แหล่งเรียนรู้ละลุดินแดนมหัศจรรย์
- 1. การแนะนำ
- 2. ตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้
- 3. ที่ตั้งและภูมิประเทศ
- 4. หลุมยุบ
- 5. กำแพงดิน
- 6. กำแพงดิน
- 7. เสาดิน
- 8. ละลุกับหลักฐานการเกิดดิน
- 9. ลักษณะของชั้นตะกอนและขนาดตะกอน
- 10. ลักษณะเด่นของตะกอนชั้นล่าง
- 11. ลักษณะเด่นของตะกอนชั้นบน
- 12. ชั้นดินบริเวณละลุ
- 13. พื้นที่ดั้งเดิมบริเวณละลุ
- 14. ชั้นดินเดิมบริเวณละลุ
- 15. ป่าไม้ถูกทำลาย
- 16. การกร่อนจากฝนตกกระทบผิวดิน
- 17. ขั้นตอนการเกิดดินบริเวณละลุ
- 18. แบบจำลองการเกิดละลุ
- 19. ละลุและแบดแลนด์
- - ทุกหน้า -
ละลุ เป็นภาษาเขมร แปลว่า ทะลุ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแต่มีพื้นที่กว้างกว่า 2,000 ไร่ ละลุ เกิดจากน้ำฝนกัดเซาะยุบตัวหรือพังทลายของดิน เนื่องจากสภาพดินแข็งจะคงอยู่ไม่ยุบตัวเมื่อถูกลมกัดกร่อนจึงมีลักษณะเป็น รูปต่างๆ มองคล้ายกำแพงเมือง หน้าผา บ้างมีลักษณะเป็นแท่งๆ จึงทำให้ละลุมีความสวยงามและแปลกตาแตกต่างกันตามจินตนาการของแต่ละคน อะไร ซึ่งในทุกๆปี ละลุจะเปลี่ยนรูปร่างของมันไปเรื่อยๆ ตามแต่ลมและฝนที่ช่วยกันตกแต่งชั้นดิน และในบางพื้นที่ก็จะมีละลุที่ขึ้นอยู่กลาง พื้นที่ทำนาของชาวบ้านซึ่งสีน้ำตาลทองของละลุ ตัดกับสีเขียวสดของต้นข้าว เป็นสิ่งที่สวยงามมาก ที่หาดูไม่ได้ในกรุงเทพสวยจน ได้รับขนานนามว่าเป็น แกรนด์แคนยอนของเมืองไทย เลยทีเดียว
ละลุ ที่จังหวัดสระแก้วนี้จะมีลักษณะคล้ายกับ แพะเมืองผี ของจังหวัดแพร่ หรือ เสาดินนาน้อย (ฮ่อมจ๊อม) จ.น่าน บางคนก็จะเรียกว่า แพะเมืองผีแห่งใหม่ แต่ที่นี่จะมีละลุเยอะกว่าซึ่งจะมีละลุุกระจายกันอยู่เป็นจุดๆในพื้นที่ ประมาณ 2,000 ไร่ โดยจะแบ่งละลุออกเป็นโซนๆ ซึ่งแต่ละโซนก็จะมีละลุที่มีลักษณะสวยงามแตกต่างกัน สำหรับความเหมือนกันของ ละลุ แพะเมืองผี และเสาดินนาน้อยก็คือ ทั้ง 3 แห่งล้วนเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกจากการถล่มของหน้า ดิน ส่วนที่แข็งกว่าก็จะคงตัวอยู่ด้านบน ทำหน้าที่เป็นดังหมวกเหล็กคุ้มกันชั้น กรวดทรายที่อ่อนกว่าด้านล่าง โดยมีีลมและฝน ช่วยกันทำหน้าที่ศิลปินตกแต่งชั้นดินในเวลาล้านๆ ปี แปลกตาแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นรูป เจดีย์ ปราสาท ดอกเห็ด กำแพง หรือรูปอะไรก็สุดแท้ แต่ว่าคนที่มองจะจินตนาการเป็นรูป
กลับไปที่เนื้อหา
กลับไปที่เนื้อหา
