แหล่งเรียนรู้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ภูหลวง
- 1. การแนะนำ
- 2. ตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้
- 3. ที่ตั้งและภูมิประเทศ
- 4. การเดินทาง
- 5. ความเป็นมา
- 6. การวัดอุณหภูมิของอากาศด้วยบารอมิเตอร์
- 7. ลักษณะอากาศและป่าชนิดต่างๆ
- 8. พืชพรรณและการขยายพันธุ์พืช
- 9. เห็ดราและไลเคน
- 10. การลำเลียงน้ำและอาหาร
- 11. กิจกรรม : กรดหรือเบส
- 12. กิจกรรม : ความสูงของต้นไม้
- - ทุกหน้า -
ภูหลวงมีความหมายว่าภูเขาที่ยิ่งใหญ่ หรือหมายถึงภูเขาของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งนับเป็นสิริมงคลนามที่บรรพบุรุษได้ตั้งชื่อไว้ ภูหลวงเกิดจากการยกตัวของพื้นผิวโลก และดินส่วนที่อ่อนถูกพัดพาลงสู่พื้นที่ส่วนต่ำ คงเหลือหินซึ่งเป็นโครงสร้างที่แข็งไว้เป็นภูเขา
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงได้ รับการจัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 91 ตอนที่ 216 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2517 มีเนื้อที่ประมาณ 848 ตารางกิโลเมตรหรือ ประมาณ 530,000 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่วังสะพุง อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
ต่อมาในปี พ.ศ.2534 ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นมาใหม่ซึ่งเรียกว่า “พระราชกฤษฎีกา กำหนดบริเวณที่ดินป่าภูหลวง ในท้องที่ตำบลปลาบ่า ตำบลท่าศาลา อำเภอภูเรือ ตำบลโพนสูง ตำบลวังยาว ตำบลอีปุ่ม อำเภอด่านซ้าย ตำบลหนองงิ้ว ตำบลเขาหลวง ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุงและตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย และได้มีการกำหนดให้บริเวณที่ดินป่าภูหลวง ในท้องที่ตำบลปลาบ่า ตำบลท่าศาลา อำเภอภูเรือ ตำบลโพนสูง ตำบลวังยาว ตำบลอีปุ่ม อำเภอด่านซ้าย ตำบลหนองงิ้ว ตำบลเขาหลวง ตำบลทราบขาว อำเภอวังสะพุง และตำบลภูหอ ตำบลเลยวังไสย์ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
กลับไปที่เนื้อหา
สาระ มาตรฐานและตัวชี้วัดชั้นปี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ชั้น ม.1
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่ง มีชีวิต
ตัวชี้วัดชั้นปี
สังเกตและอธิบายโครงสร้างที่เกี่ยวกับระบบลำเลียงน้ำและอาหารของพืชอธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศชองพืชดอกและการสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศของพืช โดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเพื่อช่วยในการขยายพันธุ์
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว.3.1 เข้าใจสมบัติของสารความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึด เหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัดชั้นปี
ตรวจสอบค่า pH ของสารละลาย และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว. 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัดชั้นปี
ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้นและความกดอากาศที่มีผลต่อปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ
จุดประสงค์การเรียนรู้
รู้วิธีอ่านค่าจากเครื่องมือและความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้นและความกดอากาศที่มีผลต่อปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ตระหนักถึงผลกระทบของการทำลายป่าที่มีต่อสิ่งแวดล้อมรู้จักลักษณะของป่าเบญจพรรณและป่าดิบเขา พืชพรรณในป่าและการขยายพันธุ์ของพืชบางชนิดทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ เข้าใจระบบลำเลียงน้ำและอาหารของพืช สามารถวัดค่า pH ของดินได้ รู้วิธีประยุกต์ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์หาความสูงของต้นไม้ได้
