เอกสารอ้างอิง
กรมทรัพยากรธรณี (2544) ธรณีวิทยาประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542, กรุงเทพฯ, 566 หน้า.
แหล่งเรียนรู้เหมืองทอง
- 1. การแนะนำ
- 2. ตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้
- 3. ที่ตั้ง
- 4. ประวัติการใช้ทองของมนุษย์
- 5. แหล่งทองในประเทศไทย การเกิดแหล่งแร่ทองและการทำเหมืองแร่ทอง
- 6. ศัพท์เกี่ยวกับทองของชาวบ้านบริเวณเขาสามสิบ
- 7. สมบัติของทองและการนำทองไปใช้ประโยชน์
- 8. ทำไมมนุษย์จึงนำทองไปเป็นเครื่องประดับ
- 9. ทำไมทองจึงเหมาะสมต่อเทคโนโลยีในปัจจุบัน
- 10. เกี่ยวกับทองในปัจจุบันและราคาทอง
- - ทุกหน้า -
แหล่งแร่ทองคำที่สำคัญ จากการตรวจพบของกรมทรัพยากรธรณี ในพื้นที่จังหวัดในภาคตะวันออก บ้านบ่อนางชิง ได้ก่อตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อประมาณ 300 ปีที่ผ่านมา ในระยะเริ่มแรกมีชาวบ้านซึ่งเป็นพี่น้องกันอพยพมาตั้งถิ่นฐานอาศัย ประมาณ 10 ครอบครัว โดยสมัยนั้นสภาพทางภูมิศาสตร์ยังเป็นป่าดงดิบมีสัตว์ป่ามากมายหลายชนิดอาศัย อยู่ จากความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากร มีการเข้ามาค้าขายเกิดกิจการด้านเศรษฐกิจมากมาย จากหลักฐานที่พบทำให้ทราบว่า ในอดีตนั้นชาวต่างชาติได้เข้ามาทำเหมืองทอง ในบริเวณบ้านบ่อนางชิง ซึ่งสามารถสังเกตได้จากหลักฐานต่าง ๆ อาทิเช่น โบกี้รถไฟ โครงกระดูก และอุปกรณ์เครื่องมือในการขุดทอง
กลับไปที่เนื้อหา
แหล่งทองเขาสามสิบ เป็น หนึ่งในหลายแหล่งทรัพยากรทอง ของประเทศ ที่มีประวัติการค้นพบ และการนำทองจากพื้นที่ มาใช้ประโยชน์อย่างยาวนาน จากสื่อวิดีทัศน์ และเนื้อหา นอกจากจะกล่าวถึง ทอง ซึ่งเป็นแร่โลหะที่มีค่า สำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอน ตามตัวชี้วัด ม. 2 (5) “ตรวจสอบ และอธิบายลักษณะทางกายภาพของแร่ และการนำไปใช้ประโยชน์” แล้ว ยังกล่าวถึงทองคำ ในด้าน ประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐศาสตร์ และราคาของทองคำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราคาทองที่ตกอย่างมาก ที่เกิดขึ้นใน กลางเดือนเมษายน 2556 นี้
ลำดับหัวข้อของเนื้อ หา และหัวข้อของสื่อวิดีทัศน์ เปรียบเทียบได้ดังนี้
เนื้อหา |
สื่อวิดิทัศน์ |
1) ที่ตั้ง |
การเดินทางสู่แหล่งทองเขาสามสิบ |
2) ประวัติการใช้ทอง ของมนุษย์ |
การหาทองในอดีต |
3) แหล่งทอง ในประเทศไทย การเกิดแหล่งแร่ทอง และการทำเหมืองแร่ทอง |
อุปกรณ์สำหรับการขุดหาแร่ทอง ลักษณะของชั้นตะกอนที่มีแร่ทองปนอยู่ และการหลอมทอง |
4) ศัพท์เกี่ยวกับทอง ของชาวบ้านบริเวณ เขาสามสิบ |
หินกาบแก้ว ตัวบ่งชี้ในการหาทอง |
5) สมบัติของทอง และการนำทองไปใช้ประโยชน์ |
ทองโลหะที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และดูอย่างไรว่าเป็นทอง |
6) เกี่ยวกับทองในปัจจุบัน และราคาทอง |
สามารถดูเนื้อหาเกี่ยวกับทองเพิ่มเติมได้จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=36&chap=4&page=chap4.htm
กลับไปที่เนื้อหา
การเดินทางสู่แหล่งทองเขาสามสิบ เริ่มจากอำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ใช้ทางหลวงหมายเลข 33 เมื่อถึงบริเวณบ้านห้วยโจด ใช้ทางหลวงหมายเลข 3197 (บ้านห้วยโจด – บ้านบ่อนางชิง) รวมระยะทางทั้งสิ้น ประมาณ 25 กิโลเมตร บริเวณดังกล่าวเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านบ่อนางชิง ตำบลห้วยโจด อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งทองเขาสามสิบ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่บ้านบ่อนางชิง และพื้นที่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน และเขาสามสิบ
วีดิทัศน์ เรื่อง บทนำและการเดินทาง
กลับไปที่เนื้อหา
วีดิทัศน์ เรื่อง การขุดหาทองในอดีตบริเวณแหล่งทองเข้าสามสิบ
จากหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดี ทำให้เรารู้ว่ามนุษย์ในอดีต ประมาณ 6,000 ปีที่ผ่านมา (บางข้อมูลให้ข้อมูลว่ามนุษย์รู้จักการนำทองมาใช้ประโยชน์ถึง 8,000 ปีที่ผ่านมา) มนุษย์ในอดีตมีความรู้สามารถนำทองมาใช้ประโยชน์ ดังสรุปประวัติการใช้ทองของมนุษย์ดังนี้
ประมาณ 6,000 ปีที่ผ่านมา |
เกิดวัฒนธรรมบริเวณด้านตะวันออกของทวีปยุโรป เริ่มด้วยการนำทองไปเป็นเครื่องประดับ เชื่อว่าแหล่งวัฒนธรรมดังกล่าวนำทองมากจาก ทรานซิลวาเนียน แอลป์ หรือบริเวณเทือกเขา แพนจาเนียน ในเธรซ (Thrace เป็นชื่อพื้นที่ในอดีต ปัจจุบันคือพื้นที่ทางตอนใต้ของบัลแกเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรีซ และตุรกี) ประมาณ 5,600 ปีที่ผ่านมา ช่างหลอมอียิปต์ นำสินแร่มาหลอม เพื่อแยกทองออกมา เขาใช้ท่อเป่าลม เพื่อหลอมเศษสินแร่ทองที่ใส่ไว้ในเตาทนไฟ |
ประมาณ 5,000 ปีที่ผ่านมา |
บริเวณตอนใต้ของประเทศอิรัก มีการใช้ทองในการเครื่องประดับหลากชนิด หลากหลายรูปแบบ และรูปแบบดังกล่าวยังคงมีใช้อยู่ในปัจจุบัน “Ram in a Thicket” แปลได้ว่า แพะในพุ่มไม้ อายุประมาณ 4,600 – 4,400 ปีที่ผ่านมา รูปแพะดังกล่าวขุดได้ในหลุมฝังศพกษัตริย์โบราณ ตอนใต้ประเทศอิรัก เรียกหลุมศพดังกล่าวว่า “Great Death Pit” รูปแพะในพุ่มไม้ มี 1 คู่ แต่แยกกันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ และรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐฯ ส่วนหัว และขา ของแพะ และต้นไม้ปิดด้วยทองคำแผ่น |