ละลุ (1, 2 และ 3) ตั้งอยู่ในลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบระหว่างเขา พื้นที่ราบมีการเอียงเทเล็กน้อย ไปในทิศตะวันออกเฉียงใต้ เขาที่ล้อมรอบละลุ ทั้ง 3 ด้าน คือ
- เขาพรานนุช บริเวณทิศเหนือ
- เขาวง บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
- เขาทะลายบริเวณทิศตะวันตก
- เขาคันนาบริเวณทิศใต้
วีดิทัศน์เรื่อง ลักษณะภูมิประเทศ
กลับไปที่เนื้อหา
ละลุเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสระแก้ว ตั้งอยู่บริเวณ บ้านเนินขาม และบ้านคลองยาง ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
การเดินทางสู่ “ละลุ” จาก อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ใช้ทางหลวงหมายเลข 33 (ใหม่) หรือ AH-1 เมื่อเดินทางถึง อำเภอวัฒนานคร ใช้ทางหลวงหมายเลข 3198 ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 25 บริเวณบ้านช่องกล่ม ใช้ทางหลวงหมายเลข 3393 หรือ AH-121 เมื่อถึงหลักกิโลเมตรที่ 20.8 สามารถใช้ทางลัด ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ทางลัดดังกล่าวเชื่อม ทางหลวง 3393 และ ทางหลวงชนบท 4030 จากทางหลวงชนบท 4030 ให้เดินทางไปยังบ้านหนองผักแว่น (ตลอดเส้นทางที่กล่าวจะพบป้ายบอกทางไปถึงละลุ เป็นระยะ)
กลับไปที่เนื้อหา
วีดิทัศน์ เรื่อง หลุมยุบ



วีดิทัศน์ เรื่อง ปัจจัยที่ทำให้เกิดหลุมยุบ




กลับไปที่เนื้อหา
เสาดินที่พบบริเวณพื้นละลุมีลักษณะเป็นแท่งตรงสูงจากพื้น ความสูงส่วนมากจะน้อยกว่า 3 เมตร จากระดับพื้นของละลุเสาดินมีลักษณะการเกิดเช่นเดียวกับกำแพงดิน ชั้นตะกอนด้านบน ที่คงทนต่อการผุพังจากน้ำฝน ทำหน้าที่ป้องกันโครงสร้างของเสาดินผนังของหลุมยุบขนาดใหญ่ กร่อนเป็นบางส่วนเหลือเป็นกำแพงดิน และเสาดินชั้นตะกอนส่วนบน จะเป็นวัสดุที่ป้องการการกร่อนของเสาดิน หากชั้นดังกล่าวถูกกร่อน จะทำให้เสาดินถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เสาดินที่กร่อนอย่างมาก เป็นเสาเตี้ยๆ พบทั่วไปบริเวณพื้นละลุ วัสดุที่กร่อนจากเสาดิน ที่มีขนาดใหญ่ จะตกอยู่ใกล้ๆ กับเสาดิน ในขณะที่วัสดุขนาดเล็กซึ่งเบากว่า จะถูกพัดพาไปไกลจากเสาดิน ร่องรอยของเสาดิน และกำแพงดินที่หลงเหลือภายในพื้นละลุ ลำดับจากส่วนกลางใกล้ตาของภาพจะเห็นเป็นเนินดินเตี้ย เนินดังกล่าวประกอบด้วยตะกอนที่เคยเป็นส่วนประกอบของกำแพงดิน และเสาดิน
กลับไปที่เนื้อหา
วีดิทัศน์ เรื่อง ทำไมจึงชื่อ ละลุ
