แหล่งเรียนรู้เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
เป็นทะเลสาบน้ำจืด อยู่ในอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุงทางตอนเหนือของทะเลสาบสงขลาโดยมีคลองนางเรียมเชื่อมระหว่างทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลาทะเลน้อยเป็นบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปี พืชส่วนใหญ่เป็นพืชน้ำที่โดดเด่นและสร้างสีสันให้กับทะเลน้อยได้แก่ สาหร่ายหางกระรอกสาหร่ายข้างเหนียว ที่มีดอกเล็กๆสีเหลือง สีม่วงสวยงาม บัวหลวง บัวสายบัวเเผื่อน เป็นต้นความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพในวงจรธรรมชาติของทะเลน้อยเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของนกน้ำนานาชนิดทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพใช้เป็นที่อาศัยช่วยเติมแต่งทะเลน้อยที่สวยงามจากมวลไม้น้ำได้มีความสมบูรณ์มีชีวิตชีวาตามครรลองของธรรมชาติ
กลับไปที่เนื้อหา
มาตราฐานสาระและตัวชี้วัดชั้นปี
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
ชั้น ม.1 ว. 1.1 ข้อ11 ข้อ 4 อธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืช โดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชเพื่อช่วยในการขยายพันธุ์
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
- การแตกหน่อ การเกิดไหล การสืบพันธุ์ของพืชแบบไม่อาศัยเพศ โดยไม่มีการปฏิสนธิ
- ราก ลำต้น ใบและกิ่งของพืช สามารถนำไปขยายพันธุ์ได้
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ชั้น ม.3 ว. 1.2 ข้อ 4 สำรวจและอธิบายความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตได้อย่างสมดุล
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
- ความหลากหลายทางชีวภาพที่ทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่อย่างสมดุล ขึ้นอยู่กับความหลากหลายของระบบ นิเวศ ความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิต และความหลากหลายทางพันธุกรรม
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ชั้น ม.3 ข้อ 1 สำรวจระบบนิเวศต่างๆในท้องถิ่นและอธิบายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศ
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
- ระบบนิเวศในแต่ละท้องถิ่นประกอบด้วยองค์ประกอบทางกายภาพและองค์ประกอบทางชีวภาพเฉพาะถิ่น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด
ชั้น ม.3 ข้อ 1วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
- สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นเกิดจากการกระทำของธรรมชาติและมนุษย์
- ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้น ควรมีแนวทางในการดูแลรักษาและป้องกัน
ตัวชี้วัด
ชั้น ม.3 ข้อ 6 อภิปรายและมีส่วนร่วมในการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
- การดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นให้ยั่งยืน ควรได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย และต้องเป็นความรับผิดชอบของทุกคน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เข้าใจความหลากหลายทางชีวภาพและลักษณะทางกายภาพของ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
2. เข้าใจความเกี่ยวกับพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
3. เข้าใจระบบนิเวศต่างๆในท้องถิ่น
4. มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรต่างที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
5. ตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
กลับไปที่เนื้อหา
ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา)กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงาน ตั้งอยู่ที่ 113 หมู่ที่ 2 ตำบลนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย มีพื้นที่ประมาณ 285,625 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วน ของ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
ภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เป็นที่ราบที่มีทั้งพื้นที่บนแผ่นดิน ทุ่งหญ้า ป่าพรุ และ พื้นที่บริเวณพื้นน้ำ (ทะเลน้อย)
ภูมิประอากาศ
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ตั้งอยู่ทางภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยมี 2 ฤดูคือ ฤดูร้อนและ ฤดูฝน
กลับไปที่เนื้อหา
ขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และสำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทยได้รับ การสำรวจในปี พ.ศ.2517 ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2518 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทยพื้นที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยมีทั้งพื้นที่บนแผ่นดินและพื้นที่บริเวณพื้นน้ำในส่วนที่ประชาชนเรียกว่าอุทยานนกน้ำทะเลน้อยซึ่งก็คือบริเวณที่เป็นทะเลสาบน้ำจืดมีเนื้อทีประมาณ 28ตารางกิโลเมตร (17,500 ไร่)มีคลองนางเรียมและคลองยวนเชื่อมต่อกับทะเลสาบสงขลาซึ่งอุทยานนกน้ำทะเลน้อยได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งทำรังวางไข่แหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าจำพวกนกน้ำทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้พื้นที่บางส่วนบริเวณควนขี้เสียน (อ่าวหม้อ) หมู่ที่ 4 ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เนื้อที่ 3,085 ไร่ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ (Ramsar Site) เป็นแห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย และมีคำขวัญ ของอุทยานนกน้ำทะเลน้อย ว่า"พระตำหนักสง่างาม นกน้ำนับแสนตัว ทะเลบัวยามเช้าเสม็ดขาวผืนใหญแหล่งวางไข่ควนขี้เสียน ขึ้นทะเบียนแรมซาร์ ล่องนาวาทะเลน้อย"
วีดิทัศน์ เรื่องเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย
กลับไปที่เนื้อหา
จากตัวเมืองพัทลุงสามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข4048 (พัทลุง-ควนขนุน)ซึ่งมีป้ายบอกตลอดเส้นทาง
วีดิทัศน์ เรื่องเดินทางไปทะเลน้อย
กลับไปที่เนื้อหา
บริเวณทะเลน้อยเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีคลองนางเรียมเชื่อมต่อกับทะเลสาบสงขลาทะเลน้อยเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำประกอบด้วยป่าพรุน้ำจืดหนองน้ำเนื้อที่ประมาณ28ตารางกิโลเมตร(6%ของพื้นที่ทั้งหมด)พื้นที่ส่วนที่เป็นทะเลน้อยมีความกว้างประมาณ 5 กิโลเมตรความยาว 6 กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร
วิดิทัศน์ เรื่องการเกิดทะเลน้อย
วีนิทัศน์ เรื่องน้ำในทะเลน้อย
กลับไปที่เนื้อหา
