แหล่งเรียนรู้คลองนาคา
พลับพลึงธารเป็นไม้ล้มลุก อาศัยอยู่ใต้น้ำ รากลึก มีหัวใต้ดินเส้นผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 7 ซม. ยาวประมาณ 15 ซม. ใบออกเป็นวงรอบแทงขึ้นเหนือน้ำ รูป แถบ ยาว 2-3 ม. มีประมาณ 20 ใบ หรือมากกว่า สีเขียวอ่อน เนื้อใบเหนียว นุ่ม มีเส้นใบตามยาวจำนวนมาก ขอบใบจักซี่ฟันเล็กๆ ช่อดอกรูปซี่ร่ม กาบหุ้ม ช่อสีแดง ก้านช่อดอกอวบหนา ยาวได้ 80-100 ซม. สีเขียวแกมม่วง ดอกย่อย มี 5-8 ดอก บานทีละ 1-5 ดอก กลีบรวมติดกันเป็นหลอด สีขาวอม เขียว ยาว 12-14 ซม. ปลายแยกเป็น 6 แฉก รูปแถบหรือรูปใบหอก ยาว 8-10 ซม. สี ขาว ก้านเกสรเพศผู้ 6 อัน เรียวยาวและแผ่กว้าง สีขาวถึงแดง ยาว 6-8 ซม. อับ เรณูติดที่ฐาน สีเหลืองอ่อน ยาว 1.2-1.5 ซม. ก้านเกสรเพสเมียสั้นกว่าก้าน เกสรเพศผู้ ผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด เมล็ดบิดเบี้ยว เป็นเหลี่ยม ยาว ประมาณ 2.5 ซม. พลับพลึงธารเป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบเฉพาะบริเวณภาคใต้ตอน บนแถบจังหวัดพังงา และระนอง พบทั่วไปตามลำธารที่น้ำใสสะอาด และมีน้ำไหลตลอด ปี ความลึกไม่เกิน 2 เมตร Schulze (1972) กล่าวว่าพลับพลึงธารเป็น 1 ใน 4 ชนิดของสกุล Crinum ที่เป็น พืช น้ำ 2 ชนิด (Crinum aquaticum Burch. ex Spreng. & Crinum natans Baker) พบ ในแอฟริกาเขตร้อน และอีก 1 ชนิด (Crinum purpurascens Herb.) พบในบราซิลและ เทือกเขาอินดีสตะวันออก พลับพลึงธารเป็นพืชที่ถูกลักลอบส่งออกไปต่างประเทศ จำนวนมาก ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปมาก ทำให้ลำธารไม่สะอาดและตื้น เขิน พลับพลึงธารอาจเสี่ยงต่อการเผชิญกับการสูญพันธุ์ในธรรมชาติเป็นอย่างมาก
กลับไปที่เนื้อหา
สาระ มาตรฐานและตัวชี้วัดชั้นปี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ช่วงชั้นที่ 1
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่ง มีชีวิต
ตัวชี้วัดชั้นปี ( ม.1 )
1.ทดลองและอธิบายโครงสร้างของดอกที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืช
2.อธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชโดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชเพื่อช่วยในการขยายพันธุ์
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัดชั้นปี ( ม.3 )
1.สำรวจและอธิบายความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล
2.อธิบายผลของความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัดชั้นปี ( ม.3 )
1.สำรวจระบบนิเวศต่างๆในท้องถิ่นและอธิบายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศ
2.วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมีชีวิตในรูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัดชั้นปี ( ม.3 )
1.วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา
2.อธิบายแนวทางการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
3.อภิปรายปัญหาสิ่งแวดล้อมและเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา
4.อภิปรายและมีส่วนร่วมในการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.เข้าใจโครงสร้างของดอกที่ เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืช
2.เข้าใจความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล
3.เข้าใจ ระบบนิเวศต่างๆในท้องถิ่นและอธิบายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศ
4.รู้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
5.เข้าใจลักษณะของแหล่งน้ำธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์แหล่งน้ำในท้องถิ่
กลับไปที่เนื้อหา
คลองนาคา อยู่ในอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง มีต้นกำเนิดมาจาก เขานาคาและเขาพระหมี บนเทือกเขาภูเก็ตซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ไหลคดคี้ยวลงไปทางทิศตะวันตก สู่ทะเลอันดามันที่อ่าวกะเปอร์ อ.สุขสำราญ จ.ระนอง มีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ราบที่เป็นหมู่บ้านหลายแห่ง เช่น บ้านฝายท่า บ้านวังผักบุ้ง เป็นลำคลองที่มีความต่างระดับไม่มากนัก ทำให้กระแสน้ำมีความเร็วไม่มาก มีน้ำไหลตลอดปี
ทั้งสองฝั่งของคลองนาคา ช่วง ที่ใกล้หมู่บ้าน เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งสวนผลไม้ สวนปาล์มและสวนยางพารา การที่มีระดับน้ำไม่ลึก กระแสน้ำมีความเร็วต่ำและมีคุณภาพของน้ำดี ทำให้มีพืชวงศ์พลับพลึง งอกงามอยู่ในบางช่วงของคลองนาคา บริเวณปากคลองเรือ บ้านฝายท่า พลับพลึงที่ขึ้นได้กลางคลองนาคา จึงมีชื่อเรียกว่า พลับพลึงธาร
วีดิทัศน์ เรื่อง ลักษณะของคลองนาคา
เริ่มต้นการเดินทางจากจังหวัดระนอง ไปตามถนนเพชรเกษม(ทางหลวงหมายเลข 4 )มุ่ง สู่จังหวัดพังงา ถึงหลักกิโลเมตรที่ 691 ถึงทางแยกเข้าบ้านฝายท่า ก็เลี้ยวซ้าย ไปที่ บ้านฝายท่า อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง รวมระยะทางประมาณ 87 กิโลเมตร จากบ้านฝายท่า ซึ่งเป็นที่ตั้งของชมรมเพลินไพรศรีนาคา สามารถใช้เรือหรือแพล่องไปตามลำคลองนาคา เพื่อศึกษาสิ่งที่น่าสนใจตามลำคลองนาคาได้
วีดิทัศน์ เรื่อง การเดินทางมาที่คลองนาคา
กลับไปที่เนื้อหา
คลองเป็นทางน้ำหรือลำน้ำที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำหรือทะเล มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือที่ขุดขึ้นมาเพื่อประโยชน์ใช้สอย มีขนาดไม่ใหญ่มากเหมือนแม่น้ำและความยาวไม่มากนัก คลองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในเขตภูเขา จะมีต้นน้ำมาจากพื้นที่สูง เมื่อฝนตกน้ำจะไหลมาตามร่องธาร จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ น้ำจากร่องธารหลาย ๆ สายจะรวมกันเป็นลำธาร หลายลำธารที่ไหลมารวมกันทำให้เกิดลำน้ำที่ใหญ่ขึ้นเป็นลำคลอง ซึ่งจะเชื่อมต่อกับแม่น้ำหรือทะเลต่อไป
ในบริเวณพื้นราบ เช่นในลุ่มน้ำต่าง ๆ ก็เกิดลำคลองโดยธรรมชาติได้ เมื่อแม่น้ำไหลผ่านพื้นที่ราบซึ่งมีความต่างระดับน้อย ก็ยังไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำด้วยแรงดึงดูดของโลก แต่น้ำจะเอ่อท้นไปตามพื้นที่ที่ต่ำกว่าและเกิดการกัดเซาะพื้นดินจนเกิดเป็น คลองได้เช่นเดียวกัน ท้อง น้ำของลำคลองอาจเป็นพื้นราบหรือมีร่องน้ำลึกในบางส่วนของท้องน้ำ ขึ้นอยู่กับความแข็งของพื้นท้องน้ำ ลักษณะการไหลและอัตราเร็วของกระแสน้ำ ลักษณะของท้องน้ำแต่ละช่วงของลำคลองจะเป็นอย่างไรจะหาได้โดยการหาพื้นที่ หน้าตัดของลำน้ำ
วีดิทีศน์ เรื่อง การทำพื้นที่หน้าตัดของทางน้ำ
คำถาม
- การทำพื้นที่หน้าตัดของทางน้ำมีวิธีการอย่างไร
- การรู้ลักษณะหน้าตัดของลำน้ำมีประโยชน์อย่างไร
- คลองนาคามีลักษณะหน้าตัดของทางน้ำอย่างไร
กลับไปที่เนื้อหา