กรมทรัพยากรธรณี, 2554 รายงานลักษณะธรณีวิทยาของละลุ ว่าประกอบด้วยชั้นตะกอนที่ยังไม่แข็งตัว 4 ชั้น ที่โผล่ให้เห็น ความหนาของชั้นตะกอน รวมทั้งสิ้น 4.5 – 5 เมตร ดังแสดงในภาพการลำดับชั้นตะกอนบริเณละลุ
วีดิทัศน์ เรื่อง ชั้นตะกอนของละลุ
กลับไปที่เนื้อหา
ความสูงของผนังละลุ ในปี พ.ศ. 2555 ไม่เกิน 4 เมตร ดังนั้นชั้นตะกอนที่พบในบริเวณละลุ จึงประกอบด้วย ชั้นตะกอน 2 ชั้น โดยที่จะพบตะกอนชั้นล่างมากสุด และชั้นตะกอนวางตัวในแนวระดับ
วีดิทัศน์ เรื่อง ชั้นตะกอนของละลุ
ขนาดตะกอนทราย ทรายแป้ง และเคลย์ (ภาพขยายเปรียบเทียบขนาดเส้นผ่านศุนย์กลางของตะกอน 2, 0.05 และ 0.002 มิลลิเมตร ตามลำดับ)
กลับไปที่เนื้อหา
ก้อนคาร์บอเนต (สีขาว) และก้อน (เม็ด)ไลมอไนต์ เกิดกระจายตัวอยู่ทั่วไปในชั้นดังกล่าว ตะกอนชั้นล่างจะแตกระแหงเป็นรูปหลายเหลี่ยม เป็นผลมาจากแร่เคลย์ ที่เป็นองค์ประกอบหดตัว เม็ดเหล็กออกไซด์ หรือไลโมไนต์ ในบางครั้งถูกเชื่อมประสานโดยคาร์บอเนต เม็ด ไลมอไนต์ มีเนื้อพรุน สีน้ำตาล – น้ำตาลแดง – น้ำตาลเหลือง คล้ายสนิมเหล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง โดยทั่วไปประมาณ 0.5 เซนติเมตร
ก้อนคาร์บอเนต มีสีขาวอมเหลืองโดยทั่วไปมีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร มีรูปร่างไม่แน่นอน
กลับไปที่เนื้อหา
ตะกอนชั้นบนหรือดินชั้นบน มีลักษณะเด่นคือ ประกอบด้วยตะกอนดินเหนียวน้อย มีเศษซากพืช และรากไม้ ตะกอนชั้นบนเป็นชั้นที่อยู่บนสุด มีความหนาประมาณ 30 เซนติเมตร จากหลักฐานลักษณะของตะกอนชั้นบนที่พบบริเวณของผนังละลุ กำแพงดิน และเสาดิน บ่งบอกถึง ชั้นตะกอนดินด้านบนเป็นชั้นที่คงทนต่อการกร่อนมากกว่าตะกอนดินชั้นล่าง
ตะกอนชั้นบนหรือชั้นดิน เป็นตะกอนที่มีความหนาไม่มากนัก แต่เป็นชั้นที่ปกป้องไม่ให้ตะกอนชั้นล่างถูกกร่อนอย่างรวดเร็ว ตะกอนชั้นบน แสดงผลจากการกร่อนให้เป็นก้อนทรงเหลี่ยม ขณะที่ตะกอนชั้นล่างแสดงลักษณะเป็นร่องเล็กๆ จำนวนมาก ยาวขนานกัน
กลับไปที่เนื้อหา
จากหลักฐานที่พบจากการสังเกตลักษณะชั้นตะกอนชั้นบน และชั้นล่าง 2 ชั้น ที่พบ บริเวณผนังละลุ กำแพงดิน และเสาดิน สามารถสรุปได้ว่า ชั้นตะกอนที่พบบริเวณละลุ แสดงหลักฐานการเกิดดิน โดยมีชั้นตะกอนเป็นวัสดุต้นกำเนิดดิน ซึ่ง ตะกอนชั้นบน คือดินชั้น A หรือชั้นหน้าดิน และตะกอนชั้นล่าง เป็นดินชั้น B หรือเป็นชั้นดินที่มีการสะสมตัว