พื้นที่ส่วนที่เป็นทะเลสาบน้ำจืดของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย มีพืชน้ำหลากหลายชนิด เช่น บัว สาหร่าย เตยและกง กระจูด ผักตบชวา จอกหูหนู กระจัดกระจายไปทั่วผืนน้ำ ทำให้ทะเลน้อยมีความสวยงาม จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของภาคใต้ พืชเด่นที่พบได้ไม่ยากในทะเลน้อย คือ บัวสาย บัวสายในทะเลน้อย ดงบัวที่มีสีชมพู จะบานสะพรั่งในช่วงเวลา 7-8 โมงเช้า บัวสายเป็นบัวพันธุ์พื้นเมืองที่แพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย ลักษณะ เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ใบ เป็นใบเดี่ยวแตกออกจากเหง้าใต้ดิน ก้านใบยาว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกคล้ายก้านใบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ มีสีเขียวคล้ำปนน้ำตาล กลีบดอกลักษณะคล้ายกลีบเลี้ยง สีชมพูเข้ม สีขาว หรือสีม่วงแดง บัวสายที่ทะเลน้อยชาวบ้านจะนำมาทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกงส้ม ต้มกะทิ บริเวณดงบัวสายยังเป็นแหล่งอาหารของนกน้ำหลายชนิด เช่น นกอีโก้ง นกพริก นอกจากบัวสายแล้ว ยังมีบัวที่พบได้จำนวนมากในทะเลน้อย เช่น บัวบา บัวหลวง
วิดีทัศน์ เรื่องบัวในทะเลน้อย
พืชที่ปกคลุมพื้นน้ำของทะเลน้อย อีกชนิดหนึ่ง คือ เตยและกง ที่อยู่ในทะเลน้อยมากมายนั้น เป็นแหล่งหากิน หลบภัยของนกน้ำและสัตว์หลายชนิด
วิดีทัศน์ เรื่องเตยและกงในทะเลน้อย
พืชที่โดดเด่น อีกชนิดหนึ่ง คือ สาหร่ายชนิดต่างๆในทะเลน้อย ซึ่งไม่ว่าจะล่องเรือไปจุดไหนก็จะพบ สาหร่าย ทั้ง สาหร่ายข้าวเหนียว สาหร่ายหางกระรอก และสาหร่ายพุงชะโด
วิดีทัศน์ เรื่องสาหร่ายข้าวเหนียวในทะเลน้อย
วีนิทัศน์ เรื่องสาหร่ายหางกระรอกในทะเลน้อย
วินิทัศน์ เรื่องสาหร่ายพุงชะโดในทะเลน้อย
กลับไปที่เนื้อหา
พืชที่ชาวบ้านนำมาใช้ประโยชน์ และพืชที่พบได้มากในทะเลน้อย คือ กระจูดมักขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นกลุ่มใหญ่ๆ กระจูดเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุหลายปี เจริญเติบโตง่าย และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วในพื้นที่ ที่มีน้ำขังอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะบริเวณริมทะเลสาบที่เป็นดินเป็นดินโคลน ซึ่งเรียกว่า “พรุ” กระจูดที่พบในทะเลน้อย มีทั้งกระจูดหนูและกระจูดใหญ่ กระจูดหนูมีลำต้นเล็กและสั้น กระจูดหนูเป็นอาหารของนก เป็นที่หลบภัย ทำรัง เช่น นกอีโก้ง กระจูดใหญ่ ลำต้นของมีลักษณะกลมกลวง มีข้อปล้อง ความสูงประมาณ 1 – 3 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์และสภาพแวดล้อม กระจูดใหญ่ มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่ชาวบ้านทะเลน้อยปลูกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านหัตถกรรม เช่น นำไปทำเสื่อ หมวก และกระเป๋า ฯลฯ
วีนิทัศน์ เรื่องกระจูดในทะเลน้อย
วีนิทัศน์ เรื่องผลิตภัณฑ์จากกระจูด
กลับไปที่เนื้อหา
ในส่วนที่เป็นทะเลน้อย ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย มากหมายด้วยสัตว์หลายชนิดที่เข้ามาอาศัยใช้เป็นแหล่งอาหาร แหล่งหลบภัย เลี้ยงดูลูกอ่อน และอยู่อาศัย ซึ่งมีทั้ง ปลาน้ำจืดที่พบไม่ต่ำกว่า 45 ชนิด เช่น ปลาช่อน ปลากระดี่ ปลาปักเป้าน้ำจืด และ ปลาเสือพ่นน้ำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ซึ่งคาดว่าจะมีไม่น้อยกว่า ๕๗ ชนิด เช่น ลิงแสม เสือปลา และลิงลม สัตว์เลื้อยคลาน มีในพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๔๐ ชนิด เช่น งู ตะพาบน้ำ เต่า สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก ไม่น้อยกว่า 12 ชนิด เช่น กบนา เขียดทราย อึ่งอ่าง คางคกบ้าน จากสภาพพื้นน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณไม้น้ำ และสัตว์น้ำต่างๆ ทะเลน้อยจึงมีเป็นแหล่งอาศัยหากินทำรังและวางไข่ของนกนานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนกน้ำ จากการสำรวจพบนกราว 187 ชนิด สามารถจำแนกออกได้ ๒ ประเภท คือ นกประจำถิ่น และนกอพยพ นกประจำถิ่น เช่นนกยางเปีย นกอีโก้ง นกกระสาแดง นกอีล้ำ นกอพยพ เช่น นกเป็ดแดง นกนางนวลธรรมดา นกชายเลนน้ำจืด นกตีนเทียน เป็นต้น
