แหล่งเรียนรู้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- 1. การแนะนำ
- 2. ตัวชี้วัดชั้นปีและจุดประสงค์การเรียนรู้
- 3. ที่ตั้งและภูมิประเทศ
- 4. การเดินทาง
- 5. ความเป็นมา
- 6. บทบาทและหน้าที่ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- 7. บทนำกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- 8. สารบอแรกซ์และวิธีตรวจสอบ
- 9. ฟอร์มาลิน
- 10. สารตกค้างพวกยาฆ่าแมลง
- 11. โคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง
- 12. เตาไมโครเวฟ
- 13. ถุงยางอนามัย
- - ทุกหน้า -
เรามักจะได้ยินอยู่เสมอเกี่ยวกับผลการ ตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือที่เกี่ยวกับอาหาร ยา ยาเสพติด วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท สารระเหย เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ รังสี และวัตถุอันตรายทางสาธารณสุข ชีววัตถุ สมุนไพร และการชันสูตรโรค ที่ได้รับการประกาศจากกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เพื่อแจ้งเตือนภัยสุขภาพให้ประชาชนได้ทราบด้านคุ้มครองผู้บริโภคและเฝ้าระวังโรค มีการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดต่อสำคัญต่างๆ เช่น วัตซีนป้องกันโรคเอดส์และไข้หวัดนก มีการตรวจวิเคราะห์อาหารหรือวัตถุดิบว่ามีการปนสารห้ามใช้หรือมีการ ปนเปื้อน สารพิษต่างๆ เช่น (Dioxin) หรือมีการตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMO) หรือไม่ เป็นต้น กิจกรรมต่าง ๆ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในทุก ๆ สาขา
กลับไปที่เนื้อหา
สาระ มาตรฐานและตัวชี้วัดชั้นปี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3 ) และช่วงชั้นที่ 4 (ม. 4 – ม.6)
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
( ม.1) ทดลองและอธิบายวิธีเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นเป็นร้อยละ และอภิปรายการนำความรู้เกี่ยวกับสารละลายไปใช้ประโยชน์
( ม.2 ) สืบค้นข้อมูลและอภิปรายผลของสารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
( ม.4 – ม.6 ) ทดลอง อธิบายและเขียนสมการของปฏิกิริยาเคมีทั่วไปที่พบในชีวิตประจำวัน รวมทั้งอธิบายผลของสารเคมีที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
( ม.4 – ม.6 ) อธิบายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และนำเสนอผลการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ และการป้องกันอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
จุดประสงค์การเรียนรู้
- ตระหนักถึงอันตรายจากการรับประทานอาหารที่มีสารเคมีที่เป็นพิษปนเปื้อน
- บอกวิธีการตรวจสอบสารเคมีพิษบางชนิด ที่มักจะปนเปื้อนอยู่ในอาหารได้
- รู้วิธีสังเกตลักษณะของอาหารที่มีสารปนเปื้อนเพื่อหลีกเลี่ยงได้
- บอกลักษณะอาการขั้นต้นของผู้ที่รับประทานอาหารที่มีสารปนเปื้อนบางชนิดได้
- บอกหลักการทำงานของเตาไมโครเวฟและวิธีตรวจสอบการรั่วของคลื่นไมโครเวฟได้
- บอกวิธีการตรวจสอบคุณภาพของถุงยางอนามัยให้ได้มาตรฐาน มอก.ได้
กลับไปที่เนื้อหา
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เดิม ตั้งอยู่ที่ถนนบำรุงเมือง ยศเส ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 จึงได้ย้ายมาอยู่ที่ อาคารสถาบันวิจัย ทางวิทยาศาสตร์สาธารณสุขแห่งชาติ จ.นนทบุรี ในกระทรวงสาธารณสุขปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ 88/7 บำราศนราดูร ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จ.นนทบุรี
เรามักจะได้ยินอยู่เสมอเกี่ยวกับผลการ ตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือที่เกี่ยวกับอาหาร ยา ยาเสพติด วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท สารระเหย เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ รังสี และวัตถุอันตรายทางสาธารณสุข ชีววัตถุ สมุนไพร และการชันสูตรโรค ที่ได้รับการประกาศจากกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เพื่อแจ้งเตือนภัยสุขภาพให้ประชาชนได้ทราบด้านคุ้มครองผู้บริโภคและเฝ้าระวังโรค มีการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดต่อสำคัญต่างๆ เช่น วัตซีนป้องกันโรคเอดส์และไข้หวัดนก มีการตรวจวิเคราะห์อาหารหรือวัตถุดิบว่ามีการปนสารห้ามใช้หรือมีการ ปนเปื้อน สารพิษต่างๆ เช่น (Dioxin) หรือมีการตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMO) หรือไม่ เป็นต้น กิจกรรมต่าง ๆ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในทุก ๆ สาขา
กลับไปที่เนื้อหา
การเดินทางไปกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไปได้ทางรถยนต์ โดยมุ่งไปตามถนนติวานนท์ ถึงช่วงระหว่างสี่แยกแครายกับสะพานพระราม 5 ก็จะถึงซอยติวานนท์ 14 หรือ ซอยเข้าโรงพยาบาลบำราศนราดูร ตรงเข้าไปในกระทรวงสาธารณสุข เข้าซอยสาธารณสุข 4 ก็จะถึงกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