ดินชั้น A หรือชั้นหน้าดิน ประกอบด้วยตะกอนขนาดทราย และทรายแป้งเป็นหลัก ดินชั้นนี้ยังพบเศษรากพืช และรากของต้นไม้ ภายในดินชั้น A อนุภาคที่ละลายน้ำได้ และตะกอนขนาดเคลย์ จะถูกน้ำที่ไหลซึมผ่านชั้นนี้ พาไปยังชั้นดินชั้นล่าง (ดินชั้น A เทียบได้กับ ตะกอนชั้นบน)
วีดิทัศน์ เรื่อง ธรณีวิทยาของละลุ
กลับไปที่เนื้อหา
พื้นที่เดิมบริเวณละลุ เป็นพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยป่าไม้ (ป่าร้อน-ชื้น) ด้วยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ดังนั้นชั้นดินบริเวณนี้จะเกิดครบทุกชั้น และมีระดับพื้นดินสูงกว่าตำแหน่งปัจจุบัน
สภาพพื้นที่เดิมบริเวณพื้นที่ละลุ พื้นที่ปกคลุมด้วยป่าไม้ ในช่วงฤดูฝนบริเวณที่ต่ำอาจเกิดเป็นทะเลสาบ
กลับไปที่เนื้อหา
สภาพลักษณะชั้นดินเดิมบริเวณละลุ เชื่อว่าน่าจะเป็นชั้นดินคล้ายกับชั้นดินในอุดมคติ กล่าวคือ เป็นชั้นดินที่มีชั้นตะกอนทราย ชั้นทรายแป้ง และชั้นเคลย์เกิดสลับกัน อาจพบชั้นตะกอนกรวดเกิดแทรกบ้าง ดินมีการพัฒนาดีอย่างสมบูรณ์ (ตามทฤษฎีการกำเนิดดิน) ดังมีรายละเอียดดังนี้
พื้นที่หลายบริเวณในประเทศในอดีต รวมถึงพื้นที่บริเวณละลุ จากช่วงเวลามากกว่า 10,000 ปีที่ผ่านมา เชื่อว่ามี ชั้นดินที่พัฒนาเป็นไปตามลักษณะของชั้นดินในอุดมคิต กล่าวคือ
1) ดินชั้น O เป็นชั้นดินที่ประกอบด้วย เศษสารอินทรีย์ ซากพืช และซากสัตว์ อย่างน้อย 30 % โดยปริมาตร ดินชั้น O ถ้าเกิดจะพบอยู่ด้านบนสุดของชั้นดิน และในพื้นที่ที่เป็นป่าพรุ ดินชั้น O จะเกิดหนามาก
2) ดิน ชั้น A ส่วนมากพบได้โดยทั่วไป เป็นดินชั้นบน ดินชั้นนี้ชื่อที่รู้จักกันทั่วไป คือ ชั้นหน้าดิน (topsoil) มีสีเข้ม ดินชั้น A ประกอบด้วย แร่ชนิดต่างๆ รากพืช และเศษซากของสิ่งมีชีวิต รวมถึงร่องรอยของสิ่งมีชีวิต (รูต่างๆ) ในดินชั้น A อนุภาคที่ละลายน้ำได้ และแร่เคลย์ จะละลายไปกับน้ำที่ไหลซึมผ่าน
3) ดินชั้น E (ไม่แสดงในภาพ) เป็น ชั้นดินที่อยู่ใต้ชั้น A เหนือชั้น B มีสีจาง (พบเฉพาะบางบริเวณเท่านั้น) เป็นส่วนของดินดินชั้น A ที่น้ำจากด้านบนไหลผ่านพากลุ่มแร่เคลย์ และละลายเอาอนุภาคที่ละลายน้ำไป
4) ดิน ชั้น B เป็นดินที่พบการสะสมตัวของกลุ่มแร่เคลย์ และอนุภาคเหล็กออกไซด์ ซึ่งถูกซึมซะมาจากดินชั้น A ดินชั้น B พบสารอินทรีย์ได้แต่น้อยมาก แต่จะพบการสะสมของเหล็กออกไซด์ และแร่เคลย์ ดังนั้นดินชั้น B จึงมีลักษณะเด่นคือมักมีสีน้ำตาล-แดง และมีองค์ประกอบของดินเหนียวเป็นองค์ประกอบ
กลับไปที่เนื้อหา
