แหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์สิรินธร
- 1. การแนะนำ
- 2. คำชี้แจง
- 3. ความเป็นมา
- 4. โลกก่อนมหายุคพาลีโอโซอิก ตอน 1
- 5. โลกก่อนมหายุคพาลีโอโซอิก ตอน 2
- 6. กำเนิดสิ่งมีชีวิต ตอน 1
- 7. กำเนิดสิ่งมีชีวิต ตอน 2
- 8. กำเนิดสัตว์หลายเซลล์ ตอน 1
- 9. กำเนิดสัตว์หลายเซลล์ ตอน 2
- 10. มหายุคพาลีโอโซอิก ตอน 1
- 11. มหายุคพาลีโอโซอิก ตอน 2
- 12. มหายุคพาลีโอโซอิก ตอน 3
- 13. การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่
- - ทุกหน้า -
ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบโดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ในปีพ.ศ. 2537 และได้เริ่มทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ โดยคณะสำรวจไดโนเสาร์จากกรมทรัพยากรธรณี ตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2537 พบว่า ภูกุ้มข้าว ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ เป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย โดยพบกระดูกไดโนเสาร์เกือบทั้งตัว กองรวมอยู่กับกระดูกไดโนเสาร์กินพืชอีกชนิดหนึ่ง กระดูกทั้งหมดอยู่ในชั้นหินที่วางตัวอยู่บนไหล่เขาของภูกุ้มข้าวซึ่งมี รูปร่างคล้ายลอมฟาง มีความสูงประมาณ 240 เมตร ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีได้ขุดค้นซากไดโนเสาร์พบกระดูกมากกว่า 700 ชิ้น เป็นกลุ่มของกระดูกส่วนขา สะโพก ซี่โครง คอ และหางของไดโนเสาร์กินพืชไม่น้อยกว่า 7 ตัว นอกจากนี้ยังพบฟันของไดโนเสาร์ทั้งกินพืช และกินเนื้ออีกอย่างละ 2 ชนิด จากลักษณะของกระดูกพบว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืชสกุลภูเวียง ( Phuwiangosaurus sirindhornae ) 1 ชนิด และเป็นไดโนเสาร์กินพืชชนิดใหม่อีก 1 ชนิด คาดว่าอาจเป็นไดโนเสาร์สกุลและชนิดใหม่ของโลก
กลับไปที่เนื้อหา
พิพิธภัณฑ์สิรินธร เป็นแหล่งเรียนรู้ และศูนย์วิจัย ด้านธรณีวิทยาและซากดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับไดโนเสาร์ ดำเนินการโดยกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายในพิพิธภัณฑ์ แบ่งเป็นเขต หรือโซนที่แสดงข้อมูลเป็น 8 เขตใหญ่ๆ (ตาราง 1) สำหรับคลิป VDO และหัวข้อเนื้อหาพิพิธภัณฑ์สิรินธร จะนำเสนอ ในเนื้อหาหลักเพียงบางส่วนที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง โซนต่างๆในพิพิธภัณฑ์ คลิป VDO และหัวข้อเนื้อหาสำหรับนักเรียน
เนื่องจากพิพิธภัณฑ์สิรินธร ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ซึ่งในปัจจุบัน ข้อมูลที่แสดงในพิพิธภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะพบว่าจะมีข้อมูลในเนื้อหาสำหรับนักเรียนหลายส่วนที่ไม่ตรงกันกับข้อมูลที่แสดงในพิพิธภัณฑ์