ประมาณ 4,500 ปีที่ผ่านมา |
เครื่องประดับทอง ฝังในหลุมศพ กษัตริย์ Djer บริเวณ Abydos กษัตริย์องค์แรกของราชวงค์อียิปต์ |
ประมาณ 3,500 ปีที่ผ่านมา |
ในสมัยนั้นมีการค้นพบทองในพื้นที่หลายพื้นที่ของ นูเบีย การค้นพบดังกล่าวทำให้อาณาจักรอียิปต์ ร่ำรวย ทองกลายเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศ |
ช่วงเวลา 3,513 – 3,213 ปีที่ผ่านมา |
ช่างชาวอียิปต์ นำทองมาตีให้เป็นแผ่น เพื่อเพิ่มความหลากหลายในการใช้ประโยชน์ นำโลหะอื่นๆ มาหลอมกับทอง (โลหะผสม) เพื่อเพิ่มความแข็ง และสี นอกจากนี้ ช่างฝีมือได้พัฒนาการหล่อทองจากการละลายและแทนที่ขี้ผึ้ง สำหรับการพัฒนาความหลากหลายของเครื่องประดับ ปัจจุบันวิธีการหลอมทองดังกล่าวยังเป็นที่นิยม ในวงการเครื่องประดับ |
ประมาณ 3,236 ปีที่ผ่านมา |
ช่างชาวอียิปต์โบราณ สามารถนำทอง มาสร้างเป็นหน้ากากปิดหน้าศพ ฟาโรห์ ตูตันคาเมน |
ประมาณ 3,100 ปีที่ผ่านมา |
ในประเทศจีน มีการใช้ทองทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายกับตัวแทนในการแลกเปลี่ยน |
เรื่องในตำนาน เมื่อประมาณ 2,963 ปีที่ผ่านมา |
เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อว่า ราชินีแห่งชีบา จากเยเมน มอบทอง 2,500 กิโลกรัม ให้กับกษัตริย์โซโลมอน แห่งอิสราเอล ทำให้กษัตริย์โซโลมอน มีทองในพระคลัง 5,700 กิโลกรัม กษัตริย์โซโลมอน ใช้ทองคำของเขาสร้างพระวิหารทอง (พระวิหารทองคำโซโลมอน เป็นชื่อพระวิหาร ที่มีการกล่าวในคัมภีร์ฮีบรู เรื่องดังกล่าวไม่ได้รับการยืนยันจากนักโบราณคดี) |
2613 ปีที่ผ่านมา |
พบหลักฐานการใช้ทองในทางทันตกรรม จากอารยธรรมอีทรัสคัน (Etruscan, อิตาลีโบราณ) โดยการเพิ่มความแข็งแรงให้ฟันที่มีชื่อเรียกว่า “การครอบฟัน แบบอีทรัสคัน, Etruscan dentral crowns หรือ bridges” เนื่องจากโลหะผสมทอง มีสมบัติที่ร่างกายไม่ต่อต้าน มีความคงทน ซึ่งยังคงมีการใช้โลหะผสมทองอยู่ในวงการทันตแพทย์ปัจจุบัน |
ประมาณ 2,570 ปีที่ผ่านมา |
มีการสร้างเหรียญทองขึ้นเป็นครั้งแรก ทองได้จากเหมืองไลเดีย (Lydia) ประเทศเอเซียไมเนอร์ (ปัจจุบัน พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในประเทศตุรกี |
ประมาณ 2357 ปีที่ผ่านมา หรือ |
จักรพรรดิ์ อเล็คซานเดอร์ มหาราช (กษัตริย์กรีก และลูกศิษย์อริสโตเติล) รุกรานดินแดนเอเซียไมเนอร์ ภายใต้การปกครองของอณาจักรเปอร์เชีย หลายครั้ง และท้ายสุดก็สามารถครอบครองอณาจักรเปอร์เชียได้สำเร็จ และยึดทองจำนวนมหาศาล (3,000 talents) จากอณาจักรเปอร์เชีย |
พ.ศ. 234 |
มีการสังคยานาพระพุทธศสนาครั้งที่ 3 ในประเทศอินเดีย โดยพระโมคคลีบุตรติสสเถระ มีการส่งคณะฑูตไปยัง “สุวรรณภูมิ” หมายถึงพื้นที่ที่รวมประเทศไทยเข้าไปด้วย |
ประมาณ ปี 2313 ที่ผ่านมา หรือประมาณ พ.ศ. 240 |
ชาวกรีก และชาวยิว ได้ทดลองพยายามเปลี่ยนโลหะธรรมดาให้เป็นทอง |
พ.ศ. 325 – 341 |
ระหว่างสงครามพูนิก (Punic war) ครั้งที่ 2 โรมันได้ครอบครองพื้นที่ทำเหมืองของสเปน และได้ทำเหมืองทองจากตะกอนกรวด และจากหินแข็ง |
พ.ศ. 485 |
หลังจากจูเลียส ซีซาร์ ชนะสงครามกับกอล (Gaul) เขาได้ทองเพียงพอที่จะให้ทหารของเขาคนละ 200 เหรียญ และจ่ายหนี้ต่างๆ ของกรุงโรม (พื้นที่ กอล ในปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส) |
พ.ศ. 493 |
กรุงโรม ใช้เหรียญทองเรียกว่า ออริอัส (Aureus) |
พ.ศ. 843 |
ชาวโรมัน ใช้ทองเพื่อเปลี่ยนสีให้กับถ้วยไลเคอร์ จากการหลอมผงทองในแก้ว และกระจายทองขนาดเล็กให้ทั่ว (นาโนเทคโนโลยี) เมื่อแก้วกระทบแสงจะทำให้เกิดการเรืองแสงสีแดง |
พ.ศ. 1019 |
อณาจักรโรมันล่มสลาย โดยพวกโกธ (Goths) จักรพรรดิ์โรมันองค์สุดท้าย โรมิวรัส ออกัสตุส (Romulas Augustus) |
พ.ศ. 1143 - 1242 |
อณาจักรไบเซนไทน์ (คอนเตนติโนเปิล คือเมืองหลวง ตั้งอยู่บริเวณทะเลดำ ต่อเนื่องถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ได้ครอบครอง และทำเหมืองทอง ในยุโรปตอนกลาง และฝรั่งเศส พื้นที่ดังกล่าวไม่มีการครอบครองตั้งแต่อณาจักรโรมันล่มสลาย |
พ.ศ. 1285 - 1357 |
ชาร์เลอมาญ กษัตริย์แห่งอณาจักรแฟรงค์ (หรือฝรั่งเศสโบราณ) บุกรุก และปล้นชาวเอวาร์ส (Avars) ได้ทองเป็นปริมาณมาก ทำให้เขาสามารถครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตก |
พ.ศ. 1609 |
ชาวนอร์แมน (ชนเผ่าที่อยู่บริเวณตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส) ได้ปกครองประเทศอังกฤษ ได้แบ่งหน่วยเงินอังกฤษ หรือเงินปอนด์ ดังนี้ |
พ.ศ. 1792 – 1891 |
พระสุโขทัยไตรมิตร หรือพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร เชื่อว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญที่สร้างในสมัยกรุงสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หล่อด้วยทองคำทั้งองค์ หนัก 5.5 ตัน |
พ.ศ. 1827 |
ในเมืองเวนิส มีการนำเหรียญทองดูแคต (the Ducat Gold) มาใช้ เหรียญทองดังกล่าวเป็นที่นิยมในการแลกเปลี่ยนสินค้าทั่วยุโรป |
พ.ศ. 1843 |
ระบบรับรองคุณภาพทองเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการตอกตัวอักษร และหมายเลขบนทอง ระบบดังกล่าวเริ่งที่ Goldsmith’s Hall ในกรุงลอนดอน ซึ่งสำนักงานประเมินคุณภาพลอนดอน ยังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ในรูปบริษัท |