วีดิทัศน์ เรื่องนกน้ำในทะเลน้อย
กลับไปที่เนื้อหา
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ พร้อมด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ที่สำคัญคือ บริเวณป่าพรุควนขี้เสียน เป็นบริเวณที่มีน้ำท่วมอยู่ตลอดปี มีพันธุ์ไม้เด่น เช่น ต้นเสม็ด พืชล้มลุก ได้แก่ กก กระจูดหนู กระจูด แห้วทรงกระเทียม เสม็ดขาว เสม็ดชุน กูดยาง ผักกูด ลำเท็ง ลิเภายุ่ง
วีดิทัศน์ เรื่องป่าพรุควนขี้เสี้ยน
วีดิทัศน์ เรื่องพืชและสัตว์ในป่าพรุควนขี้เสี้ยน
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย โดยเฉพาะบริเวณป่าพรุควนขี้เสียน ซึ่งเนื้อที่ 3,085 ไร่ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย ทำรัง วางไข่ของนกน้ำจำนวนมาก ทั้งนกประจำถิ่นอาศัยอยู่ประจำตลอดปี และนกอพยพย้ายถิ่นมาจากที่อื่น เช่น นกกาบบัว นกกระสาแดง นกกระทุง นกกาน้ำ นกนางนวล นกกระเด็น นกคับแค นกแขวก นกอีลุ้ม นกตีนเทียน นกพริก นกเหยี่ยว นกยางขาว นกยางกรอก นกยางแดง นกยางควาย นกยางหัวเปีย นกจะชุกชุมมากที่สุดในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งอาจจะมีมากจำนวนเป็นแสน ๆ ตัว
จากการที่บริเวณป่าพรุควนขี้เสียนที่มีความอุดมสมบูรณ์นี้เอง จึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติของอนุสัญญาแรมซาร์ ลำดับที่ 110 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2551 นับเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
กลับไปที่เนื้อหา
Ramsar Site คือ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศพื้นที่ชุ่มน้ำ หมายถึง พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบ พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมถึงอยู่อย่างถาวรและชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลและพื้นที่ของทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร
Ramsar Site เกิดขึ้นเนื่องจากตัวแทนของประเทศต่าง ๆ ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำ ที่เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2514 (ค.ศ. 1971) อนุสัญญานี้เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลซึ่งกำหนดกรอบความร่วมมือเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ซึ่งจะต้องจัดการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดและยั่งยืน ตามเงื่อนไขของอนุสัญญาฯกำหนดให้การเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำ Ramsar Site ได้ต่อเมื่อ ประเทศเจ้าของพื้นที่นั้นเข้าร่วมเป็นภาคีและรับที่จะปฏิบัติตามอนุสัญญาองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือ UNESCO โดยกำหนดให้วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ( World Wetland Day)
ปี พ.ศ. 2536 คณะอนุกรรมการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ มีมติให้เสนอพรุควนขี้เสียนในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar site) ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Convention) 26 สิงหาคม 2540 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้เสนอพื้นที่พรุควนขี้เสียน เป็นพื้นที่ Ramsar site ต่อมาประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอันดับที่ 110 ของอนุสัญญาฯ พรุควนขี้เสียน จึงเป็น Ramsar site แห่งแรกของประเทศไทย มีผลบังคับใช้ตามพันธกรณี เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยจะต้องดำเนินการสิ่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างชาญฉลาด ป่าพรุควนขี้เสียน ตั้งอยู่บริเวณพรุควนขี้เสียน (อ่าวหม้อ) หมู่ที่ 4 ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยพิทักษ์ป่าพรุควนขี้เสียน