เนื้อหาของแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์สิรินธร สอดคล้องกับตัวชี้วัดของสาระ 6 ในหัวข้อ ม. 4 - ม. 6 สำรวจ วิเคราะห์ และอธิบาย การลำดับชั้นหิน จากการวางตัวของชั้นหิน ซากดึกดำบรรพ์ และโครงสร้างทางธรณีวิทยา เพื่ออธิบายประวัติความเป็นมาของพื้นที่
กลับไปที่เนื้อหา
พิพิธภัณฑ์สิรินธร คือแหล่งเรียนรู้ซากดึกดำบรรพ์ และศูนย์วิจัยซากดึกดำบรรพ์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกฉียงใต้ ตั้งอยู่ที่ ตำบลโนนบุรี อำเภอสหขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ การแสดงประกอบด้วย โซนพิพิธภัณฑ์ 8 โซน ในอาคารหลัก และพิพิธภัณฑ์แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ แสดงในอาคารอีกหลังที่สร้างครอบแหล่งขุดค้นซากไดโนเสาร์ซอโรพอต
เนื่องจากข้อมูลในแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์สิรินธร มีข้อมูลที่มาก หลากหลาย ด้วยเหตุนี้เนื้อหาที่จะแสดงต่อไปนี้ จะเป็นเนื้อหาที่กล่าวสรุปเหตุการณ์ที่สำคัญของประวัติของโลกตั้งแต่เริ่มเกิด ผ่านมหายุคต่างๆ ที่เริ่มมีสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเกิดสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้จะกล่าวถึงลักษณะที่สำคัญของไดโนเสาร์ และสรุปข้อมูลเกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่พบในประเทศ ซึ่งเป็นหัวเรื่องเด่นของแหล่งเรียนรู้นี้
วีดิทัศน์ เรื่อง เที่ยวหาความรู้ที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร
กลับไปที่เนื้อหา
โลกมีอายุ 4,567 ล้านปี ประมาณ 88 % ของอายุโลก เป็นช่วงแรกของโลกที่โลกพัฒนาจากดาวเคราะห์ที่ร้อน ไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ไปเป็นดาวที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อชีวิตต่างๆ ช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า “ก่อนแคมเบรียน”
โลกขณะที่เกิดใหม่ๆ โลกมีขนาดเล็กกว่าปัจจุบัน โลกทั้งดวงหลอมเหลว และมีการเย็นตัวเกิดขึ้นบริเวณผิวโลก
โลกเกิดพร้อมกับระบบสุริยะ ในระยะแรกของระบบสุริยะมีดาวเคราะห์มากกว่าในปัจจุบัน เมื่อประมาณ 4.5 พันล้านปีที่ผ่านมา มีดาวเคราะห์ เส้นผ่านศูนย์กลางขนาดประมาณดาวอังคาร ชนโลก ดาวเคราะห์ดังกล่าวมีชื่อ เรียกว่า “เธ-เอีย” (Theia) ผลของการชนทำให้โลกมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และชิ้นส่วนของเธ-เอีย ที่ระเบิดรวมตัวกันมีขนาดใหญ่ขึ้นเกิดเป็นดวงจันทร์ ซึ่งเป็นบริวารของโลก
เปลือกโลกมีการเย็นตัวเกิดเป็นแผ่นหินบางๆ ที่ลอยอยู่บนแมกมา หินดังกล่าวแตกหัก หลอมเป็นแมกมา และเย็นตัวใหม่ กลับไปมาเป็นหิน และแมกมา |
กลับไปที่เนื้อหา