พ.ศ. 1913 – 1963 |
แหล่งทองหลักในประเทศยุโรป มีปริมาณทองลดลงมาก การทำเหมือง และผลผลิตทองลดลงอย่างมาก ช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า “ช่วงเวลาที่ขาดทองแท่งครั้งใหญ่” |
พ.ศ. 1965 |
เหรียญทองดูแคต ของโรงกระษาปณ์ เมืองเวนิส จำหน่ายได้ 1.2 ล้านเหรียญทองดูแคต ใช้ทอง 4.26 ตัน ทองที่ใช้มาจากทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย |
พ.ศ. 2043 |
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระมหากษัตริย์องค์ที่ 10 แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้หล่อพระศรีสรรเพชญดาญาน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน สูง 16 เมตร พระพักตร์ กว้าง 1.5 เมตร ยาว 2 เมตร พระอุระกว้าง 5.5 เมตร แกนในเป็นทองสำริด หนัก 3,480 กิโลกรัม และหุ้มด้วยทองคำ หนัก 171 กิโลกรัม ในการเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 พม่าได้ลอกทองคำไปหมด |
พ.ศ. 2054 |
กษัตริย์ เฟอดินันท์ ของประเทศสเปน ประกาศแก่ผู้สำรวจของเขา ในการเดินทางไปทวีปอเมริกาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนว่า “ให้เอาทองมา ทำอย่างมนุษย์ถ้าสามารถทำได้ แต่ด้วยอันตรายใดๆก็ตาม จงเอาทองมา” หลังจากนั้นภายในเวลา 1 ปี อารยธรรมของชาวอินคา (ชนพื้นเมืองที่เคยอยู่ในประเทศเปรู) และชาวแอซเท็ก (ชนพื้นเมืองที่เคยอยู่ในประเทศแมกซิโก) ถูกทำลายโดยคณะสำรวจชาวสเปน หรือสเปนผู้บุกรุก |
พ.ศ. 2243 |
มีการค้นพบทองในประเทศบราซิล ในปี พ.ศ. 2263 มีการนำทองจากบราซิลในปริมาณมากที่สุดในโลก หรือ 2 ใน 3 ของปริมาณทองที่ซื้อขายในตลาดในปีนั้น |
พ.ศ. 2260 |
อังกฤษ ใช้มาตรฐานทองคำอย่างเป็นทางการ โดยอ้างอิงค่าเงินกับทองคำ เป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ (กำหนดราคาที่โรงกะษาปณ์ ว่า ทอง 1 ออนซ์ มีค่าเท่ากับ 77 ชิลลิง 10.5 เพนนี) |
พ.ศ. 2306 |
ศาสตราจารย์ ลูจี บรัคนาติลี จากมหาวิทยาลัยพาเวีย ประสพความสำเร็จในการชุบโลหะด้วยทองโดยใช้กระแสไฟฟ้า การชุบโลหะทองเป็นการเพิ่มความสามารถในการเป็นตัวนำไฟฟ้าของโลหะ ผลการทดลองของเขาเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีจนมาถึงปัจจุบัน |
พ.ศ. 2381 |
จอห์น มาร์แชล พบเกล็ดทองในขณะที่กำลังสร้างสระว่ายน้ำใกล้กับซาคราเมนโต แคลิฟอร์เนีย หลังจากข่าวแพร่ออกไปทำให้เกิดการตื่นทองครั้งใหญ่สุด นักแสวงโชค 40,000 คน ซึ่งมาจากทั่วโลก มุ่งหน้ามายังแคลิฟอร์เนีย |
พ.ศ. 2428 |
หลังจากมีการพบสินแร่ทอง ใกล้กับเมืองโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศแอฟริกาใต้ กลายเป็นแหล่งทองคำ คิดเป็น 40 % ของทองที่มีในโลก |
พ.ศ. 2413 – 2433 |
ประเทศใหญ่ๆ ทั่วโลก นอกจากประเทศจีน ปรับค่าเงินของตนกับมาตรฐานทองคำ ทำให้ระบบที่เคยอ้างค่าเงินกับโลหะสองชนิด (ทองและเงิน, bimetallism) มีการยกเลิกไป ใน พ.ศ. 2433 ประเทศสหรัฐอเมริกา ยอมรับมาตรฐานทองคำอย่างเป็นทางการ และให้คำรับรองว่า ประเทศสหรัฐจะกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนทองคำในอัตรที่คงที่ โดยให้สัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ที่ใช้มาตรฐานทองคำ |
พ.ศ. 2457 – 2462 |
มีการพักการใช้มาตรฐานทองคำ ในหลายประเทศ ขณะเกิดสงคราม โดยเฉพาะ ประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา |
พ.ศ. 2468 |
ประเทศอังกฤษ ได้นำมาตรฐานทองคำกลับมาใช้อีกครั้ง ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน และสามารถถ่ายถอนได้ สำหรับทองคำแท่ง 400 ออนซ์ แต่ไม่มีการแลกเปลี่ยนสำหรับเหรียญทองคำ |
พ.ศ. 2476 |
ในปี พ.ศ. 2472 เกิดเศรษฐกิจตกต่ำในสหรัฐอเมริกา ทั้งๆที่ผลผลิตทางการเกษตรดี ประชาชนไม่มีเงินซื้อ หุ้นของสหรัฐตกต่ำ เกิดความตื่นตระหนก และมีการกักตุนทองแทนเงินดอลดาร์ ที่เชื่อถือไม่ได้ เพื่อระงับ ไม่ให้เกิดการตื่นตระหนกในระบบธนาคาร ของประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2476 ประธานาธิบดี แฟรงคลิน เดลาโนโรสเวล (Franklin D. Roosevelt) ประกาศการพักชำระหนี้ เรียกคืนเหรียญทองทั้งหมด ให้ธนาคาร และบุคคล คืนทองใน อัตราการแลกเปลี่ยนทองคำ 20.67 เหรียญต่อออนซ์ และห้ามไม่ให้ประชาชน และเอกชน ถือครอง เหรียญทองคำ ทองคำแท่ง และเอกสารในการรับรองกรรมสิทธิ์ทองคำ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2447 – 2514 สหรัฐเพิ่มอัตรแลกเปลี่ยน เป็น 35 เหรียญ ต่อทอง 1 ออนซ์ ในปี พ.ศ. 2517 สหรัฐอเมริกาประกาศให้คนเป็นเจ้าของทองได้ |
พ.ศ. 2482 - 2488 |
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตลาดทองคำลอนดอน หยุดการซื้อขาย ในช่วงนี้อัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงินเทียบกับดอลลาร์ สหรัฐ และนำดอลลาร์สหรัฐ แลกเป็นทอง |
พ.ศ. 2487 |
การประชุมเบรดตันวูดส์ เป็นการประชุมนานาชาตฺเพื่อตกลงระบบการเงินของโลกหลังจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ กำหนดคงที่ ในอัตรา 35 ดอลลาร์ ต่อ 1 ออนซ์ของทอง (เกิดมาตรฐานอัตราแลกเปลี่ยนทองคำ) นอกจากนี้ผลการประชุมครั้งนี้ ทำให้เกิด กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank หรือธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา) |
