้างมากกว่าป่าดงดิบชื้น มีพื้นที่เป็นแหล่งอาหาร สัตว์ค่อนข้างมาก สภาพป่าที่ไม่ชื้นมากเกินไปเหมาะกับสัตว์ป่าหลายชนิดที่จะดำรงชีพได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ป่าดิบแล้งมีเขตต่อกับป่าเต็งรังและป่าผสมผลัดใบ จึงทำให้ป่าดิบแล้งเป็นแหล่งหลบภัยและพักนอนของสัตว์กินหญ้าทั่วไป รวมถึงเป็นแหล่งอาหารในช่วงฤดูแล้งที่ป่าเต็งรังถูกไฟเผาโล่งเตียนด้วย
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่สำคัญและอาศัยในป่าชนิดนี้มีหลายชนิด ที่อาศัยอยู่บนเรือนยอดไม้เช่น ลิงลม ลิงกัง ลิงอายเงี้ยะ ลิงเสน ลิงวอก ค่างแว่นถิ่นเหนือ ชะนีธรรมดา ชะนีมงกุฎ พญากระรอกดำ กระรอกหลากสี กระรอกปลายหางดำ และกระรอกชนิดอื่น ๆ กระแตและค้างคาวอีกหลายชนิด หมาไม้พบเห็นส่วนใหญ่ในป่าชนิดนี้ ส่วนสัตว์ป่าที่หากินบนพื้นดินขนาดใหญ่ได้แก่ ช้างป่า กระทิง กรูปรี วัวแดง ควายป่า กวางป่า เนื้อทราย อีเก้ง หมูป่า เลียงผา เป็นต้น สัตว์กินเนื้อที่สำคัญของป่านี้คือ เสือโคร่ง เสือดำ เสือลายเมฆ เสือไฟ แมวป่า แมวดาว เสือปลา พังพอนกินปู หมีขอ หมาไน หมาจิ้งจอก หมีควาย และหมีหมา
ส่วนในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ยังไม่พบสัตว์ป่าขนาดใหญ่ประเภทช้าง กระทิง กรูปรี วัวแดง ควายป่า เสือโคร่ง เสือดำ เสือลายเมฆ และเสือไฟ นกในป่าดงดิบแล้งมีอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นนกที่อาศัยประจำในป่าชนิดนี้และที่โยกย้ายถิ่นเข้ามาตามฤดูกาลหรือเข้ามาก่อกิจกรรมในบางช่วงเวลาเป็นประจำ นกที่จัดได้ว่าอาศัยอยู่อย่างประจำในป่าชนิดนี้ได้แก่ ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังเทา ไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ป่า นกยูง นกกระทาดงแข้งเขียว นกแซวสวรรค์ นกโกโรโกโส และนกอื่น ๆ อีกหลายชนิด โดยเฉพาะนกในวงศ์นกเงือกที่มีถิ่นกระจายส่วนใหญ่ในป่านี้ได้แก่นกเงือกสีน้ำตาล นกเงือกกรามช้าง นกแก๊ก นกกก เหยี่ยวที่สำคัญได้แก่ เหยี่ยวรุ้ง นกหัวขวานหลายชนิดมีพบเฉพาะในป่าชนิดนี้
สัตว์เลื้อยคลาน ป่าดงดิบแล้งนับได้ว่าเป็นแหล่งของสัตว์เลื่อยคลานไม่ต่างจากป่าดงดิบชื้น ที่นับว่าสำคัญและพบได้บ่อยเช่นสัตว์จำพวกเต่าบก ได้แก่เต่าเหลือง เต่าหก เต่าเดือย เต่าปูลู และเต่าน้ำในลำห้วยอีกหลายชนิด สัตว์เลื้อยคลานในจำพวกตุ๊กแกมีอยู่หลายชิดที่จัดว่าหายาก เช่น ตุ๊กแกเขาหินลาย ตุ๊กแกป่าดงพญาเย็น เป็นต้น สัตว์ในวงศ์กิ้งก่า เช่น กิ้งก่าพม่า กิ้งก่าบินในสกุล Draco กิ้งก่าเขาหนามสั้น ตะกอง กิ้งก่างู ตะกวด เหี้ย ในวงศ์จิ้งเหลนมีอยู่หลายชนิดเช่น จิ้งเหลนด้วงปักธงชัย จิ้งเหลนด้วงชลบุรี จิ้งเหลนภูเขาสามนิ้ว จิ้งเหลนเรียวลาย จิ้งเหลนเรียวโคราช เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงูอีกหลายชนิดโดยเฉพาะที่หายาก ได้แก่ งูดินโคราช และงูจงอาง เป็นต้น
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ปรากฏอยู่ไม่น้อยกว่าป่าชนิดอื่น ที่สำคัญและหายากเช่น อึ่งในสกุล Leptobrachium และ Megophrys คางคกแคระ กบในสกุล Amolops, Phrynoglossus, และ Rana ปาด และอึ่ง อีกหลายชนิด