ผิวโลกเริ่มเย็นตัวลงบ้างในบางบริเวณ เกิดเปลือกโลกเป็นบางบริเวณ และเริ่มเกิดฝน เมื่อเวลามากกว่า 3,500 ล้านปีที่ผ่านมา พบหลักฐานของสิ่งมีชีวิตเชลเดียว คือไซยาโนแบคทีเรีย(เรียกกันโดยทั่วไปว่า สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน)ในโครงสร้างหินตะกอนที่เรียกว่าสโตรมาโตไลต์)ช่วงเวลาดังกล่าว 4 – 2.5 พันล้านปีที่ผ่านมา คือบรมยุคอาร์เคียน (หมายถึงบรมยุคที่เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นเป็นครั้งแรก)สิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลกมีความสำคัญคือเป็นผู้สร้างแก๊สออกซิเจนให้กับบรรยากาศของโลก
สโตรมาโตไลต์ มาจากภาษากรีกหมายถึง“หินที่แสดงลักษณะเป็นชั้น” หมายถึง โครงสร้างที่เป็นชั้นซ้อนกันเกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากร่วมกับกระบวนการตกตะกอน
กลับไปที่เนื้อหา
ในปัจจุบันยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัดว่าสิ่งมีชีวิตชนิดแรกเกิดขึ้นได้อย่างไร การทดลองเพื่อใช้อธิบายกำเนิดของสิ่งมีชีวิต เริ่มจากมิเลอร์ และยูเร ในปี 2496 ทำได้จากการใส่โมเลกุลของบรรยากาศ ที่เชื่อว่าเป็นบรรยากาศในอดีต ที่ประกอบด้วย แก๊สมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจน และน้ำ ลงในระบบปิด ในการทดลองได้ดำเนินการต่อเนื่อง 1 สัปดาห์ โดยมีการสปารค์ไฟฟ้าต่อเนื่อง เสมือนการเกิดฟ้าผ่าในอดีตที่เกิดได้ทั่วไป
ผลการทดลองจากการวิเคราะห์ส่วนประกอบของน้ำทะเลโบราณ เขาพบว่ามีคาร์บอนด์เกิดขึ้น 2 % และมีกรดอะมิโนเกิดขึ้นด้วย (องค์ประกอบของโปรตีน)
มีนักวิทยาศาสตร์ไม่เห็นด้วยกับข้อสรุป ของการทดลองของมิเลอร์ และยูเร เกี่ยวกับการกำเนิดของสิ่งมีชีวิต โดยอ้างว่า บรรยากาศของโลกยุคแรกไม่น่าจะมีโมเลกุลของแก๊สที่เป็นตัวรีดิวซ์ มากตามการทดลอง ในอดีตไม่น่าจะเกิดฟ้าผ่าอย่างต่อเนื่อง
ช่วงปลายบรมยุคอาร์เคียน (3,000 – 2,500 ล้านปีที่ผ่านมา) เกิดทวีปที่มีเสถียรภาพ และมีการระเบิดของภูเขาไฟอย่างรุนแรง โครงสร้างสโตรมาโตไลต์ จากแบคทีเรีย พบได้ทั่วไป นอกจากนี้ยังพบฟอสซิลแบคทีเรียในหินเชิร์ตด้วย
พบหินที่เกิดในช่วงเวลานี้แสดงค่าสนามแม่เหล็กโลกในอดีต บ่งบอกถึงภายในโลกมีการแยกตัวเป็นชั้นโครงสร้างโลกแล้ว (มีแก่นโลกชั้นใน – ชั้นนอก ชั้นเนื้อโลก และเปลือกโลก
กลับไปที่เนื้อหา
ร่องรอยของสิ่งมีชีวิตปรากฏ ประมาณ 3.5 พันล้านปี สิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีขนาดเล็ก มีเชลล์เดียว ประเภท โพรคาริโอต มีชื่อเฉพาะว่าไซยาโนแบคทีเรีย มันอยู่เป็นกลุ่มและทำให้เกิดโครงสร้างสโตรมาโตไลต์ ออกซิเจนที่ละลายน้ำมีค่าเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดแร่เหล็กที่เกิดเป็นชั้นสลับกับหินดินดานและหินเชิร์ต
บรมยุคโพรเทอโรโซอิก (2,500 ถึง 542 ล้านปี)