พ.ศ. 2504 |
ที่ห้องปฎิบัติการของบริษัทเบล ของสหรัฐได้นำทองทำเป็นลวดเชื่อม ในไมโครซิพ ในปัจจุบันมีการนำความรู้ดังกล่าวไปผลิตเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ มากมาย |
พ.ศ. 2504 |
การส่งจรวดไปยังอวกาศ มีการใช้ทองเพื่อป้องกันอุปกรณ์จากการแผ่รังสี ในปี พ.ศ. 2523 มีการใช้ทอง 41 กิโลกรัม ในการสร้างกระสวยอวกาศ โดยการทำเป็นโลหะผสม ในเซลเชื้อเพลิง และตัวเชื่อมวงจรต่างๆ |
พ.ศ. 2510 |
ประเทศแอฟริกา ผลิตเหรียญทองครูเจอร์แรนด์ (Krugerrand) สำหรับคนทั่วไป เหรียญทองที่โดดเด่นนี้ มีวัตถุประสงค์ที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงิน |
พ.ศ. 2514 |
ประธานาธิบดี นิกสัน ของสหรัฐอเมริกา ประกาศระงับอัตราการแลกเปลี่ยนดอลลาร์ กับทองที่คงที่ หลังจากนั้นอัตราการแลกเปลี่ยนทองเข้าสู่ระบบลอยตัว |
พ.ศ. 2526 |
การรวมกลุ่มของสมาคมค้าทอง โดยเริ่มต้นจากร้านค้าทองบริเวณเยาวราช ได้กำหนดมาตรฐานเปอร์เซนต์ทองคำ 96.5 % ทั้งประเทศ (ส่วนผสมที่เหลือเป็นโลหะเงิน และทองแดง) และรับประกันราคารับซื้อทองรูปพรรณ |
พ.ศ. 2528 |
ษริษัทผลิตยา SmithKline & French พัฒนายา ออรานโนฟิน (Auranofin) ซึ่งเป็นยาที่มีส่วนผสมของทอง ในการบำบัดโรคไขข้อรูมาตอยด์ ยาดังกล่าวได้รับการอนุมัติให้ใช้ และซื้อขายได้ครั้งแรก |
พ.ศ. 2542 |
ข้อตกลงของธนาคารกลางของกลุ่มประเทศยุโรป ตกลงว่าทองยังเป็นสินทรัพย์สำรองที่สำคัญ และกำหนดเพดานว่าจะขายทองออกสู่ตลาด ไม่เกิน 400 ตันต่อปี ในระยะเวลาต่อไปอีก 5 ปี |
พ.ศ. 2544 |
บริษัทบอสตัน ไซเอ็นติฟิก (Boston Scientific) ประสพความสำเร็จในการผลิต ขดลวดผสมทอง ไนโรยัล (Niroya) ที่ใช้ในการผ่าตัดหัวใจ การใส่ขดลวดดังกล่าวเข้าไปในหลอดเลือดแดงใหญ่ และเส้นเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจดีมากขึ้น |
พ.ศ. 2545 |
ในปี พ.ศ. 2540 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ของประเทศ หลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน ได้ตั้งโครงการช่วยชาติ สามารถเรี่ยไรทอง และเงินเหรียญสหรัฐ ให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นทองคำ 13 ตัน และเป็นธนบัตร 10 ล้านเหรียญสหรัฐ |
พ.ศ. 2546 |
สมาพันธ์ทองโลกเปิดตลาดทองแบบใหม่ โดยการนำ ทอง 18 กะรัต (18 K) ในการทำเป็นเครื่องประดับในจีน เครื่องประดับจะมีสีขาว และสีเหลืองทอง โดยการออกแบบของช่างออกแบบอิตาลี |
พ.ศ. 2547 |
กองทุน SPDR เป็นกองทุนซื้อขายทองคำ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค สิงคโปร์ แมกซิโก ญี่ปุ่น และฮ่องกง กองทุนดังกล่าวสามารถมีทรัพย์สินได้มากกว่า 55 พันล้านเหรียญ ในการบริหารในเวลา 6 ปี |
พ.ศ. 2552 |
ธนาคารกลาง ได้ซื้อทอง เป็นครั้งแรกในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา และการขายทองจากธนาคารยุโรป อย่างช้าๆ และการซื้อทองจากตลาดต่างๆ ในประเทศอื่นๆ |
พ.ศ. 2553 |
ค่าเงินสกุลต่างๆ หลายประเทศไม่มีเสถียรภาพ จากความกลัวเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ และเกิดวิกฤตทางการเงินของหลายประเทศ ในขณะเดียวกันราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นตลอดทั้งปี |
พ.ศ. 2554 |
มีการใช้ทองในระบบแคตาลิสต์ คอนเวอร์เตอร์ เพื่อควบคุมการปล่อยแก๊สพิษจากท่อไอเสีย ของรถดีเซลที่ผลิตในประเทศยุโรป |
พ.ศ. 2556 |
ราคาทองคำตกมาก ในช่วงกลางเดือนเมษายน 2556 ทำให้ราคาทองในประเทศ 1 บาทมีราคาต่ำกว่า 20,000 บาท (ราคาทองคำแท่ง 96.5 % ร้านรับซื้อ 18,900 บาท ขาย 19,000 บาท) |
หมายเหตุ
ข้อมูลด้านตัวเลขของเวลาที่อ้างถึงจากแต่ละแหล่งข้อมูลต่างๆ มักไม่เท่ากัน แต่ในการสรุปเรื่องประวัติการใช้ทองของมนุษย์นี้ นำมาจาก http://www.nma.org/pdf/gold/gold_history.pdf และ http://www.gold.org/about_gold/story_of_gold/heritage/
กลับไปที่เนื้อหา
วีดิทัศน์ เรื่อง วิถีของชาวบ้านกับแหล่งทองเขาสามสิบ
ก่อนที่จะกล่าวถึงแหล่งทองที่พบในประเทศไทย เราควรเข้าใจภาพรวมของการเกิดทองในธรรมชาติ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
บริเวณเปลือกโลก พบว่ามีค่าเฉลี่ยของทองอยู่ 0.004 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งหมายความว่าทองจัดเป็นธาตุ หรือแร่ที่พบยากบริเวณพื้นโลก ทองที่พบในธรรมชาติจะกระจายตัวทั่วไปในปริมาณที่ไม่มาก มีเพียงบางบริเวณของเปลือกโลกเท่านั้นที่จะพบทองที่มากที่จะเป็นแหล่งแร่ทอง แหล่งแร่ทองอาจพบทองที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา แต่มีแหล่งแร่หลายบริเวณของโลก เช่นแหล่งแร่ทองชาตรี จังหวัดพิจิตร ที่ทองมีขนาดเล็กมากทั้งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาแล้ว ยังเกิดร่วมกับแร่เงินในลักษณะเหมือนกับอัลลอยด์ที่เรียกว่า อิเล็คตรัม โดยทั่วไปแหล่งทองที่มีทองสามารถมองเห็นด้วยตา เป็นแหล่งทองที่มีความสมบูรณ์สูง แต่มักมีปริมาณน้อย ในทางตรงกันข้ามแหล่งทองที่มีทองที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา เป็นแหล่งทองที่มีความสมบูรณ์ต่ำ แต่มักจะมีปริมาณสำรองที่มาก
เราพบทองที่เกิดในธรรมชาติ อยู่ 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