ระบบนิเวศของคลองนาคาระบบที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่เดียวกัน มีความสัมพันธ์กันและมีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตในสิ่งแวดล้อม เรียกว่า ระบบนิเวศ ระบบนิเวศของคลองนาคาเป็นระบบนิเวศหนึ่งที่น่าสนใจ ตลอด แนวลำคลองนาคา จะพบพืชมากมายหลายชนิดทั้งที่อยู่บนฝั่งและในน้ำ คลองนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของ สัตว์ เช่น งู กบ นก และในน้ำก็เป็นที่อยู่อาศัยของ กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น ระบบนิเวศของคลองนาคาเป็นระบบนิเวศ ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมีกลุ่มสิ่งมีชีวิตทั้ง พืชสัตว์ที่ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน กลุ่มสิ่งมีชีวิตเหล่านี้สัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตในสิ่งแวดล้อมของคลอง นาคา เช่น กระแสน้ำ คุณภาพน้ำ แสงแดด กรวดทรายและตะกอนในท้องน้ำ สภาพของฝั่งคลอง เหล่านี้เป็นต้น
สำหรับ ความหลากหลายทางชีวภาพนั้น ที่คลองนาคามีสัตว์หลากหลายชนิดที่ใช้คลองนาคาเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร แหล่งเลี้ยงดูลูกอ่อน และเป็นแหล่งหลบภัยตัวอย่าง เช่น กบ งูปล้องทอง งูเหลือม นกกระยาง นกกวัก นกกาน้ำ กุ้ง หอยปู ปลาส่วนพืชมีทั้ง ไผ่ จิกน้ำ บอน ชุมเห็ด ผักกูด ผักหนาม พืชสวน เช่นยางพารา ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ที่น่าสนใจและแตกต่างจากระบบนิเวศอื่น คือ ในคลองนาคามี พลับพลึงที่งอกงามได้กลางลำคลองที่มีน้ำไหล มีชื่อเรียกว่า พลับพลึงธาร
เมื่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดตายลง จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ที่อยู่ในน้ำและในดิน ทำให้ซากสิ่งมีชีวิตเน่าเปื่อยผุผังไป กลายเป็นสารอาหารซึ่งเป็นอาหารของแพลงตอนพืชและแพลงตอนสัตว์แพลงตอนเหล่านี้เป็นอาหารของสัตว์น้ำ พวกกุ้ง หอย ปู ปลา จากนั้น นกงูตะกวด จะมากินสัตว์น้ำอีกต่อหนึ่งเป็นโซ่อาหารและเป็นการถ่ายทอดพลังงานจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค
วีดิทัศน์ เรื่อง ระบบนิเวศในคลองนาคา
คำถาม
1.ยกตัวอย่างผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลายอินทรียสารในระบบนิเวศคลองนาคา
2.ในระบบนิเวศคลองนาคามีกลุ่มผู้บริโภคสัตว์หรือไม่ ถ้ามี ยกตัวอย่างผู้ล่าและเหยื่อ
3.ยกตัวอย่างโซ่อาหารของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในคลองนาคา
ลักษณะที่น่าสนใจทางด้านกายภาพของสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศคลองนาคา คือ ลำคลองบางส่วนจะเป็นแนวตรง ยาวและความต่างระดับน้อย ทำให้น้ำไหลไม่แรงและไม่มีการทับถมของตะกอนดินและก้อนหิน พื้นท้องน้ำเป็นดินปนทรายและตะกอนกรวด ทำให้รากของพลับพลึงธารมีที่ยึดเกาะ บริเวณนี้จึงมี ต้นพลับพลึงธารขึ้นอยู่หนาแน่นกว่าบริเวณอื่น โดยกรวดและหินที่พบตามพื้นคลอง เป็นหินโคลน สีเทาถึงสีเทาเข้ม มีต้นกำเนิดมาจาก เขานาคา เขาพระหมีบนเทือกเขาภูเก็ต
วีดิทัศน์ เรื่อง ท้องน้ำคลองนาคา
กลับไปที่เนื้อหา
เมื่อมองดูด้วยตา สังเกตเห็นได้ว่าน้ำในคลองนาคาเป็นน้ำที่ใสสะอาด แต่การที่จะสรุปว่าน้ำในแหล่งน้ำมีคุณภาพดีเพียงใดนั้น จะต้องมีการวัดค่าต่าง ๆ ของดัชนีที่ชี้วัดคุณภาพน้ำ ที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอให้ใช้ 9 ดัชนีดังต่อไปนี้
2.ออกซิเจนละลายน้ำ (DO)
3.ของแข็งทั้งหมด (TS)
4.แบคทีเรียกลุ่มฟีคัล (Fecal Coliforms)