นอกจากนี้ ยังมีแมลงประเภทต่าง ๆ อยู่อาศัยในป่าดิบแล้งอีกมากมายหลายชนิด
วิดีทัศน์เรื่อง นกในป่า..ตามดูไก่ฟ้าพญาลอ
วิดีทัศน์เรื่อง แมลงในป่า
คำถาม
- ไก่ฟ้าพญาลอ มีความสำคัญอย่างไร
- ตัวห้ำและตัวเบียน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
- ที่เราเรียกว่าแมลงกับแมง มีข้อแตกต่างของสัตว์เหล่านี้อย่างไร
กลับไปที่เนื้อหา
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชได้ศึกษาสำรวจพืชที่กินได้ โดยทำการวางแปลงศึกษา เก็บข้อมูลในพื้นที่ป่าธรรมชาติ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และบริเวณรอยต่อระหว่างทั้งสองป่า จากการวางแปลงเก็บตัวอย่าง ทำให้ทราบชนิดของพืชกินได้ มีมากกว่า 170 ชนิด ชุมชนนิยมนำมารับประทานเป็นผัก ผลไม้ เคี้ยวมันและเป็นเครื่องเทศ ทำให้ได้พืชที่มีศักยภาพในเชิงการค้ามากถึง 10 ชนิด ได้แก่ กระบก มะกอกป่า มะกอกเกลื้อน มะขามป้อม ลูกดิ่ง ชะมวง เพกา ผักสาบ ผักเสม็ดและผักงูเห่า ทำให้ทราบถึง แหล่งพืชต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่ ที่เข้าสำรวจ เก็บข้อมูลและคัดเลือกแม่พันธุ์จากป่าและเก็บเมล็ดพันธุ์มาทดลองเพาะขยายพันธุ์ตามดูกาล เพื่อศึกษาการเจริญเติบโต และทดลองปลูกในพื้นที่สถานีฯ เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณพืชอาหารเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้น และยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญยิ่งของสัตว์ป่านานาชนิด
วิดีทัศน์เรื่อง พืชกินได้ในป่า
คำถาม
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพืชกินได้ในป่าสะแกราชจากเว็บไซต์ต่อไปนี้
http://www.tistr.or.th/sakaerat/Plant%20in%20Sakaerat/plant.htm
http://www.4shared.com/office/Y_-byTBs/_online.html
อ้างอิงจาก
ข้อมูลจาก http://www.tistr.or.th/sakaerat/Plant%20in%20Sakaerat/plant.htm
กลับไปที่เนื้อหา
พืชสมุนไพรในป่าสะแกราช มีอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ พืชชนิดที่มีอัลคาลอยด์ เป็นองค์ประกอบ ซึ่งอยู่ประมาณ 50 ชนิด ได้แก่ สันตุง พญาโจร จังหันเหลือง โมกหลวง โมกมัน และมะตึ่ง ชนิดที่มีซาโปนินประกอบ อยู่มีถึง 23 ชนิด ได้แก่ หัสดำ รากสามสิบ แคขน ชนิดที่มีอิริดอยด์ประกอบ ได้แก่ ตาไก่เถื่อน คัดเค้าดง ชนิดที่มีไซยาโนเจนเนทิคกลิโคไซด์ประกอบ อยู่ มี 4 ชนิดได้แก่ กระถินทุ่ง และ โทงเทงที่มีคูมาริน เป็นองค์ประกอบ
นอกจากนี้ ยังมีพืชสมุนไพรหลายชนิดในสภาพธรรมชาติ ได้แก่ โด่ไม่รู้ล้ม ม้ากระทืบโรง นอกจากนั้นยังมีพรรณไม้เด่นเป็นพิเศษของที่นี่ คือ ถั่วแปบช้าง ซึ่งเป็นไม้เลื้อยประจำถิ่นของป่าสะแกราช และมีดอกสีชมพูอมม่วง ถั่วแปบช้าง มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น คือโดยพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอยู่เพียง 2-3 แห่งเท่านั้น
วิดีทัศน์เรื่อง ป่า..คลังยาของมนุษย์
อ้างอิงจาก
ข้อมูลจาก http://www.sa.ac.th/biodiversity/contents/articles/sakaerad/tipa06.html
กลับไปที่เนื้อหา