(1) มักเกิดอยู่ในสายแร่ควอตซ์ และอาจมีแร่ไพไรต์ หรือแร่ซัลไฟต์อื่นๆ สายแร่ควอตซ์มักตัดแทรกเข้าไปในหินชนิดอื่นๆ ส่วนมากสายแร่ควอตซ์ที่มีทองเกิดร่วมด้วยมักจะสัมพันธ์กับหินอัคนี และจะเป็นสายน้ำแร่ร้อน ลักษณะการเกิดทองดังกล่าว จะเรียกว่าแหล่งแร่ปฐมภูมิ (แหล่งแร่ปฐมภูมิ หมายถึง สินแร่ที่เกิดในช่วงเวลาเดียวกับการเกิดแหล่งแร่)
(2)มักเกิดเป็นก้อน แผ่น และไร (ขนาดเล็ก) ปนกับตะกอนชนิดอื่น และทองจะถูกพัดพามาไม่ไกลจากแหล่งต้นกำเนิด ลักษณะการเกิดทองแบบนี้เรียกว่า แหล่งทุติยภูมิ (แหล่งแร่ทุติยภูมิหมายถึง แหล่งแร่จะเกิดภายหลังการเกิดของสินแร่)
พื้นที่ทองคำในประเทศ
กรมทรัพยากรธรณี (2544) รายงานว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ศักยภาพเป็นแหล่งแร่ทองคำ 9 บริเวณ พบทั้งเกิดเป็นแร่ทองแบบปฐมภูมิ และแร่ทองแบบทุติยภูมิ ดังนี้
(1) บริเวณอำเภอเมือง อำเภอเชียงคาน และอำเภอปากชม จังหวัดเลย ต่อเนื่อง ไปถึง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย และอำเภอน้ำโสม อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดอุดรธานี
(2) บริเวณอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
(3) บริเวณอำเภอลอง และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ต่อเนื่องถึง อำเภอสบปราบ และอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอศรีสัชนาลัย – อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
(4) บริเวณอำเภอเมือง อำเภอแม่สาย และอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
(5) บริเวณอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ผ่านอำเภอบ้านบึง และอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ไปจนถึง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
(6) บริเวณอำเภอทับสะแก บางสะพาน และบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อเนื่องไปถึง อำเภอประทิว และอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
(7) บริเวณอำเภอสุคิริน แว้ง และระแอะ จังหวัดนราธิวาส และบริเวณตอนใต้ของ จังหวัดยะลา
(8) บริเวณอำเภอสังขละบุรี ทองผาภูมิ และไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และ
(9) บริเวณอำเภอเมือง อำเภอวังโป่ง และหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอโคกสำโรง และอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี”
แหล่งทองในประเทศที่มีการทำเหมือง
ปัจจุบันในประเทศมีการทำเหมืองทอง อยู่ 2 เหมือง ในแหล่งทองชาตรี จังหวัดพิจิตร และแหล่งทองภูทับฟ้า จังหวัดเลย
แหล่งทองชาตรี
แหล่งทองชาตรี เป็นแหล่งแร่ทอง – เงิน ตั้งอยู่ในเขต ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร บริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด เป็นบริษัทที่ได้รับสัมประทานการทำเหมือง ในปี พ.ศ. 2544
แหล่งทองชาตรีเป็นแหล่งประฐมภูมิ แร่ทองเกิดร่วมกับเงิน แบบอิเลคตรัม ในสายแร่ควอตซ์ และคาร์บอเนต ที่เกิดตัดเขาไปในหินภูเขาไฟ และหินชิ้นภูเขาไฟ ปริมาณเฉลี่ย ของแร่ทอง คือ 2.6 กรัม และเงิน 13.3 กรัม ต่อหินที่มีแร่ 1 ตัน
แหล่งทองภูทับฟ้า
แหล่งทองภูทับฟ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย บริษัททุ่งคำ จำกัด เป็นบริษัทที่ได้รับสัมประทานการทำเหมือง และเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549
แหล่งทองในภูทับฟ้า เป็นแหล่งแร่ปฐมภูมิ โดยที่แร่ทองเกิดร่วมกับแร่เหล็กที่เกิดอยู่ในหิน หินที่มีแร่ทองคำปน ประเมินว่า มีอยู่ประมาณ 1 ล้านตัน และทองคำมีค่าความสมบูรณ์ ประมาณ ทองคำ 5 ตัน ต่อหิน 1 ตัน ทำให้มีการประเมินว่า ในแหล่งทองภูทับฟ้า จะมีทอง ประมาณ 5 ตัน
แหล่งทองทั้งสองแหล่ง ทำเหมืองแบบเหมืองเปิดโดยตักหินที่มีทองปนไปบดให้ละเลียด และแยกทองออกโดยกระบวนการที่ใช้สารละลายไซยาไนต์ ในการละลายทองออกจากหินที่บดจะนำไปแช่ในสารละลายไซยาไนต์ ต่อจากนั้นจะใช้ถ่านกัมมันต์ ทองคำ และเงินจะถูกดูดซับอยู่ที่ผิวถ่านกัมมันต์ หลังจากนั้นจะนำผงถ่านที่มีทอง หรือ ทองและเงินไปล้าง เผา เพื่อแยกโลหะออกมา
วีดิทัศน์ เรื่อง อุปกรณ์ที่ใช้ในการหาทอง
วีดิทัศน์ เรื่อง การหลอมทอง
กลับไปที่เนื้อหา
บริเวณบ้านบ่อนางชิง ตำบลห้วยโจด อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เป็นส่วนหนึ่งของ แหล่งทองเขาสามสิบ ด้วยหลักฐานเกี่ยวกับการทำเหมืองทองในอดีต (เช่น การพบบ่อขุดแร่เก่า โบกี้สำหรับขนเศษหิน และเบ้าหลอมทองคำเก่า) และคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ ทำให้เชื่อได้ว่า วัฒนธรรมเกี่ยวกับการหาทองคำบริเวณดังกล่าวซึ่งได้ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น มีวิธีการหาทองเฉพาะ และเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านบ่อนางชิง จนถึงปัจจุบัน วิธีการที่ชาวบ้านใช้ในการค้นหา แยกแร่ทอง รวมถึงการหลอมทอง เป็นวิธีที่ตรงกับหลักทางวิชาการ ความรู้เกี่ยวกับการหาทองของชาวบ้าน ได้จากการเรียนรู้จากประสพการณ์การหาทองโดยตรง จากรุ่นที่สืบทอดมายาวนาน
ภาษาเป็นหลักฐานที่สำคัญ เนื่องจากชาวบ้านบ่อนางชิง มีคำเฉพาะที่ใช้เรียกลักษณะแร่ ที่มีโอกาสพบ และไม่พบทอง นอกจากนี้ยังมีคำเรียกอุปกรณ์ เครื่องทุ่นแรง ที่ใช้ในการหาทองด้วย คำศัพท์เกี่ยวกับทองที่ชาวบ้านใช้ สรุปได้ดังนี้