2.5 พันล้านปีที่ผ่านมา บรรยากาศของโลกในช่วงเวลานี้ ประกอบด้วยแก๊สไนโตรเจน ประมาณ 75% และแก๊สออกซิเจน ประมาณ 25 % แก๊สออกซิเจน แก๊สไนโตรเจน เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ ส่วนแก๊สออกซิเจนได้จากกระบวนการสังเคราะห์แสงของไซยาโนแบคทีเรีย ประมาณ 2.2 พันล้านปีที่ผ่านมา พบหลักฐานว่าบรรยากาศของโลก ประกอบด้วยแก๊สออกซิเจนที่มาก จากการพบหินตะกอนที่เกิดบนบกสีแดง ระดับออกซิเจนในน้ำที่สูงทำให้สิ่งมีชีวิตยุคแรกที่ไม่คุ้นเคยกับแก๊สออกซิเจนสูญพันธุ์เป็นจำนวนมาก สิ่งมีชีวิตในบรมยุคโพรเทอโรโซอิก ได้วิวัฒนาการจากเซลล์โปรคาริโอต มาเป็นเซลยูคาริโอต ที่สามารถสังเคราะห์แสง และหายใจได้ ยูคาริโอต ที่พบได้ทั่วไปในบรมยุคนี้ คือ อาคริทาร์ซ (acritarch)
ฟอสซิล อาคริทาร์ซ เป็นฟอสซิลขนาดเล็กมาก (5 - 200
ไมโครเมตร, ขนาดโดยทั่วไป 20 – 15 ไมโครเมตร) อายุมากที่สุด 1.6 พันล้านปี มีลักษณะเซลเป็นแบบยูคาริโอต ชื่ออาคริทาร์ซ หมายถึง “ไม่จำแนกการเกิด” ซึ่งในปัจจุบันเป็นฟอสซิลที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทไหน
ฟอสซิลอาคริทาร์ซ ที่พบในช่วงยุคก่อนแคมเบรียน โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นทรงกลม อาคริทาร์ซ พบมากและหลากหลายในช่วงต้นมหายุคพาลีโอโซอิก
ประมาณ 1.5 พันล้านปีที่ผ่านมา แบคทีเรียมีทั้งเป็นสิ่งมีชีวิตเชลเดียวแบบโพรคาริโอต และยูคาริโอต (ส่วนมากเป็นฟอสซิลอาคริทาร์ซ) แต่การเกิดยูคาริโอต ทำให้การวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเกิดเร็วขึ้น เนื่องจากเซลล์ยูคาริโอตสามารถสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ พันธุกรรมของลูกได้มาจากต้นกำเนิดทั้งสอง ยูคาริโอตเกิดใหม่โดยทั่วไปจะมีลักษณะหลักคล้ายพ่อ-แม่ต้นกำเนิด แต่การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลักได้ สมบัติที่เกิดใหม่ของยูคาริดอต ทำให้มันสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมใหม่ได้
กลับไปที่เนื้อหา
กำเนิดสัตว์หลายเซลล์ ครั้งแรก ประมาณ 630 ล้านปีที่ผ่านมา
คำว่า “หลายเซลล์ หรือ multi-celled” หมายถึงพืช หรือสัตว์ที่ประกอบด้วยเซลล์ ที่แตกต่างกันหลายชนิด สัตว์หลายเซลล์ หรือเมตาซัว (metazoa) มีวิวัฒนาการมามากกว่า 600 ล้านปี เมตาซัวชนิดแรก สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้
กลับไปที่เนื้อหา
ยุคอิไดอะคาเรน หรือยุคเวนเดียน (เดิม) ประมาณ 653 ถึง 541 ล้านปีที่ผ่านมา
หลักฐานฟอสซิลในยุคนี้ แสดงว่าสัตว์หลายเซลล์ มีโครงสร้างซับซ้อนเกิดขึ้นบริเวณพื้นทะเล ก่อนช่วงเวลาแคมเบรียน แล้ว
ยุคอิไดอะคาเรน เป็นยุคก่อนหน้ามหายุคพาลีโอโซ-อิก ยุคดังกล่าวตั้งชื่อตาม เขาอิไดอะคารา ประเทศออสเตเรีย บริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณที่พบฟอสซิลสัตว์ที่ลำตัวอ่อนนิ่ม ไม่มีโครงสร้างแข็ง หลายชนิด เช่น ดิกคินโซเนีย ชาร์เมีย และพาร์แวนโครินา (หรือพาร์แวนคอร์เนีย) เป็นต้น
กลับไปที่เนื้อหา