กลับไปที่เนื้อหา
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอวังสะพุง อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย และ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 897 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 560,593 ไร่
ภูหลวง มีลักษณะเป็นเทือกเขายอดตัดขนาดใหญ่ แนวเขตของภูหลวง เริ่มจากที่ระดับความสูง ๔๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยอดเขาที่สูงที่สุดคือยอดภูขวางสูง ๑,๕๗๑ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เทือกเขาทางด้านซีกตะวันออกมีลักษณะเป็นเขายอดตัดลูกใหญ่ มีที่ราบบนหลังเขาเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ ตารางกิโลเมตร ระดับความสูงประมาณ ๑,๒๐๐ - ๑,๕๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางและมีหน้าผาสูงชัน ส่วนเทือกเขาทางด้านตะวันตกเป็นภูเขาเล็กๆตั้งสลับซับซ้อนเป็นลูกคลื่น ที่ระดับความสูง ๖๐๐ - ๘๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเลย
กลับไปที่เนื้อหา
ถ้าเริ่มเดินทางจากตัวจังหวัดเลย ไปตามเส้นทางสายเลย-ภูเรือ ระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตร ก็จะถึงถึงบ้านสานตม แล้วแยกซ้ายที่บ้านสานตมไปอีก 18 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และจากที่ทำการเขต ต้องเดินทางขึ้นไปบนภูหลวงตามเส้นทางเลียบไหล่เขาอีกประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงหน่วยพิทักษ์ป่า โคกนกกระบา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการศึกษาสิ่งต่าง ๆ บนภูหลวง
วิดีทัศน์ เรื่อง เส้นทางสู่ภูหลวง จ.เลย
กลับไปที่เนื้อหา
ภูหลวง หมายถึง เขาที่สูงใหญ่หรือภูเขาของพระเจ้าแผ่นดิน เกิดจากการยกตัวของ พื้นผิวโลก เมื่อเวลามากกว่า 120 ล้านปีมาแล้ว และกระบวนการกร่อนรวมทั้งการพัดพา ทำให้ดินส่วนที่อ่อนถูกพัดพาลงสู่พื้นที่ส่วนต่ำ ผลจากการยกตัวทำให้ภูหลวงมีลักษณะเป็นเขายอดตัด มีที่ราบบนยอดเขาคิดเป็นพื้นที่ถึงประมาณ 100 ตารางกิโลเมตร และเชื่อว่า การยกตัวของเปลือกโลกบริเวณนี้ ทำให้สัตว์ดึกดำบรรพ์ เช่น ไดโนเสาว์ติดขึ้นมาที่ยอดของภูหลวงด้วย เพราะมีการค้นพบรอยตีนของไดโนเสาว์ขนาดใหญ่บนยอดของภูหลว
วิดีทัศน์ เรื่อง ลักษณะของภูหลวง
วิดีทัศน์ เรื่อง หล่อแบบรอยตีนไดโนเสาร์
วิดีทัศน์ เรื่อง น้ำมือมนุษย์
กลับไปที่เนื้อหา
ภูมิอากาศ ภูหลวงเป็นภูเขายอดราบซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง1,450 เมตร ยอดเขาจึงนับว่าสูงมากและมีลมค่อนข้างแรงตลอดเวลา และเนื่องจากมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ จึงมีความชื้นในอากาศสูง อุณหภูมิอากาศบริเวณยอดเขาในฤดูร้อนจะเย็นสบาย แต่ในฤดูหนาวอากาศจะหนาวจัด อุณหภูมิ ของอากาศบนผิวโลกจะสัมพันธ์กับความดันอากาศหรือที่ทางอุตุนิยมวิทยาเรียกว่า ความกดอากาศ โดยบริเวณที่มีความกดอากาศสูงจะมีอากาศเย็นหรือมีอุณหภูมิต่ำ ส่วนบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ อากาศบริเวณนั้นจะมีอุณหภูมิสูง
กลับไปที่เนื้อหา
ลักษณะอากาศบนยอดภูหลวงในฤดูต่าง ๆ เป็นดังนี้
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 20-24 องศาเซลเซียส
วิดีทัศน์ เรื่อง ป่าเบญจพรรณ
วิดีทัศน์ เรื่อง ป่าดิบเขา
กลับไปที่เนื้อหา
วิดีทัศน์ เรื่อง พันธุ์ไม้บนภูหลวง
วิดีทัศน์ เรื่อง กล้วยไม้บนภูหลวง
วิดีทัศน์ เรื่อง มอสและเฟิน
คำถาม
- ยกตัวอย่างพืชที่นักเรียนรู้จัก ซึ่งขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดมา 3 ชนิด
- ยกตัวอย่างพืชที่นักเรียนรู้จัก ซึ่งขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อมา 3 ชนิด