วีดิทัศน์ เรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำแห่งแรกของไทย
กลับไปที่เนื้อหา
บริเวณทะเลสาบน้ำจืด ที่มีพื้นที่ประมาณ 30 ตารางกิโลเมตร แม้จะเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่แต่ที่นี่กลับมีชื่อเรียกในทางตรงกันข้ามกัน คือ ทะเลน้อย และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของภาคใต้ ด้วยสถานที่มีอากาศดี มีทิวทัศน์งดงาม มีสัตว์ให้ชมทั้ง นกชนิดต่างๆ ควายน้ำ และมีคุณค่ายิ่งต่อระบบนิเวศ และการดำรงชีวิตของประชาชนรอบทะเลน้อยเส้นทางศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวที่ทะเลน้อย ส่วนใหญ่ต้องใช้เรือเป็นพาหนะหลักในการชมธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ วิถีชีวิตของชาวชุมชนทะเลน้อย
- นั่งเรือ ชมนก ดูบัว
- พระตำหนักทะเลน้อย
- ศาลานางเรียม
- ทะเลบัวยามเช้า
- นกน้ำนานา ชนิดบริเวณรอบ ๆ ทะเลน้อย
- พื้นที่แรมซาร์ไซต์
- ฝูงควายน้ำ
- สภาพป่าพรุรอบๆ ทะเลน้อย
การปฏิบัติตัวในการท่องเที่ยวทะเลน้อย
การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของนักท่องเที่ยวย่อมนำมาซึ่งความปลอดภัย ความสะดวกและความเป็น ระเบียบเรียบร้อยของ และการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืน
ข้อควรปฏิบัติตัว มีดังนี้
1. ศึกษาข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับนกน้ำและธรรมชาติของทะเลน้อยล่วงหน้า
2. ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของกรมป่าไม้
3. ลงเรือด้วยความระมัดระวัง ขณะเรือแล่นไม่ควรยื่นมือหรือเท้าออกไปนอกเรือหรือทำให้เรือเสียการทรงตัว
4. ขยะทุกชิ้นควรนำกลับมาทิ้งในถังขยะบนฝั่ง ถ้าพบขยะกรุณาเก็บมาทิ้งด้วย
5. ไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนขณะชมธรรมชาติ
6. ไม่เก็บดอกไม้ หรือ ทำลายพืชพันธุ์ตามธรรมชาติที่ปรากฏตามทางศึกษาธรรมชาติ
วีดิทัศน์ เรื่องการใช้ประโยชน์จากทะเลน้อย
กลับไปที่เนื้อหา
http://www.thai-tour.com/
http://www.oknation.net
http://sirinyam53.blogspot.com/p/blog-page_17.html
http://1081009.tourismthailand.org/oldweb/trip/dcp?id=7379
http://th.wikipedia.org
http://www.school.net.th/library/snet4/feb18/talaynoi.htm
http://chm.forest.go.th/th/?p=1544
http://www.roong-aroon.ac.th/
กลับไปที่เนื้อหา
-
คลังวิดีทัศน์
ตอน เดินทางไปทะเลน้อย
ตอน การเกิดทะเลน้อย
ตอน น้ำในทะเลน้อย
ตอน บัวในทะเลน้อย
ตอน เตยและกงในทะเลน้อย
ตอน สาหร่ายข้าวเหนียวในทะเลน้อย
ตอน สาหร่ายหางกระรอกในทะเลน้อย
ตอน สาหร่ายพุงชะโดในทะเลน้อย
-
แผนการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนแผนการสอนนางอมรรัตน์ พิกุลทอง โรงเรียนก้างปลาวิทยาคมผู้เขียนแผนการสอนนางสาคร เปาะทอง โรงเรียนก้างปลาวิทยาคมผู้เขียนแผนการสอนนางธัญญารัตน์ เก็มเต็ง โรงเรียนดาราสมุทรภูเก็ตผู้เขียนแผนการสอนนางสาวกรกช ชู พล โรงเรียนดาราสมุทรภูเก็ตผู้เขียนแผนการสอนนางวันทิพย์ สามหาดไทย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุราษฏร์ธานีผู้เขียนแผนการสอนนางวิภาดา ชัยทอง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุราษฏร์ธานี
-
คำที่เกี่ยวข้อง