เมื่อโลกมีอายุ ประมาณ 4,000 ล้านปี มีสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่หลายชนิดจำนวนมากเริ่มปรากกฎ มันเป็นหลักฐานที่เกิดเป็นฟอสซิล จากที่ไม่เคยมีมากในหินที่มีอายุแก่กว่านี้เลย ช่วงเวลา 289 ล้านปีในมหายุคพาลีโอโซอิก เกิดบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ฟองน้ำ ปะการัง หอย แมลง ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อคลาน พืชที่มีท่อน้ำเลี้ยง พืชไม่มีเมล็ด และมีเมล็ด (แต่ยังไม่มีดอก)
นักธรณีวิทยาศึกษาหินในมหายุคนี้ ทราบว่าแผ่นดินในมหายุคพาลีโอโซอิกในช่วงแรกส่วนมากอยู่บริเวณขั้วโลกใต้ ต่อมาได้เคลื่อนตัวมารวมกันเป็นมหาทวีปที่เรียกว่าพันเจียในช่วงปลายของมหายุค โลกในมหายุคนี้ผ่านสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น ร้อนชื้นอุดมสมบูรณ์ ไปจนถึงร้อน และแห้งแล้ง ไปจนถึงมีเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิต ได้เกิดขึ้น ถึง 3 ครั้ง และครั้งที่ 3 จัดเป็นการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่มีหลักฐานในปัจจุบัน ในปลายมหายุคพาลีโอโซอิก
ชื่อ “มหายุคพาลีโอโซอิก” หมายถึง มหายุคที่มีสิ่งมีชีวิตรูปร่างแบบโบราณ แบ่งได้เป็น 6 ยุค ตามเหตุการณ์หลักที่ปรากฏในหิน ลำดับจากช่วงอายุมากไปหาช่วงอายุน้อยดังนี้ คือ ยุคแคมเบรียน ยุคออร์โดวิเชียน ยุคไซลูเรียน ยุคดีโวเนียน ยุคคาร์บอนิเฟอร์รัส และยุคเพอร์เมียน
เวลาของยุคต่างๆ ในมหายุคพาลีโอโซอิก www.stratigraphy.org (ICS, 2013/01)
วีดิทัศน์ เรื่อง มหายุคพาลีโอโซอิค (ยุุคของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตโบราณ)
กลับไปที่เนื้อหา
ยุคแคมเบรียน 541 – 485 ล้านปีที่ผ่านมา
เริ่มต้นยุคแคมเบรียน หรือ เป็นยุคที่สิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างที่แข็ง ปรากฎให้เห็นมากทั้งชนิด และจำนวน การพบฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้นักวิทยาศาสตร์ เรียกยุคนี้ว่า “เกิดการระเบิดของสิ่งมีชีวิตในยุคแคมเบรียนCambrian explosion”
- พืชที่พบเป็นสาหร่ายทะเล
- สัตว์เริ่มแรกเป็นสัตว์ที่อาศัยในทะเล ได้แก่ ไทรโลไบต์ แบรคิโอพอด ฟองน้ำ แกสโตรพอด และปลายุคแรก (ไหเกาอิคทิส จากข้อมูลปัจจุบัน)
อ้างอิงจาก http://higheredbcs.wiley.com/legacy/college/levin/0471697435/chap_tut/chaps/chapter12-01.html
ยุคออร์โดวิเชียน 485 – 443 ล้านปีที่ผ่านมา
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง พัฒนาหลากหลายเกิดสัตว์ชนิดใหม่มากมาย นอติลอยด์ที่มีเปลือกตรง และยาว (มอลลัสกา ชั้นเซฟาโลพอด) ซึ่งจัดเป็นเจ้าทะเลในยุคออร์โดวิเชียน พบประการังยุคเริ่มต้น หอยสองฝา แกรปโตรไลต์ ไบรโอซัว โคโนดอน (สัตว์มีแกนสันหลังในระยะแรก) เริ่มปรากฎในยุคนี้ พืชสีเขียว และเห็ดรา เกิดบนแผ่นดินในครั้งแรก ช่วงปลายยุคจบลงด้วยยุคน้ำแข็ง
นอติลอยด์ กำลังกินเหยื่อ จาก Palmer, D. 2006 The illustrated encyclopedia of the prehistoric world. Chartwell Books, New Jersey, 512 p.