5.ไนเตรต (NO3-)
6.ฟอสเฟต (PO43-)
7.ความขุ่น หรือความโปร่งใส (Turbidity )
8.อุณหภูมิของน้ำ (Temp)
9.ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (Biological Oxygen Demand ) (BOD)
ค่าต่าง ๆ ที่วัดได้จะนำมาคำนวณและได้คะแนนที่บอกถึงคุณภาพน้ำของแหล่งนั้นโดยมีเกณฑ์ดังนี้
คะแนนดัชนีคุณภาพน้ำ | ค่าคุณภาพน้ำ |
0-30 | เสื่อมโทรมมาก |
31-60 | เสื่อมโทรม |
61-70 | พอใช้ |
71-90 | ดี |
91-100 | ดีมาก |
1 ppm: เป็นอันตรายย่อสัตว์น้ำอย่างรุนแรง
2 ppm:เป็นค่าน้อยที่สุดที่ยอมรับได้
4 ppm:ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำแต่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
6 ppm:ดีต่อสัตว์น้ำ
8 ppm:ดีมาก สัตว์น้ำเจริญเติบโตดี
วีดิทัศน์ เรื่อง การวัดความโปร่งใสของน้ำ
คำถาม
1.จากการตรวจวัด ค่าออกซิเจนละลายน้ำในคลองนาคามีค่าประมาณเท่าไร หมายความว่าอย่างไร
2.ค่าความเป็นกรด เบสของน้ำในคลองนาคาวัดได้เท่าไร หมายความว่าอย่างไร
3.อุณหภูมิของน้ำในคลองนาคาที่วัดได้มีค่าประมาณเท่าไร
- คุณภาพน้ำเสีย กลุ่มสัตว์ที่พบ จะเป็นสัตว์ที่ทนต่อสภาพน้ำทุกชนิด เช่น หนอนริ้นดูดเลือด หนอนริ้นดำ




วีดิทัศน์ เรื่อง คุณภาพน้ำจากสัตว์น้ำขนาดเล็ก
- น้ำในคลองนาคาควรมีคุณภาพอยู่ในระดับใด
กลับไปที่เนื้อหา
พลับพลึงธาร เป็นพรรณไม้น้ำอยู่ในวงศ์เดียวกับพลับพลึงที่ขึ้นอยู่บนบก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Crinum thaianum j.Schuize มีชื่อสามัญว่า Onion plant อยู่ในวงศ์พลับพลึง (Amaryllidaceae) พลับพลึงธาร เป็นพืชที่สวยงามและหายากมากที่สุดชนิดหนึ่ง พบได้เฉพาะที่คลองนาคา จัดเป็นพืชถิ่นเดียวที่พบเฉพาะประเทศไทย ไม่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติไปขึ้นอยู่ในประเทศอื่น พลับพลึงธารเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สังเกตจากระบบรากซึ่งเป็นรากฝอย ลำต้นอยู่ในน้ำมีข้อปล้องชัดเจน ลักษณะของใบเรียวยาว เส้นใบเรียงกันแบบขนาน ดอกของพลับพลึงธาร ดอกเป็นชนิดดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้ง กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย ครบทุกส่วนในดอกเดียวกัน ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อดอกของแต่ละดอก ดอกมีสีขาวมี 6 กลีบ มีก้านชูอับเรณู เกสรเพศผู้ 6 อัน เกสรเพศเมียอยู่กลางดอก1 อัน ผลไม่เชื่อมติดกัน จัดเป็นผลเดี่ยว
วีดิทัศน์ เรื่อง ลักษณะของพลับพลึงธาร
วีดิทัศน์ เรื่อง ทำไมพลับพลึงธารจึงมีทีนี่แห่งเดียว
พลับพลึงธารขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ในการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ เมื่อละอองเรณูเกสรเพศผู้ มาตกบนยอดเกสรเพศเมีย ละอองเรณูจะค่อยๆงอกเป็นหลอดเล็กๆ ภายในหลอดมีเซลล์สืบพันธ์เพศผู้ หลอดละอองเรณูงอกแทงลงไปยังรังไข่จนถึงออวุลซึ่งมีเซลล์ไข่อยู่ เมื่อเซลล์สืบพันธ์เพศผู้เข้าผสมกับเซลล์ไข่ ทำให้เกิดการปฏิสนธิ หลังเกิดการปฏิสนธิ รังไข่จะเจริญเติบโตเป็นผล ออวุลจะเจริญเติบโตเป็นเมล็ด แต่ละรังไข่จะมี 1 ผล แต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่ข้างใน 2-4 เมล็ด เพื่อขยายพันธ์ต่อไปในธรรมชาติ เมื่อเมล็ดพลับพลึงธารหลุดล่องลอยไปตามกระแสน้ำ เมล็ดก็จะแตก และไปติดอยู่กับ ซอกหิน ต้นไม้ หรือริมตลิ่ง จากนั้นก็จะงอกเป็นต้นพลับพลึงธารต่อไป