ปัจจุบันสภาพป่าไม้ที่ประกอบด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่บริเวณละลุ ไม่เหลือให้เห็นอีกแล้ว จากหลักฐานทางโบราณคดี พบว่า บริเวณพื้นที่ละลุ เคยมีชุมชนที่เจริญอาศัยอยู่ เช่น ปราสาทอรพิน (ห่างจากละลุ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร) การขุดค้นพบอุปกรณ์-เครื่องใช้ในอดีต
หลักฐานทางโบราณคดี ดังกล่าว บ่งบอกว่า ชุมชุนในอดีต น่าจะมีอายุ ในช่วง เวลามากกว่า 1,000 ปี ในช่วงที่ชนชาติเขมร เรืองอำนาจปกครองดินแดนในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ของละลุ เป็นชัยภูมิการสร้างเมืองขนาดเล็กที่ดี กล่าวคือ เป็นแอ่งล้อมด้วยภูเขา มีทางเข้าออกที่สะดวกทางเดียว
วีดิทัศน์ เรื่อง บทเรียนที่ได้จากละลุ ที่ถูกละเลย
จากหลักฐานดังกล่าว จึงเชื่อได้ว่า มีการใช้ไม้อย่างมาก เนื่องจากทั้งต้องนำไปสร้างปราสาท ใช้สร้างบ้านเรือน และใช้เป็นพลังงาน
กลับไปที่เนื้อหา
น้ำฝนเมื่อตกกระทบต่อผิวโลกที่ปกคลุมด้วยผิวดิน หากบริเวณดังกล่าวมีต้นไม้ขึ้น ใบและกิ่งก้านของต้นไม้จะทำหน้าที่ลดแรงกระแทกของเม็ดฝนต่อผิวดิน นอกจากนี้รากของต้นไม้ยังทำหน้าที่ตรึงดินให้อยู่กับที่ ถ้าพื้นที่ดังกล่าวไม่มีต้นไม้ เม็ดฝนจะกระแทกผิวดินโดยตรง องค์ประกอบของดินจะหลุดจากกัน และเกิดการกร่อนขึ้นอย่างรวดเร็ว
กลับไปที่เนื้อหา
เอกสารอ้างอิง
Summer, P.D. and Meiklejohn, I. 2000. Landscape evolution in chaining environment. In R. Fox and K. Rowntree (Eds.), The geography of South Africa in changing world. Cape Twon: Oxford Univ. Press.
กลับไปที่เนื้อหา
-
คลังวิดีทัศน์
ตอน การเดินทาง สู่ ละลุ ดินแดนมหัศจรรย์
ตอน ทำไมจึงชื่อละลุ
ตอน ลักษณะภูมิประเทศ
ตอน ธรณีวิทยาของละลุ
ตอน หลุมยุบ
ตอน ภูมิลักษณ์ของละลุ
ตอน ปัจจัยที่ทำให้เกิดหลุมยุบ
ตอน ชั้นตะกอนของละลุ
-
แผนการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนแผนการสอนนายมานะ ชาติเสนา โรงเรียนนายายอามพิทยาคมผู้เขียนแผนการสอนนางสาวกมลรัตน์ จิววงษ์ โรงเรียนนายายอามพิทยาคมผู้เขียนแผนการสอนนายอุเทน ทักคุ้ม โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย เพชรบูรณ์ผู้เขียนแผนการสอนนายสุรชัย ทวีชาติ โรงเรียนวัดราษฎร์รังสรรค์ จังหวัดสมุทรสาครผู้เขียนแผนการสอนม.มณัฐ กอบุตร โรงเรียนวารีเชียงใหม่ผู้เขียนแผนการสอนธันยาภัทร์ ธนะพงศ์นิธิศ โรงเรียนวารีเชียงใหม่
-
คำที่เกี่ยวข้อง