สีที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันทั้งสีที่ผสมอาหารและสีย้อมผ้า ได้มาจากการสังเคราะห์สารเคมีและสีจากธรรมชาติ แต่สีสังเคราะห์หลายชนิดหากนำมาใช้ผสมอาหารจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย แตกต่างจากสีที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งใช้ผสมอาหารได้โดยไม่มีอันตราย และใช้เป็นสีย้อมผ้าที่ให้สีสันสวยงาม ได้ด้วย
สีธรรมชาติได้จากต้นไม้ในป่า โดยได้จากบางส่วนของต้นไม้ เช่น ราก แก่น เปลือก ต้น ผล ดอก เมล็ด ใบ เป็นต้น ข้อมูลจาก http://gis.agr.ku.ac.th/e_learning/texttile/html/Lesson03/4.html ได้กล่าวถึงสีธรรมชาติสีต่าง ๆว่าได้จากต้นไม้ชนิดใดไว้ดังนี้
- สีแดง ได้จาก รากยอ แก่นฝาง ลูกคำแสด เปลือกสมอ ครั่ง
- สีคราม ได้จาก รากและใบของต้นคราม หรือต้นห้อม
- สีเหลือง ได้จาก แก่นแขหรือแก่นแกแล แก่นขนุน ต้นหม่อน ขมิ้น เปลือกไม้นมแมว แก่นสุพรรณิการ์ ดอกกรรณิการ์ ดอกดาวเรือง
- สีตองอ่อน ได้จาก เปลือกต้นมะพูด เปลือกผลทับทิม แก่นแกแลและต้นคราม ใบหูกวาง เปลือกและผลสมอพิเภก ใบส้มป่อยและผงขมิ้น ใบแค ใบสับปะรดอ่อน
- สีดำ ได้จาก ผลมะเกลือ ผลกระจาก ผลและเปลือกสมอ
- สีส้ม ได้จาก เปลือกและรากยอ ดอกกรรณิการ์ (ส่วนที่เป็นหลอดสีส้ม) เมล็ดคำแสด
- สีเหลืองอมส้ม ได้จาก ดอกคำฝอย
- สีม่วงอ่อน ได้จาก ลูกหว้า
- สีชมพู ได้จาก ต้นฝาง ต้นมหากาฬ
- สีน้ำตาล ได้จาก เปลือกไม้โกงกาง เปลือกผลมังคุด
- สีกากีแกมเหลือง ได้จาก หมากสง กับแก่นแกแล
- สีเขียว ได้จาก เปลือกต้นมะริดไม้ ใบหูกวาง เปลือกสมอ ครามย้อมทับด้วยแถลง
ข้อดีของสีธรรมชาติ
1. ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค
2. น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไม่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม
3. วัตถุดิบหาได้ง่ายในชุมชนไม่ต้องใช้สีเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศ
4. การย้อมสีธรรมชาติสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นตามประสบการณ์ สามารถ ถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น
5. สีธรรมชาติมีความหลากหลาย ตามชนิด อายุและส่วนของพืชที่ใช้ ตลอดจนชนิดของสารกระตุ้นหรือขั้นตอนการย้อม
6. การย้อมสีธรรมชาติทำให้เห็นคุณค่าและรู้จักใช้ ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ
7. ความสัมพันธ์ระหว่างคนย้อมสีกับต้นไม้ ย่อมก่อให้ เกิดความรัก ความหวงแหน และเรียนรู้ที่จะอนุรักษ์ และปลูกทดแทนเพื่อการผลิตที่ยั่งยืน
ข้อจำกัดของสีธรรมชาติ
1. ปริมาณสารสีในวัตถุดิบย้อมสีมีน้อย ทำให้ย้อมได้สีไม่เข้มหรือต้องใช้วัตถุดิบปริมาณมาก
2. ไม่สามารถผลิตได้ในประมาณมากและไม่สามารถผลิตสีตามที่ตลาดต้องการ
3. สีซีดจางและมีความคงทนต่อแสงต่ำ
4. คุณภาพการย้อมสีธรรมชาติขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการซึ่งควบคุมได้ยาก การย้อมสีให้เหมือนเดิมจึงทำได้ยาก
5. ในการย้อมสีธรรมชาติถ้าไม่มีวิธีการ และจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนย่อมจะกลายเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมได้
วิดีทัศน์เรื่อง สีสันจากป่า
คำถาม