ชั้นลูกร่อนบริเวณส่วนล่างของหลุมขุด
ชาวบ้านขุดลูกร่อน รวมไว้เพื่อนำไปแยกทอง
ลูกร่อน หมายถึง ตะกอนเศษหิน หรือชั้นกะสะ หรือ ชั้นตะกอนที่มีแร่ทอง ชาวบ้านจะทำการขุดดิน เมื่อถึงชั้นตะกอนที่ประกอบด้วยเศษแร่ควอตซ์น้ำนม และเศษหิน ชาวบ้านจะทราบว่าในชั้นดังกล่าวจะมีศักยภาพ ที่จะมีทอง ชาวบ้านจะตักตะกอนลูกร่อนนี้ขึ้นมา เพื่อนำมาแยกทองในขั้นตอนต่อไป
หินกาบแก้ว เป็น แร่ควอตซ์ สีขาวขุ่น เกิดเป็นก้อน ปนกับหินชนิดอื่นในลูกร่อน (พบทองเกิดในหินกาบแก้ว เช่นกัน) ถ้าพบหินกาบแก้วมาก โอกาสพบทองมีมาก และบางครั้งก็พบทองเกิดในหินกาบแก้ว
หินกาบแก้วสีน้ำหมาก เป็นแร่ควอตซ์สีขาวขุ่นที่มีออกไซด์ของเหล็กเกิดร่วมด้วย ถ้าพบหินกาบแก้วสีน้ำหมากมาก จะมีโอกาสพบทองมาก และบางครั้งก็พบทองเกิดในหินกาบแก้วสีน้ำหมาก
ทองที่เกิดในแร่ควอตซ์
ทองที่เกิดในแร่ควอตซ์สีน้ำนม และออกไซด์ของเหล็ก ชาวบ้านเรียกควอตซ์ดังกล่าวว่า หินกาบแก้วสีน้ำหมาก
กะบั้ง หรือบั้ง อุปกรณ์ร่อนทอง ของเดิมทำจากไม้ไผ่สานตาถี่ ปัจจุบันกลึงจากไม้ (เรียง) ชาวบ้านใช้บั้ง ในขั้นตอนการหาทองดังนี้
1) ใช้ในการสุ่มตรวจชั้นลูกร่อนว่า มีโอกาสที่จะมีทองหรือไม่ โดยการนำลูกล่อนที่ขุดพบมาทำการร่อน หรือใช้ร่อนหาทองตามตะกอนท้องน้ำ
2) ใช้ ในการร่อนลูกร่อนที่ผ่านการแยกเศษหินออกไปแล้ว จากโล๊ะ หรือหาทองที่ติดอยู่ในโล๊ะ
กะบั้งเดิมทำจากไม้ไผ่สานตาถี่
ชาวบ้านปัจจุบันใข้ กระบั้ง หรือเรียงที่กลึงจากไม้
โล๊ะ เป็นอุปกรณ์ในการแยกทองออกจากตะกอนในปริมาณมาก ทำด้วยไม้ ที่พื้นมีลูกคั่น มีขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายสะดวก หลักการทำงานเช่นเดียวกับ พาลอง กล่าวคือจะนำลูกร่อนที่ขุดได้มาใส่รางโล๊ะที่เอียง ใช้คราดโกยลูกร่อน และใช้น้ำฉีด ทองจะตกสู่ส่วนล่างของโล๊ะ ขณะที่เศษหิน และตะกอนอื่นๆ จะไหลออกจากโล๊ะ
ลักษณะโล๊ะ ทำจากไม้เป็นรูปราง ด้านปลายมีขั้นไม้ ไว้กันทองหลุดจากโล๊ะขณะใช้โล๊ะกู้ทอง
ตั้งโล๊ะให้เอียงเล็กน้อย ใส่ลูกร่อน (ตะกอนที่ขุดได้) ลงไปในโล๊ะ ใช้น้ำฉีดเพื่อแยกทองให้ตกอยู่ส่วนล่างของโล๊ะ
ความยาว และความลาดเอียงของโล๊ะ ที่พบในพื้นที่เขาสามสิบ ชาวบ้านจะตั้งไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นกับความชำนาญ และอุปกรณ์ที่ชาวบ้านมี การทำโล๊ะให้ยาวขึ้นจะเพิ่มประสิทธิภาพในการแยกทองให้ดีขึ้น แต่จะทำให้เคลื่อนย้ายไม่สะดวก
ไร เป็นชื่อบอกรูปร่างขนาดทองที่ชาวบ้านร่อนได้โดยทั่วไป คล้ายกับ เกล็ดเล็กๆ ถ้าพบทองขนาดใหญ่ แบนๆ อาจเรียกเป็นเกล็ด และเรียกเป็นก้อนถ้าพบขนาดใหญ่ขึ้น ลักษณะของทองที่พบในชั้นลูกร่อน หรือชั้นตะกอน เป็นหลักฐานที่แสดงถึงแหล่งทองเขาสามสิบบางส่วนเกิดเป็นแหล่งทุติยภูมิ
ทองขนาดต่างๆ ที่พบบริเวณแหล่งทองเขาสามสิบ
วีดิทัศน์ เรื่อง สิ่งที่บ่งชีว่าจะพบทอง
อ้างอิงจาก
ภาพกะบั้ง จาก http://www1.mod.go.th/heritage/nation/oldcity/sakaeo10.htm
กลับไปที่เนื้อหา
วีดิทัศน์ เรื่อง ทองโลหะที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์
ทอง เป็นทั้งแร่ และธาตุ มีเลขอะตอม 79 และมีสัญลักษณ์เคมี เป็น Au Au มาจากภาษาละตินจากคำว่า “Aurum” หมายถึงแสงระยิบระยับแห่งรุ่งอรุณ
สมบัติทางกายภาพ
ทอง มีรูปผลึกอยู่ในระบบสามแกนเท่า แต่ในธรรมชาติพบรูปผลึกทองได้ยากมาก ส่วนมากจะพบผลึกทองในแบบทรงแปดหน้า ทองเป็นแร่ที่มีความแข็งน้อย (H = 2.5 – 3 ตามมาตราโมส์) ค่าความถ่วงจำเพาะของทองสูงมาก เมื่อบริสุทธิ์ จะมีค่า 19.3 ค่าความถ่วงจำเพาะของทองจะลดลงหากมีโลหะอื่นๆ เจือปน ทองสามารถทำให้เสียรูปได้ง่าย แต่มีความเหนียวมาก ทองจะเป็นแร่ทึบแสงที่มีความวาวโลหะ ทองมีสีอยู่ในโทนสีเหลืองที่แปรเปลี่ยนไปขึ้นกับมลทินของโลหะอื่นที่ปนอยู่ในทอง ทองเป็นโลหะที่มีจุดหลอมเหลว 1,064 oC และสามารถดึงให้เป็นเส้นยาวและตีให้เป็นแผ่นบางๆ ได้ดี
สมาคมค้าทองคำในประเทศ กำหนดความบริสุทธิ์ ทอง 96.5 % เป็นมาตรฐานทองในประเทศ และโลหะที่นิยมผสม คือ เงิน และทองแดง เหตุที่กำหนดความบริสุทธิ์ เช่นนี้เนื่องจากการนำโลหะอื่นไปผสมทองจะทำให้ทองมีความแข็ง และมีการทรงรูปได้ดีขึ้น สามารถนำทองดังกล่าวไปทำชิ้นงาน (เครื่องประดับ) ได้สะดวก
สมบัติทางเคมี
ทองจัดเป็นโลหะทรานสิชั่น มีชื่อเรียกว่า เป็นกษัตริย์ของโลหะ เป็นธาตุที่มีเสถียรภาพในสภาพแวดล้อมมาก และยังคงทนต่อสารเคมีทั่วไปได้ดี ทองจะละลายได้ในกรดกัดทอง (aqua regia, เตรียมได้โดยผสมกรดไนตริก เข้มข้น 1 ส่วนโดยปริมาตร กับกรดเกลือ เข้มข้น 3 ส่วนโดยปริมาตร) ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแสดงได้ดังสมการ
Au (s) + 3 HNO3 (aq) + 4 HCl (aq) ---> HAuCl4 (aq) + 3 NO2 (g) + 3 H2O (l)
ในการหลอม และเชื่อมทอง มักนิยมใช้น้ำประสานทอง หรือบอแรกซ์ เพื่อลดจุดหลอมตัวของทอง ในการแยกทอง ปัจจุบันยังมีชาวบ้านใช้ปรอท ในการการแยกทองขนาดเล็ก (ขนาดฝุ่น) เนื่องจากปรอทสามารถทำปฏิกิริยากับโลหะหลายชนิด โดยเฉพาะทอง ทำให้เกิดอะมัลกัม วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีที่ง่าย และมีประสิทธิภาพในการแยกทอง แต่กระบวนการเผาเพื่อไล่ปรอท ให้เหลือแต่ทอง ผู้เผาจะได้รับไอปรอทซึ่งเป็นพิษต่อสุขภาพ
ชาวบ้านใช้ปรอทใส่ลงไปในเรียง เพื่อทำให้เกิดอะมัลกัมผงทอง
การแยกทองโดยใช้ไฟเผาไล่ปรอท ให้กลายเป็นไอคงเหลือแต่ทอง