ส่วนการขยายพันธุ์ แบบอาศัยไม่เพศ หัวพลับพลึงธารที่อยู่ใต้ดินในลำน้ำซึ่งเป็นต้นแม่สามารถแตกหน่อเป็นต้นใหม่ ได้ อีกวิธีหนึ่ง คือ วิธีการผ่าแบ่งหัว นำหัวพลับพลึงธารมาผ่า เป็นหลายๆซีก หัวหนึ่งอาจได้ถึง 32 ซีก แล้วนำไปเพาะไว้ในบ่ออนุบาล และอีกส่วนหนึ่งได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากห้อง ปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและโรงเรือนปลูกเลี้ยงพรรณไม้น้ำ ของกลุ่มงานวิจัยพรรณไม้น้ำ สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ จนเจริญเติบโตเต็มที่จึงนำไปปลูกในคลอง ต่อไป
วีดิทัศน์ เรื่อง การขยายพันธุ์ของพลับพลึงธาร
วีดิทัศน์ เรื่อง ประโยชน์ของพลับพลึงธาร
คำถาม
- ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพลับพลึงธาร น่าจะมีอะไรบ้าง
- สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อพลับพลึงธารควรเป็นอย่างไร
กลับไปที่เนื้อหา
วีดิทัศน์ เรื่อง ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพลับพลึงธาร
การอนุรักษ์พลับพลึงธาร ในช่วง ปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว ประมาณปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม ของทุกปี พลับพลึงธารในคลองนาคาออกดอกสีขาวบานสะพรั่ง พลับพลึงธาร พืชหนึ่งเดียวในโลกแห่งสายน้ำคลองนาคา ที่ต้องอนุรักษ์ และเห็นความสำคัญ เพราะถ้าสูญพันธุ์ไปแล้วยากที่จะกลับคืนดังเดิม ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติชุมชน ในท้องถิ่นตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาตินี้ จึงเกิดการจัดตั้ง ชมรมเพลินไพรศรีนาคา ขึ้นเพื่อการอนุรักษ์และปกป้องทรัพยากรท้องถิ่นให้อยู่คู่กับสายน้ำคลองนาคา อย่างยั่งยืน ทุกคนที่เข้าไปเกี่ยวข้อง กับ พลับพลึงธาร จะช่วยในการอนุรักษ์ได้ดังนี้
- เก็บหัวพลับพลึงธารที่หลุดลอยตามกระแสน้ำไปปลูกหรืออนุบาล
- หลีกเลี่ยงการเหยียบย่ำต้นพลับพลึงธาร
- ไม่ตัดดอกพลับพลึงธารเพื่อเปิดโอกาสให้แตกและขยายพันธุ์ต่อไป
- ไม่ตัดใบพลับพลึงธารเพื่อช่วยลดกระแสความรุนแรงของน้ำ
- ไม่ขุดหัวพลับพลึงธารไปขาย
- ไม่ทำลายพันธุ์ไม้พื้นเมืองและพืชคลุมดินที่ขึ้นบริเวณริมฝั่งคลอง
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพลำคลอง เช่น การขุดลอกคลอง การสร้างฝาย การเก็บขอนไม้
- ลดการใช้สารเคมีเกษตร
- ไม่ทิ้งขยะลงในลำคลอง
- ให้ความร่วมมือในกิจกรรมอนุรักษ์พลับพลึงธาร
วีดิทัศน์ เรื่อง การอนุรักษ์พลับพลึงธาร
กลับไปที่เนื้อหา
-
คลังวิดีทัศน์
ตอน การเดินทางมาที่คลองนาคา
ตอน ลักษณะของคลองนาคา
ตอน การทำพื้นที่หน้าตัดของพื้นน้ำ
ตอน ระบบนิเวศในคลองนาคา
ตอน ท้องน้ำคลองนาคา
ตอน การวัดความโปรงใสของน้ำ
ตอน คุณภาพน้ำจากสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ตอน ตรวจคุณภาพน้ำในคลองนาคา
-
แผนการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนแผนการสอนนางผุสดี ใยยะธรรม โรงเรียนบางบัวทอง นนทบุรีผู้เขียนแผนการสอนนางสาวเพียงฤทัย โชติญาณพิทักษ์ โรงเรียนบางบัวทอง นนทบุรีผู้เขียนแผนการสอนพวงเพ็ญ สายสวาท โรงเรียนประจวบวิทยาลัยผู้เขียนแผนการสอนกรรณิการ์ เจริญจาด โรงเรียนประจวบวิทยาลัยผู้เขียนแผนการสอนนางสาวมนสิชา ชะพลพรรค โรงเรียนกาวิละวิทยาลัยผู้เขียนแผนการสอนนางธัญลักษณ์ วุฒิคุณ โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย
-
คำที่เกี่ยวข้อง