ยุคไซลูเลียน 443 - 419 ล้านปีที่ผ่านมา
พืชมีที่ลำเลียงชนิดแรกเกิดขึ้น สัตว์บกที่เกิดขึ้นชนิดแรกในยุคนี้ คือ กิ้งกือ และ สัตว์ขาปล้องขนาดใหญ่ คล้ายกิ้งกือ และตะขาบ พบปลามีกราม และปลาหุ้มเกราะแต่ไม่มีกราม จำนวนมากในทะเล แมงป่องทะเลมีขนาดใหญ่ในยุคนี้ ในทะเลยังพบสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย ประกอบด้วย ปะการรัง และไครนอยด์ ไทร์โลไบต์ชนิดต่างๆ และกลุ่มหมึก มีความหลากหลาย แกรปโตไลต์ ไม่ค่อยหลากหลายในยุคนี้
ภาพสัตว์ขาปล้องขนาดใหญ่กำลังกินเหยื่อ พืชบก และทะเลในยุคไซลูเลียน จาก Palmer, D. 2006 The illustrated encyclopedia of the prehistoric world. Chartwell Books, New Jersey, 512 p.
กลับไปที่เนื้อหา
ยุคดีโวเนียน 419 - 359 ล้านปีที่ผ่านมา
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตบนบกมีมากขึ้น คลับมอส ต้นหางม้า และ เฟิร์น เกิดครั้งแรกในยุคนี้ เช่นเดียวกับพืชที่มีเมล็ด ต้นไม้ และแมลงไม่มีปีก
ในทะเลยังมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ แบรคิโอพอด หรือหอยตะเกียง ปะการังรวมถึงไคนอยด์ โกเนียไทต์-แอมโมนอยด์ เกิดในปริมาณมากในขณะที่ โคลีออยด์ (coleoids) หรือหมึกโบราณ เริ่มเกิดในยุคนี้ ไทรโลไบต์ ลดความหลากหลาย และจำนวนลง สิ่งมีชีวิตที่เป็นเจ้าทะเลในยุคนี้ ประกอบด้วยปลามีกราม (พลาโคเดิร์ม, lobe-finned และ ray-finned fish และปลาฉลามยุคแรก) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดแรกยังคงอาศัยอยู่ใน
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ปลาที่หลากหลาย ทะเลในยุคไซลูเลียน และพืชบกจาก Palmer, D. 2006 The illustrated encyclopedia of the prehistoric world. Chartwell Books, New Jersey, 512 p.
ยุคคาร์บอนิเฟอรัส 359 - 299 ล้านปีที่ผ่านมา
ช่วงแรกเกิดต้นไม้โบราณขนาดใหญ่ และพื้นที่ลุ่มชื้นบนแผ่นดิน พบสัตว์มีกระดูกสันหลังบนแผ่นดินชนิดแรก และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เกิดปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่มีครีบพู่ (lobe-finned rhizodonts) ในมหาสมุทรเกิดปลาฉลามยุคแรก และมีหลากหลายชนิดเกิดแมงป่องทะเล ไครนอยด์ ปะการัง โกเนียไทต์-แอมโมนอยด์ และแบรคิโอพอด พบได้ทั่วไป แต่ ไทรโลไบต์ และนอติลอยด์ พบชนิด และจำนวนน้อยลง น้ำแข็งปกคลุมด้านตะวันออกของกอนวานา
แมลงมีปีกพบมาก และหลายชนิด แมลงบางชนิด มีขนาดใหญ่มาก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พบทั่วไป และหลากหลาย พบสัตว์เลื้อยคลานเป็นครั้งแรก เกิดป่าที่ประกอบด้วย เฟิร์น ต้นคลับมอส ต้นหางม้าขนาดใหญ่ ในยุคนี้ระดับออกซิเจนในบรรยากาศมีค่าสูงสุด โกเนียไทต์ แบรคิโอพอด ไบรโอซัว และปะการัง พบได้ทั่วไปในทะเลและมหาสมุทร ฟอแรม มีการแพร่พันธุ์มาก
ป่า และพืชบก เกิดขึ้นมากในยุคคาร์บอนิเฟอรัส ทำให้บรรยากาศมีปริมาณออกซิเจนสูง ผลทำให้แมลงยุคนี้มีขนาดใหญ่มาก จาก Palmer, D. 2006 The illustrated encyclopedia of the prehistoric world. Chartwell Books, New Jersey, 512 p.