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวิธีย้อมผ้าฝ้ายและผ้าไหมให้เป็นสีต่าง ๆ โดยใช้สีจากธรรมชาติ
อ้างอิงจาก
ข้อมูลจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.ist.cmu.ac.th/cotton/naturalColor_AdvRestrict.php?subnav=3
กลับไปที่เนื้อหา
พืชพรรณหลายชนิดในป่าสะแกราชที่ให้กลิ่นหอม นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้ เช่น กฤษณา เปราะป่าหรือตูบหมูบ เป็นต้น จากเว็บไซต์ http://www.rspg.or.th/plants_data/use/perfume1-1.htm ของฝ่ายเภสัชศาสตร์และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลไว้ดังต่อไปนี้
น้ำมันหอมระเหยเป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้น มักมีกลิ่นหอม ระเหยง่าย โดยพืชเหล่านี้จะมีเซลล์พิเศษ ต่อมหรือท่อ เพื่อสร้างและกักเก็บน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะเห็นต่อมน้ำมันได้ชัดในส่วนของใบและเปลือกผลของพืชจำพวกส้ม น้ำมันหอมระเหยพบได้ตามส่วนต่างๆของพืชได้แก่ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด
องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย จะประกอบด้วยสารสำคัญ 2 กลุ่ม คือ เทอปีน (terpenes) และ ฟีนีลโพรปานอยด์ (phenyl pro- panoids) สารเทอปีนที่พบมากในน้ำมันหอมระเหย เป็นพวกที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำได้แก่ โมโนเทอปีน (monoterpenes, C-10) เช่น limonene, citral, geraniol, menthol, camphor และเสสควิเทอปีน (sesquiterpenes, C-15) เช่น b-bisabolene, b-caryophyllene ฟีนีลโพรปานอยด์ (C6-C1)พบได้น้อยกว่าสารกลุ่มเทอปีน ได้แก่ eugenol, anethole
พืชสร้างน้ำมันหอมระเหยมาทำไม กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในส่วนของดอกไม้มีบทบาทสำคัญในการช่วยดึงดูด แมลงมาผสมเกสร น้ำมันหอมระเหยในส่วนอื่นๆของพืชเชื่อว่ามีผลในการป้องกันตนเอง จากศัตรูภายนอกที่จะมาทำลายพืชนั้นๆเช่นแมลง เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ก่อโรค พืชที่ให้น้ำมันหอมระเหยมีกระจายอยู่ในวงศ์พืชต่างๆ ไม่เกิน 60 วงศ์ ที่สำคัญได้แก่ Labiatae(มินต์) , Rutaceae(ส้ม), Zingiberaceae(ขิง), Gramineae(ตะไคร้) เป็นต้น
คำถาม
- สืบค้นข้อมูล วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืช อย่างน้อย 2 วิธี
-
คลังวิดีทัศน์
ตอน เที่ยวไปในไพรพฤกษ์
ตอน รู้จักป่าดิบแล้ง
ตอน นกในป่า...ตามดูไก่ฟ้าพญาลอ
ตอน แมลงในป่า
ตอน พืชกินได้ในป่า
ตอน ป่า...คลังยาของมนุษย์
ตอน สีสันจากป่า
ตอน ป่ากลิ่นหอม
-
แผนการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนแผนการสอนนายธานี จันทร์นาง โรงเรียนบ้านท่ากลอย จ.ฉะเชิงเทราผู้เขียนแผนการสอนผู้เขียนแผนการสอนนางพยงค์ สุหัตถาพร โรงเรียนบุญวัฒนา จ.นครราชสีมาผู้เขียนแผนการสอนนางสาวกิ่งกาญจน์ กลิ่นจันทน์ โรงเรียนบุญวัฒนา จ.นครราชสีมาผู้เขียนแผนการสอนนางพงศ์ผกา นิลแก้ว โรงเรียนสหัสขันธ์ศึกษา จ.กาฬสินธุ์ผู้เขียนแผนการสอนนางสาวประภาศิริ คูนาคำ โรงเรียนสหัสขันธ์ศึกษา จ.กาฬสินธุ์ผู้เขียนแผนการสอนเสกสรร คล้ายสุข โรงเรียนอินทร์บุรี จ.สิงห์บุรีผู้เขียนแผนการสอน
-
คำที่เกี่ยวข้อง