ทองและเงิน เป็นสารละลายของแข็งที่สมบูรณ์ และทองที่พบในธรรมชาติมักมีเงินเกิดปนอยู่ด้วย ทองที่มีเงินปน ตั้งแต่ 20 % ขึ้นไป เรียกว่า อิเล็คตรัม (electrum) ธาตุอื่นๆที่มักเกิดเป็นมลทินอยู่ในทอง คือ บิสมัส ตะกั่ว ดีบุก สังกะสี และกลุ่มธาตุแพลตินั่ม ความบริสุทธิ์ของทอง จะแสดงในรูป ส่วนในพันส่วน ทองที่เกิดในธรรมชาติส่วนมาก จะมีโลหะอื่นปนอยู่ประมาณ 10 % หรืออาจเขียนได้เป็น 900 หรือ 90.00 % เพราะเหตุนี้ทองคำบริสุทธิ์ จึงเขียนเป็น 99.99 %
วีดิทัศน์ เรื่อง ดูอย่างไรว่าเป็นทอง
การนำทองไปใช้ประโยชน์
สภาทองโลก (World Gold Council, http://www.gold.org) ได้รวบรวมข้อมูลการใช้ทอง แยกความต้องการทองออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องประดับ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มกองทุนต่างๆ และกลุ่มธนาคารกลางของประเทศต่างๆ มีตัวเลขดังนี้
ความต้องการทอง (หน่วยเป็นตัน)
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2556 ความต้องการทองทั้งหมด คิดเป็น 856.3 ตัน
- ความต้องการทองเพื่อทำเครื่องประดับ สูงขึ้น เป็นผลมาจากทองราคาตก ในช่วงกลางเดือนเมษายน ทำให้เกิดแรงซื้อจากผู้บริโภคทั่วไป
- จีน และอินเดีย เป็นประเทศที่ต้องการทองแท่ง และเหรียญทองคำมาก
- กองทุน และนักลงทุนต่างๆ ในกลุ่มประเทศตะวันตก เป็นกลุ่มผู้ขายทองให้แก่ผู้ซื้อในกลุ่มประเทศเอเซีย (กองทุน ETF ทองคำ เป็นกองทุนที่ขายทองออกมามากในช่วงเดือนเมษายน ที่ผ่านมา)
- ความต้องการทองในกลุ่มเทคโนโลยี อยู่ในระดับปกติ
หมายเหตุ
ราคาทองคำ ที่อ้างคือค่าเฉลี่ยของราคาทองคำ ที่เรียกว่า London PM fix คือราคาทองคำแท่ง 99.5% หนัก 1 ออนซ์ (31.1040 กรัม) ประกาศโดยบริษัทผู้ค้า 5 บริษัทของผู้ค้าทองคำแห่งลอนดอน
กลับไปที่เนื้อหา
1) ทองมีความคงทน สีไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เป็นสนิม แตกต่างจากโลหะประเภทอื่น นอกจากนี้สีทองเป็นสีที่คนส่วนมากชอบ
กลับไปที่เนื้อหา
ในโลกปัจจุบัน มีการนำทองไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเทคโนโลยีที่หลากหลาย เราได้ศึกษาทองและพบว่าทองมีสมบัติที่เด่นเฉพาะหลายประการ ในด้านการเป็นตัวนำความร้อน และตัวนำกระแสไฟฟ้าที่ดี และเมื่อบวกกับสมบัติที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ สมบัติที่สามารถดึงเป็นเส้นได้ และตีให้เป็นแผ่นบาง และสามารถผสมกับโลหะอื่นๆ ได้แล้ว ทองจัดเป็นโลหะสำหรับในเทคโนโลยีปัจจุบัน และในอนาคตเลยทีเดียว
ทองยังเป็นวัสดุ หรือวัตถุดิบที่สำคัญทางการแพทย์ เนื่องจากร่างกายมนุษย์ไม่ต่อต้านทอง ปัจจุบัน การนำทองทำเป็นยา และการใช้ทองในทันตกรรม เป็นเรื่องที่ยอมรับและใช้กันอย่างกว้างขวาง
นาโนเทคโนโลยี ในปัจจุบันต่างวิจัย และพัฒนาโดยทำการศึกษาเกี่ยวกับทอง เป็นอย่างมาก สมบัติของทองและการนำไปใช้ประโยชน์ จำแนกได้ดังนี้
1) ทองเป็นตัวนำที่ดี สมบัติในการเป็นตัวนำไฟฟ้า และความร้อนที่ดีของทอง ผสมกับสมบัติที่ทองมีเสถียรภาพ ไม่เป็นสนิม นี่คือสมบัติหลักที่ทำให้มีการนำทองไปใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็คโทรนิกอย่างกว้างขวาง การใช้ทองแดง และเงิน ในอุตสาหกรรมอิเล็คโทรนิก มีขีดจำกัดด้านความคงทน และการเกิดสนิม ด้วยเหตุผลนี้ จึงมีการใช้ทองในอุตสาหกรรมดังกล่าวอย่างกว้างขวาง
2) ทองเป็นโลหะที่มีความคงทน และเฉื่อยในการเกิดปฏิกิริยา สมบัติข้อนี้ทำให้ทอง เป็นวัสดุที่เหมาะสมที่ใช้ในการเคลือบผิว และเป็นตัวเชื่อมวงจรไฟฟ้า
3) ความสามารถในการตีให้เป็นแผ่นบาง เราสามารถตีทองให้เป็นแผ่นได้บางมาก โดยที่ไม่ทำให้ทองขาดจากกัน หรือทะลุ ทองคำ หนัก 31.1 กรัม สามารถตีให้เป็นแผ่นคลุมพื้นที่ 9 ตารางเมตร โดยแผ่นทองจะมีความหนา 0.000018 เซนติเมตร และแผ่นทองที่บาง 0.000013 เซนติเมตร แสงสามารถผ่านได้บ้าง สมบัติดังกล่าวของทอง ช่วยทำให้ทองเป็นวัสดุเคลือบกระจกชนิดพิเศษ
4) ความสามารถในการดึงทองให้เป็นเส้น เราสามารถดึงทอง หนัก 31.1 กรัม ให้เป็นเส้นโดยไม่ขาดได้ยาวถึง 80 กิโลเมตร โดยเส้นทองจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 5 ไมครอน (ประมาณเท่ากับขนาดใยแมงมุม) สมบัติดังกล่าวทำให้ทองสามารถนำไปทำเป็นเส้นบางๆ ใช้ในอุปกรณ์อิเล็คโทรนิก
5) ร่างกายมนุษย์ไม่ต่อต้านทอง ในวงการทันตกรรม มีการใช้ทองเป็นวัสดุในการครอบฟันอย่างยาวนาน นอกจากนี้ยังใช้ทองผลิตเป็นยา (บำบัดรักษาโรคไขข้อ) นอกจากนี้ยังใช้ไหมที่ทำจากทอง ในศัลยกรรมเสริมความงาม สิ่งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าร่างกายมนุษย์ไม่ต่อต้านทอง ในการศึกษาพบว่าทองสามารถยับยั้งการรวมกลุ่มของแบคทีเรีย ปัจจุบันมีการค้นคว้านำทองเพื่อใช้เป็นอวัยวะเทียม สำหรับร่างกายมนุษย์ เช่น ใช้ภายในหูชั้นใน
6) ใช้ทองเป็นแคตาลีสต์ แคตาลิสต์ คือวัสดุ หรือสารที่ช่วยเร่งให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี แต่ตัวมันเองจะไม่ถูกใช้ในการเกิดปฏิกิริยา ปัจจุบันมีรายงานการวิจัยอย่างกว้างขวาง ว่าทอง ขนาดเล็กมีสมบัติเป็นแคตาลิสต์ ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างหลากหลายในอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมผลิตยา และอุตสาหกรรมอาหาร( http://www.researchgate.net/...Catalytic...Au.../9fcfd512729cfb91...)