ยุคเพอร์เมียน 299 - 252 ล้านปีที่ผ่านมา
ยุคเพอร์เมียน เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคพาลีโอโซอิก และยุคเพอร์เมียนสิ้นสุดด้วยการเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่พบบนโลก 90-95 % ของสิ่งมีชีวิตในทะเลสูญพันธุ์ และ70 % ของสิ่งมีชีวิตบนแผ่นดินสูญพันธุ์
ชีวิตบนแผ่นดิน ประกอบด้วยพืชที่มีความหลากหลาย พร้อมด้วย สัตว์มีข้อมีปล้อง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลื้อยคลานที่พบมีความสูงไม่มาก เป็นสัตว์เลือดเย็น ที่มีสมองเล็ก ในทะเลเพอร์เมียน หมึก ไครนอยด์ แบรคิโอพอด และฟิวซูลินิด เป็นสิ่งมีชีวิตที่พบมาก
สิ่งมีชีวิตหลากหลายมากขึ้นบนแผ่นดิน สัตว์เลื้อยคลานมีความหลากหลายจาก Palmer, D. 2006 The illustrated encyclopedia of the prehistoric world. Chartwell Books, New Jersey, 512 p.
กลับไปที่เนื้อหา
เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ คือเหตุการณ์ที่สิ่งมีชีวิตหลายชนิด และจำนวนมากสูญพันธุ์ และเกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีการปรากฏอยู่บนโลก ในรูปฟอสซิล การทราบถึงว่ามีเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่เกิดขึ้นได้จากการศึกษาฟอสซิล ในชั้นหินที่มีอายุเรียงลำดับอายุกัน
ในมหายุคพาลีโอโซอิก เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่หลายครั้ง ครั้งใหญ่ที่สุดที่มีหลักฐานในปัจจุบัน คือ เหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เกิดในช่วงปลายยุคเพอร์เมียน ต่อกับยุคไทรแอสสิก
เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ที่เกิดในมหายุคพาลีโอโซอิก พบ 2 ครั้งคือ เกิดในช่วงปลายยุคออร์โดวิเชียน และปลายยุคดีโวเนียน
เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้ง ใหญ่ 5 ครั้ง ตั้งแต่ยุคแคมเบรียนจนถึงปัจจุบัน ช่วงเวลาที่แสดงโดยลูกศร บ่งบอกถึงการลดลงจำนวนสกุลของสัตว์ทะเล
ภาพจาก: http://higheredbcs.wiley.com/legacy/college/levin/0471697435/chap_tut/chaps/chapter12-01.html
กลับไปที่เนื้อหา
-
คลังวิดีทัศน์
ตอน เที่ยวหาความรู้ที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร
ตอน กำเนิดโลก
ตอน กำเนิดสิ่งมีชีวิต
ตอน มหายุคพาลีโอโซอิค (มหายุควิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตโบราณ)
ตอน มหายุคมีโซโซอิค (มหายุคแห่งสัตว์เลื้อยคลานและไดโนเสาร์)
ตอน รู้จักไดโนเสาร์ไทย
ตอน สัตว์เลื้อยคลานแบบไหนเรียกว่าไดโนเสาร์
ตอน ภูน้ำจั้นแหล่งปลาโบราณ
-
คำที่เกี่ยวข้อง