แหล่งเรียนรู้อ่าวคุ้งกระเบน
- 1. การแนะนำ
- 2. ตัวชี้วัดชั้นปีและจุดประสงค์การเรียนรู้
- 3. ที่ตั้งและภูมิประเทศ
- 4. การเดินทาง
- 5. ความเป็นมา
- 6. หน้าที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- 7. พืชและสัตว์ที่พบในป่าชายเลน
- 8. น้ำในป่าชายเลน
- 9. ดินในป่าชายเลน
- 10. พืชในป่าชายเลนเป็นพืชที่ทนเค็มได้อย่างไร
- 11. สัตว์ในป่าชายเลน
- 12. รากไม้ในป่าชายเลน
- 13. การสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ของไม้ป่าชายเลน
- 14. ชนิดของหญ้าทะเล
- 15. ประโยชน์ของป่าชายเลน
- 16. ป่าชายเลน แหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
- 17. ปัญหาที่เกิดขึ้นกับป่าชายเลนและแนวทางในการแก้ปัญหา
- - ทุกหน้า -
เมื่อเอ่ยถึงชื่อ "อ่าวคุ้งกระเบน" เชื่อว่าหลายคนต้องคิดถึงชายหาด ทะเล คลื่น และอาจจะคิดไปถึงปลาตีนในป่าชายเลน อ่าวคุ้งกระเบนเป็นชื่อเรียกสั้นๆ ที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจกันดีว่า หมายถึง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นศูนย์ฯ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบในด้านการทดลองวิจัยพัฒนาด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลอย่างยั่งยืน รวมทั้งยังทำหน้าที่ฝึกอบรมเผยแพร่ข้อมูลวิชาการ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและอุปสรรคของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ตลอดจนการดำเนินการและประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ด้วย
กลับไปที่เนื้อหา
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ชั้น ม.1 ตัวชี้วัด 11 อธิบายกระบวนการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก และการสืบพันธํแบบไม่อาศัยเพศของพืช โดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชเพื่อช่วยในการขยายพันธุ์
ตัวชี้วัด 13 อธิบายหลัการและผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ เพื่อผลผลิตของพืชและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ชั้น ม.4-6 ตัวชี้วัด 2 ทดลองและอธิบายกลไกการรักษาดุลยภาพของน้ำในพืช
มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ชั้น ม.3 ตัวชี้วัด 4 สำรวจและอธิบายความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล
ตัวชี้วัด 5 อธิบายผลของความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ พืชและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ชั้น ม.3 ตัวชี้วัด 1 สำรวจระบบนิเวศต่างๆ ในท้องถิ่น และอธิบายความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศ
ตัวชี้วัด 2 วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมีชีวิตในรูปของโซ่อาหารและสายในอาหาร
ตัวชี้วัด 3 อธิบายวัฎจักรน้ำ วัฎจักรคาร์บอนและความสำคัญที่มีต่อระบบนิเวศ
ตัวชี้วัด 4 อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชาการในระบบนิเวศ
ชั้น ม.4-6 ตัวชี้วัด 1 อธิบายดุลยภาพของระบบนิเวศ
ตัวชี้วัด 1 อธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิต
ตัวชี้วัด 3 อธิบายความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ และเสนอแนะแนวทางในการดูแลและรักษา
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศและโลก นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ชั้น ม.3 ตัวชี้วัด 1 วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา
ตัวชี้วัด 2 อธิบายแนวทางการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
ตัวชี้วัด 3 อธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด 4 วิเคราะห์และอธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัด 5 อภิปรายปัญหาสิ่งแวดล้อมและเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด 2 อภิปรายและมีส่วนร่วมในการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ชั้น ม.4-6 ตัวชี้วัด 1 วิเคราะห์สภาพปัญหา สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก
ตัวชี้วัด 2 อภิปรายแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ตัวชี้วัด 3 วางแผนและดำเนินการเฝ้าระวัง อนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
กลับไปที่เนื้อหา
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี มีพื้นที่ศูนย์กลางบริเวณศูนย์ศึกษาประมาณ 4,000 ไร่ โดยมีการดำเนินกิจกรรมแบบผสมผสานระหว่างป่าไม้และประมง
กลับไปที่เนื้อหา
สามารถเดินทางได้โดยใช้รถยนต์ โดยสามารถเริ่มต้นจากที่ ศาลากลาง จ.จันทบุรี มาตามทางหลวงหมายเลข 3145 ต.บางกะจะ อ.เมือง และต่อมาตามทางหลวงหมายเลข 3147 เพื่อมุ่งหน้าสู่ อ.ท่าใหม่ จนถึงอนุเสาวรีย์หมูดุด (พะยูน) และขับมาเรื่อยๆ จนถึงศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กลับไปที่เนื้อหา
นักเรียนสามารถดูวีดิทัศน์ที่บอกเล่าเกี่ยวกับความเป็นมาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี ได้จากหน้าแรกของเว็บไซต์ http://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/index_1.html
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี ได้เริ่มก่อตั้งตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2524 เพื่อหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับจัดทำโครงการพัฒนาอาชีพการประมงและการเกษตรในเขตที่ดินชายฝั่งทะเล จ.จันทบุรี และต่อมาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เรื่องให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรมหรือพื้นที่สาธารณะประโยชน์เพื่อจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาเช่นเดียวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ให้เป็นศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล จังหวัดจันทบุรีได้ร่วมหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ จึงได้กำหนดพื้นที่ ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เป็นพื้นที่สำหรับจัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2525 เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการศึกษาสาธิต และการพัฒนาในเขตที่ดินชายฝั่งทะเล เพื่อวางแผนพัฒนาการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสมและยั่งยืนตลอดไป
อ้างอิงที่มา
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี http://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/intro.htm
-
คลังรูปภาพ
ชื่อ Galleryการตรวจค่า pH ในน้ำGalleryชื่อ Galleryนากุ้งGalleryชื่อ Galleryป่าชายเลนGalleryชื่อ Galleryพืชบริเวณป่าชายเลนGalleryชื่อ Galleryสัตว์บริเวณป่าชายเลนGalleryชื่อ Galleryบรรยากาศในศูนย์Galleryชื่อ GalleryภาพพาโนรามาGallery
-
คลังวิดีทัศน์
ตอน ป่าชายเลนมีความสำคัญอย่างไร
ตอน หน้าที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตอน พืชและสัตว์ที่พบในป่าชายเลน
ตอน น้ำในป่าชายเลน
ตอน ดินในป่าชายเลน
ตอน พืชในป่าชายเลน ทนเค็มได้อย่างไร
ตอน สัตว์ในป่าชายเลน
ตอน รากไม้ในป่าชายเลน
-
แผนการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนแผนการสอนนายรัฐกรณ์ ชาญธีระวิทย์ โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัยผู้เขียนแผนการสอนนางสาวภัทรมน แก้วพร้อมฤกษ์ โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัยผู้เขียนแผนการสอนนางศิรินภา บัวผ่อง โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 จ.สุพรรณบุรีผู้เขียนแผนการสอนนายนวัช ปานสุวรรณ โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3 จ.สุพรรณบุรีผู้เขียนแผนการสอนนางฉวีวรรณ นาคบุตร โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์) จ.ชลบุรีผู้เขียนแผนการสอนนางวัลลภา ปู่ชูประเสริฐ โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์) จ.ชลบุรีผู้เขียนแผนการสอนนางสาวประไพ บูรณประพฤกษ์ โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จ.นครปฐมผู้เขียนแผนการสอนนายปัญญา โมเครือ โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จ.นครปฐม
-
คำที่เกี่ยวข้อง