- ยกตัวอย่างพืชที่นักเรียนรู้จัก ซึ่งขยายพันธุ์ด้วยการใช้ลำต้นปักชำมา 3 ชนิด
กลับไปที่เนื้อหา
เห็ดรา (fungi) เป็นสิ่งที่มีชีวิตชั้นต่ำที่พบอยู่ทั่วไปทั้งในน้ำ บนบก และใน อากาศ มีลักษณะคล้ายสาหร่าย แต่ไม่มีคลอโรฟิลล์ ไม่มีลักษณะเป็นพิเศษที่จะบอกว่าเป็นพืชหรือสัตว์ ดังนั้น เห็ดราจึงไม่ใช่พืช โดยทั่วไปเห็ดราจะมีลักษณะเป็นเส้นใยเล็กๆ แตกกิ่งก้านสาขาออกไปและมักจะอยู่รวมกันเป็นกระจุก เห็ดราบางชนิดเป็นเซลล์เดียว ที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป คือ ยีสต์ บางชนิดมี การรวมของเส้นใยจนเป็นดอกเห็ด
วิดีทัศน์ เรื่อง ฟองหิน
วิดีทัศน์ เรื่อง ไลเคนส์
คำถาม
- การเจริญเติบโตของเห็ดรา และไลเคนส์ต้องอาศัยปัจจัยอะไรบ้าง
กลับไปที่เนื้อหา
พืชต้องใช้น้ำและแร่ธาตุในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหาร ที่น่าสนใจคือ ต้นไม้ที่มีความสูงมาก ๆ จะใช้วิธีใดในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุขึ้นไปถึงใบซึ่งอยู่ยอดไม้เพื่อ สังเคราะห์ด้วยแสง
- การแพร่ของสาร มีหลักการอย่างไร
- ทิศทางการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของพืชแตกต่างจากทิศทางการลำเลียงอาหารของพืชหรือไม่ อย่างไร
ในฤดูแล้ง น้ำในดินมีน้อย ต้นไม้ส่วนมากจะปรับตัวตามธรรมชาติเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในช่วงแห้งแล้ง โดยจะเกิดกระบวนการทางเคมีที่ใบไม้ คลอโรฟิลล์จะลดลงมากจนใบไม้เปลี่ยนสีจากสีเขียว เป็นเหลืองและแดงตามลำดับ จากนั้นจึงหลุดร่วงจากกิ่งก้าน ต้นไม้จะลดการสร้างอาหารลงและเก็บน้ำไว้ในลำต้นเพื่อนำมาใช้สร้างอาหารที่ ส่วนต่าง ๆของต้นไม้ที่ยังมีคลอโรฟิลล์เหลืออยู่
กลับไปที่เนื้อหา
วิดีทัศน์ เรื่อง กรดและเบส
อุปกรณ์
1. บีกเกอร์ขนาด 100 ml
2. แท่งแก้วคน
3. กระดาษลิตมัสสีน้ำเงิน
4. กระดาษลิตมัสสีแดง
5. กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
6. น้ำสะอาด
7. ตัวอย่างดิน
กลับไปที่เนื้อหา
วิดีทัศน์ เรื่อง ความสูงของต้นไม้
อุปกรณ์
1. แผ่นวัดความสูงของต้นไม้
2. ตลับเมตรหรือสายวัดระยะทาง
กลับไปที่เนื้อหา
-
คลังรูปภาพ
ชื่อ Galleryกล้วยไม้Galleryชื่อ Galleryก่อหมากGalleryชื่อ GalleryกุหลาบขาวGalleryชื่อ GalleryกุหลาบแดงGalleryชื่อ Galleryแกนมอร์(ไม้มีพิษ)Galleryชื่อ Galleryไก๋แดงGalleryชื่อ Galleryข้าวตอกฤาษีGalleryชื่อ Galleryตีนไดโนเสาร์Galleryชื่อ GalleryบอนไซGalleryชื่อ Galleryผาเตลิ่นGalleryชื่อ GalleryผักกูดดอยGalleryชื่อ GalleryฟองหินGalleryชื่อ Galleryเมเปิ้ลGalleryชื่อ Galleryรองเท้านารีอินทนนท์Galleryชื่อ GalleryไรเคนGalleryชื่อ Galleryศรีเที่ยงหลวงGalleryชื่อ GalleryสนสามพันปีหรือสนหางกระรอกGalleryชื่อ Galleryเห็ดGalleryชื่อ Galleryเอื้องน้ำต้นGalleryชื่อ Galleryเอื้องสำเภางามGalleryชื่อ GalleryภาพพาโนรามาGallery
-
คลังวิดีทัศน์
ตอน เส้นทางสู่...ภูหลวง จ.เลย
ตอน ลักษณะของภูหลวง
ตอน หล่อแบบรอยตีนไดโนเสาร์
ตอน น้ำมือมนุษย์
ตอน ป่าเบญจพรรณ
ตอน ป่าดิบเขา
ตอน พันธุ์ไม้บนภูหลวง
ตอน กล้วยไม้บนภูหลวง
-
แผนการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนแผนการสอนบัณฑิต อุปัญญ์ โรงเรียนอำนาจเจริญผู้เขียนแผนการสอนนิรชร ชุติเนตร โรงเรียนอำนาจเจริญผู้เขียนแผนการสอนนายสมพร ชอบทำดี โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ผู้เขียนแผนการสอนวชิราภรณ์ วรัตถ์สุวรรณ โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ผู้เขียนแผนการสอนคุณครูสุนันท์ สโมสร โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่ผู้เขียนแผนการสอนคุณครูศรีพรรณ นาพรม โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่
-
คำที่เกี่ยวข้อง