วิดีทัศน์ เรื่อง ไปกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กันเถอะ
กลับไปที่เนื้อหา
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2485 พร้อม ๆ กับการจัดตั้งกระทรวงสาธารณสุขมี การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลายครั้ง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับภาระหน้าที่ และให้ทันต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ 24 หน่วยงาน เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่ง และกองหรือสถาบันต่าง ๆในส่วนกลาง อีก 10 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานเลขานุการกรม กองเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กองชีววัตถุ กองแผนงานและวิชาการ กองรังสีและเครื่องมือแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข สถาบันวิจัยสมุนไพร สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ สำนักยาและวัตถุเสพติด และ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชลบุรี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ตรัง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สงขลา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สุราษฎร์ธานี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ขอนแก่น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครราชสีมา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครสวรรค์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงราย และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภูเก็ต
กลับไปที่เนื้อหา
4.1 กำหนดและพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานของระบบและวิธีการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือที่เกี่ยวกับอาหาร ยา ยาเสพติด วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท สารระเหย เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ รังสี และวัตถุอันตรายทางสาธารณสุข ชีววัตถุ สมุนไพร และการชันสูตรโรค
4.2 ดำเนินการตามกฏหมายว่าด้วยเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ และกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.3 ศึกษา วิจัย พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประเมินความเสี่ยงและแจ้งเตือนภัยสุขภาพ
4.4 ตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือที่เกี่ยวกับอาหาร ยา ยาเสพติด วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท สารระเหย ชีววัตถุ สมุนไพร และการชันสูตรโรค เพื่อควบคุมคุณภาพประสิทธิภาพและมาตรฐานให้เป็นไปตามกฎหมายและเป็นหลักฐานทางคดี รวมทั้งเพื่อสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรค
4.5 เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ชีววัตถุ สมุนไพร ยาเสพติด และการชันสูตรโรค เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข และเป็นห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องมือทางการแพทย์และสาธารณสุข
4.6 สนับสนุนและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ ดำเนินการรับรองคุณภาพทางห้องปฏิบัติการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ชีววัตถุ สมุนไพร และการชันสูตรโรค ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
4.7 พัฒนาระบบและกลไกการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฏหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ
4.8 ถ่ายทอดองค์ความรู้และผลผลิตที่ได้จากการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยสู่ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.9 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่กรม หรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
วิดีทัศน์ เรื่อง หน้าที่ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กลับไปที่เนื้อหา
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นหน่วยงาน ที่ทำหน้าที่พัฒนาและให้การรับรองคุณภาพ มาตรฐานของห้องปฏิบัติการด้านชันสูตรสาธารณสุขในโรงพยาบาลต่างๆ ห้องปฏิบัติการตรวจสุขภาพคนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ และห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมทั้งการรับรองระบบตรวจสอบ สารพิษในผักสด ผลไม้สด เพื่อให้ทุกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีความ ปลอดภัยต่อสุขภาพและมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ยังตรวจ วิเคราะห์ด้านอาหาร ยา สารเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท สารระเหย เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ รังสี ชีววัตถุ และวัตถุอันตรายทางสาธารณสุข อีกด้วย
อาหารเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตและสุขภาพของประชาชน กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์จึงได้จัดตั้งสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร เพื่อตรวจและทดสอบอาหารประเภทต่าง ๆ เพื่อหาสารปนเปื้อนที่อาจจะมีในอาหารและส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน
วิดีทัศน์ เรื่อง สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
สารปนเปื้อนในอาหาร (Contaminants) หมายถึง สารที่ปนเปื้อนมากับอาหารโดยซึ่งอาจมาจากกระบวนการผลิต ทั้งในกรรมวิธีการผลิต โรงงาน การดูแลรักษา การบรรจุ ตลอดจนการขนส่งและการเก็บรักษา หรือเกิดจากการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันในการผลิตอาหาร ผู้ผลิตบางแห่งมีการนำสารเคมี ผสมในอาหาร สารเคมีบางอย่างเป็นอันตรายต่อร่างกาย บางชนิดหากบริโภคเข้าไปในปริมาณมากอาจถึงแก่ชีวิตได้ สารเคมีที่เป็นอันตรายแต่มักพบว่ามีการปนเปื้อนในอาหารและสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร มีการเก็บตัวอย่างนำมาทดสอบอยู่เสมอ ได้แก่
- บอแรกซ์
- สารกันรา (กรดซาลิซิลิค)
- สารฟอกขาว(โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์)
- ฟอร์มาลิน
- สารตกค้างพวกยาฆ่าแมลง
- โคลิฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง
กลับไปที่เนื้อหา
บอแรกซ์ (Borax) เป็นสารเคมีสังเคราะห์ มีสูตรทางเคมีว่า Na2B4O7 ลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น มีชื่อที่เรียกกันทั่วไปหลายชื่อ เช่น ผงน้ำประสานทอง ผงกรอบ เพ่งแซ เป็นต้น ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับบอแรกซ์ไว้ สรุปได้ว่า โดยทั่วไปบอแรกซ์ใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้ว ล้างหม้อขนาดใหญ่ ใช้ป้องกันวัชพืชในการเกษตร ใช้ป้องกันเชื้อราขึ้นตามต้นไม้ ใช้เป็นยาเบื่อแมลงสาบ และใช้เป็นตัวเชื่อมทองเส้นเข้าด้วยกัน แต่ปัญหาการใช้บอแรกซ์เกิดจากมีผู้นำมาใช้ผสมอาหาร เพื่อทำให้อาหารมีความเหนียวหรือกรุบกรอบทำให้อาหารชวนรับประทาน อาหารที่มักพบว่ามีบอแรกซ์ผสม เช่น ลูกชิ้น หมูยอ อาหารชุบแป้งทอด พวกกล้วยทอด มันทอด ผัก/ผลไม้ดอง เป็นต้น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) กำหนดให้บอแรกซ์ เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหาร หากบริโภคเข้าไป จะเกิดอันตรายต่อร่างกาย การบริโภคขนาด 0.1-0.5 กรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมอาจทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าผู้ใหญ่ได้รับสารบอแรกซ์ 15 กรัม หรือเด็กได้รับ 5 กรัม จะทำให้อาเจียนเป็นเลือดและอาจตายได้ บอแรกซ์เป็นพิษต่อไตและสมอง ทำให้ระบบทางเดินอาหารเกิดการระคายเคือง โดยเฉพาะไตเป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ทำให้เกิดกรวยไตอักเสบ เนื่องจากการสะสมของบอแรกซ์ และหากร่างกายได้รับสารบอแรกซ์ในปริมาณมาก จะทำให้เกิดกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อุจจาระร่วง ตับถูกทำลาย อาจชัก หมดสติ โดยเฉพาะในเด็กและคนชราอาจถึงตายได้
สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีวิธีการตรวจสอบว่าในอาหารมีสารบอแรกซ์ปนเปื้อนอยู่หรือไม่ โดยมีชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหารที่สามารถนำไปตรวจสอบเองได้
ในชุดทดสอบจะมีน้ำยาทดสอบบอแรกซ์ ซึ่งเป็น สารละลาย HCl เจือจาง และกระดาษขมิ้น ซึ่งมี สารเคอร์คูมิน (Cercumin) เป็นส่วนประกอบ การทดสอบทำได้ไม่ยากโดยการหั่นหรือบดอาหารที่จะตรวจใส่ในภาชนะ เติมน้ำยาทดสอบลงไปจนเปียกชุ่ม แล้วใช้กระดาษขมิ้นจุ่มลงไปครึ่งแผ่น ตากให้แห้ง ถ้ากระดาษขมิ้นเปลี่ยนสีจากสีเหลืองไปป็นสีแดง แสดงว่าอาหารนั้นมีสารบอแรกซ์ปนเปื้อนอยู่+
วิดีทัศน์ เรื่อง ทดสอบได้อย่างไรว่าในอาหารมีบอแรกซ์
คำถาม
- อาหารที่มีจำหน่ายในตลาดทั่วไป คิดว่ามีอาหารชนิดใดที่อาจใส่สารบอแรกซ์บ้าง
-
คลังวิดีทัศน์
ตอน ไปกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กันเถอะ
ตอน หน้าที่ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ตอน สำนักคุณภาพแและความปลอดภัยอาหาร
ตอน ทดสอบอย่างไรว่าในอาหารมีบอแรกซ์
ตอน การทดสอบหายาฆ่าแมลงในผักผลไม้
ตอน ฟอร์มาลิน
ตอน การทดสอบฟอร์มาลินในอาหาร
ตอน โคลิฟอร์มคืออะไร
-
แผนการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนแผนการสอนคุณครูอรวรรณ ศรีพล โรงเรียนหนองบัวแดงวิทยาผู้เขียนแผนการสอนคุณครูสุภาพร แสนแก้ว โรงเรียนหนองบัวแดงวิทยาผู้เขียนแผนการสอนนางสาวพัชรินทร์ พูลสวัสดิ์ โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคารผู้เขียนแผนการสอนนางสาวสุภาภรณ์ พรสิงชัย โรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคารผู้เขียนแผนการสอนนางทิพวรรณ ยาวิลาศ โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคมผู้เขียนแผนการสอนนางลาวัณย์ แหวนเพชร โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคมผู้เขียนแผนการสอนนางทิพวรรณ ยาวิลาศ โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคมผู้เขียนแผนการสอนนางลาวัณย์ แหวนเพชร
-
คำที่เกี่ยวข้อง