7) นาโนเทคโนโลยี ทองเมื่อมีขนาดเล็ก จะมีสมบัติที่แตกต่างจากทองที่เราเห็นกันทั่วไป เช่น สี ทองขนาดเล็กอาจมีอาจมีสีแดง หรือสีน้ำเงินขึ้นกับขนาดและรูปร่างของผงทองขนาดเล็กนั้นๆ การเปลี่ยนแปลงของสีเป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคทองขนาดเล็กกับแสง สมบัติดังกล่าวทำให้มีการใช้อนุภาคทองขนาดเล็กในการผลิตเครื่องมือตรวจการตั้งครรภ์ และบริษัท Pointcare Technologies ใช้อนุภาคทองในการเป็นดัชนีการตรวจวัด การพัฒนาของ HIV
หมายเหตุ
แปล และปรับปรุง จากบทความเรื่อง Why Gold (http://www.gold.org/technology/why_gold/
รายงาน จากองค์การอนามัยโลก เรื่อง HIV Assay Operational Characteristics จาก http://www.who.int/diagnostics_laboratory/publications/Report16_final.pdf
กลับไปที่เนื้อหา
ในปัจจุบัน (ปี 2556) ถ้าหากพูดเกี่ยวกับเรื่องทองแล้ว ไม่กล่าวถึงทำไมราคาทองจึงตกมากหลังจากคนไทยได้หยุดสงกรานต์ ในปี 2556 ราคาทองตกทำให้คนแห่มาซื้อทอง ดังในภาพ
ทำไมทองราคาตกในกลางเดือนเมษายน 2556 มีการวิเคราะห์ว่าทำไมราคาทองถึงตกในช่วงกลางเดือนเมษายน 2556 ผลการวิเคราะห์มีดังนี
ในวันที่ 12 เมษายน 2556 มีการเสนอขายทองในตลาดนิวยอร์กโคเมก (NY COMEX) เป็นจำนวน 400 เมตริกตัน
ผลดังกล่าวทำให้ราคาทอง จาก 1,564 เหรียญสหรัฐ ต่อออนซ์ เป็นราคาปิดตลาดในวันที่ 11 เมษายน 2556 ลดลงอย่างต่อเนื่อง ต่ำสุดในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เป็นราคา 1,183 เหรียญสหรัฐ ต่อออนซ์
สาเหตุราคาทองต่ำลง ในแนวคิดแบบผู้จัดการกองทุนทองต่างๆ
- ทองไม่ใช่สกุลเงิน ระบบการป้องกันราคาผันแปร อาจมีน้อยกว่าสกุลเงิน
- ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ อาจขายทองของตัวเอง
- อัตราเงินเฟ้อสูงมาก ประเทศจึงไม่มีความจำเป็นต้องเก็บทองไว้
- อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บทอง
- กำลังจะปิดงบ กองทุนจึงไม่มีความจำเป็นที่จะถือทองไว้
- การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บทองไว้
- ถ้าขายทองออกมากๆ ราคาทองในตลาดตกแน่ ถ้าทองราคาตกสามารถซื้อกลับได้ได้ในราคาที่น้อยกว่าตอนขายไป ทำให้เกิดกำไร
1) มูลค่าของ US ดอลลาร์
เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ถือครองทองมากที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้ราคาทอง จึงผูกกับค่าเงินสหรัฐอเมริกา ถ้าค่าเงินสหรัฐแข็ง ราคาทองคำจะต่ำ ในทางตรงกันข้ามถ้าค่าเงินสหรัฐอ่อน ราคาทองคำจะสูง เศรษฐกิจของสหรัฐ มีบทบาทต่อภาพใหญ่ของเศรษฐกิฐโลก ถ้าค่าเงินสหรัฐแข็ง ทั่วโลกจะซื้อ-ขาย ด้วยเงินดอลลาร์
ปัจจุบันเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มว่าจะฟื้นตัวจากวิกฤต ในอดีตคน และกองทุนต่างๆ ไปลงทุนในการถือครองทองแท่ง ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ จัดหาทองคำไว้เพื่อใช้เป็นกองทุนสำรองระหว่างประเทศ
2) การผลิตทองคำ การผลิตทองมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งจากการทำเหมือง และการถลุงทอง เป็นเหตุให้ราคาทองสูงขึ้นตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
3) ความต้องการทองสำหรับการทำเครื่องประดับมากขึ้น การใช้ทองเพื่อทำเป็นเครื่องประดับ (เช่น ทองรูปพรรณต่างๆ ในประเทศ) มีปริมาณ ประมาณ 50 % ของปริมาณทองที่ผลิตได้ โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชาวเอเชีย ในปี พ.ศ. 2547 ประชาชนชาวจีน ได้รับการอนุมัติให้สามารถเป็นเจ้าของทองแท่งได้
4) ปริมาณสำรองทองในธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ เก็บทองแท่ง เป็นหลักประกัน และใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันเงินเฟ้อ ประเทศที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ อาจถูกบังคับขายทองแท่งได้ โดยกระบวนการจากองค์กรทางการเงิน เช่น IMF
5) นโยบายทางการเงินของธนาคารกลาง ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยต่างๆ ส่งผลต่อราคาทอง เช่น ถ้าดอกเบี้ยต่ำ คนจะไม่นำเงินไปฝากธนาคาร แต่คนจะนำไปลงทุนด้านอื่น ทองคำ คือหนึ่งในตัวเลือกในการลงทุน ถ้าดอกเบี้ยสูง คนจะนำทองไปขาย และนำเงินไปฝากธนาคาร
อ้างอิงจาก
คนไทยแห่ซื้อทอง วันที่ 17 เม.ย. 56 (ภาพจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ)
ข่าว “ขายทิ้ง” คนขายคือกองทุนรวมต่างๆ ที่ขายทองทำให้ทองราคาตก (ภาพจากหนัสือพิมพ์คมชัดลึก 17 เมษายน 2556)
ข้อมูลสถิติการถือครองทองสำรอง ในปี 2555 สหรัฐมีทองคำสำรอง 8,133.5 ตัน (อันดับ 1 ของโลก) โดยที่เยอรมัน อันดับสอง มีทองสำรองเพียง 3,395.5 ตัน ขณะที่ประเทศไทย อยู่อันดับ 25 มีทองคำสำรอง 152.4 ตันเท่านั้น
กลับไปที่เนื้อหา
-
คลังวิดีทัศน์
ตอน บทนำและการเดินทาง
ตอน การขุดหาทองในอดีตบริเวณแหล่งทองเขาสามสิบ
ตอน วิถีชีวิตของชาวบ้านกับแหล่งทองเขาสามสิบ
ตอน อุปกรณ์ที่ใช้ในการหาทอง
ตอน ที่ดินที่มีทอง
ตอน การหลอมทอง
ตอน สิ่งที่บ่งชี้ว่าจะพบทอง
ตอน ทองโลหะที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์
-
แผนการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนแผนการสอนนางสาวทวีรัตน์ รัชตรุ่งโรจน์ โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม จ.พิจิตรผู้เขียนแผนการสอนนางสาวนฤมล หลายสุทธิสาร โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง จ.กรุงเทพผู้เขียนแผนการสอนนางสุนันทา ยมหล้า โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม จ.สระบุรีผู้เขียนแผนการสอนนางสาวสุกัญญา นาคะวงศ์ โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม จ.สระบุรีผู้เขียนแผนการสอนนายภูมินทร์ ลีพิพัฒนกุล โรงเรียนจอมทองผู้เขียนแผนการสอนนางเยาวเรศ สุริยะมล โรงเรียนจอมทอง
-
คำที่เกี่ยวข้อง