แหล่งเรียนรู้สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี ในปีพุทธศักราช 2539 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2539 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2545
กลับไปที่เนื้อหา
ตัวชี้วัด
1. หน้าที่ของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ การนำความรู้ไปใช้ในการป้องกัน การรักษา และการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ
2. ความสำคัญของพันธุกรรมและการเกิดความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีเพื่อคุณภาพที่ดีของประชากร
3. การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
จุดประสงค์การเรียนรู้
- เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้าง และหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ
- เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง สิ่งแวดล้อม และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ
- เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ประโยชน์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
- เข้าใจความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตว่าต้องการปัจจัยในการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นการช่วยรักษาสมดุลของธรรมชาติได้
- สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างระมัดระวัง และคุ้มค่า มีการนำกลับมาใช้ใหม่ และเสนอแนวทางในการป้องกัน แก้ไข หรือฟื้นฟูได้
- เข้าใจความสำคัญของการถ่ายทอดพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อยกระดับคุณภาพของชีวิต
- ทราบถึงผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- อธิบายกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติและการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์โดยมนุษย์
- เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากการกระทำของมนุษย์
- ทราบความสำคัญของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด หากชนิดใดชนิดหนึ่งถูกทำลายก็จะส่งผลถึงสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
กลับไปที่เนื้อหา
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี ในปีพุทธศักราช 2539 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2545 ต่อมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการจัดตั้งสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) เพื่อดำเนินการบริหารงานตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2552 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2552
วีดิทัศน์เรื่อง พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
กลับไปที่เนื้อหา
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช จึงทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อดำเนินการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงสืบสานพระราชปณิธานงานด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติจากพระราชบิดา โดยมีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชขึ้น ซึ่งในภายหลังจึงได้มีการจัดตั้งโครงการ “อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ” หรือโครงการ “อพ.สธ.” ขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เพื่อดำเนินการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพรรณของประเทศและได้พระราชทานแนวทางการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในระยะแรกทั้งที่เป็นพืชหายากและพืชอื่น ๆ ที่มิใช้พืชเศรษฐกิจ พืชพรรณจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งที่อยู่บนเกาะและยอดเขา รวมถึงการสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้กับเยาวชน ประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังทรงต้องการชักนำนักวิจัยและนักวิชาการให้ร่วมกันทำงานเอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ความคิดริเริ่มในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงเป็นที่มาของการดำเนินงานภายใต้โครงการ อพ.สธ. ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ โรงเรียน ชุมชน เอกชน และภาครัฐที่สนองพระราชดำริ โดยทำการศึกษาข้อมูลด้านการอนุรักษ์พันธุกรรม การปกปักพันธุกรรมพืชในธรรมชาติ การสำรวจ การรวบรวมพันธุกรรมพืชที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การนำพันธุ์พืชที่รวบรวมมาเพาะปลูกและดูแลในพื้นที่ที่เหมาะสม จัดทำศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช รวมถึงการวางแผนและพัฒนาพันธุกรรมพืช โดยมีกรอบการดำเนินงาน ดังนี้
1. การเรียนรู้
2. การใช้ประโยชน์
3. การสร้างจิตสำนึกเพื่อการปกปักษ์รักษาทรัพยากรพันธุกรรมพืชในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทย
สมเด็จพระเทพทรงพระราชทานแนวคิดในการดำเนินงานโดยเน้นที่ตัวของเยาวชนเป็นศูนย์กลาง ให้เยาวชนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตัวเอง (Learning by Doing) วิธีการคือ สอนให้เยาวชนซึ่งเป็นนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความงดงาม และความน่าสนใจ จนเกิดเป็นความยินดีที่จะศึกษาและอนุรักษ์ธรรมชาติต่อไป ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นความรัก ความผูกพัน หวงแหนในทรัพยากรของตน ในขณะเดียวกันสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ก็จะเป็นอุปกรณ์ในการสอนได้หลายอย่าง ซึ่งสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นตัวอย่างหนึ่งของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ อพ.สธ. มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ให้เยาวชนได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ โดยให้นักเรียนรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นปลูกไว้ในโรงเรียน จากนั้นศึกษาพันธุ์ไม้เหล่านั้นทางด้านชีวภาพ และกายภาพ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ เผยแพร่ผลการศึกษาไปสู่เยาวชนกลุ่มอื่น ๆ และชุมชนที่สนใจ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน ผู้ปกครอง และนักเรียน จากกิจกรรมที่มีโรงเรียนเป็นฐานจะทำให้เกิดการฟื้นฟูและรักษาป่าขยายออกไปในวงกว้าง ซึ่งกิจกรรมในชุมชนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญทำให้ชุมชนดำรงชีวิตอยู่กับป่าได้โดยไม่ให้มีการทำลายป่าเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นบทเรียนให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้ต่อไปได้
วีดิทัศน์เรื่อง เจ้าฟ้านักอนุรักษ์
กลับไปที่เนื้อหา
พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง สิ่งที่เป็นลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและสามารถส่งต่อจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้ โดยลักษณะที่แสดงออกและถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไป พันธุกรรมถูกควบคุมโดยหน่วยควบคุมลักษณะที่เรียกว่า ยีน ซึ่งอยู่ภายในเซลล์และมีการจัดเรียงตัวเป็นเส้นยาว เรียกว่า โครโมโซม ลักษณะทางพันธุกรรมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ลักษณะทางคุณภาพและลักษณะทางปริมาณ โดยลักษณะทางคุณภาพเป็นลักษณะที่ควบคุมโดยยีนน้อยคู่ ในขณะที่ลักษณะทางปริมาณเป็นลักษณะที่ควบคุมโดยยีนหลายคู่ ซึ่งสิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนมีสารพันธุกรรมที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
ความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ทรัพยากรพันธุกรรมพืช (Plant genetic resources) เป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอยู่ของประชากรมนุษย์ มีการประมาณการจากนักพฤกษศาสตร์ว่า พืชบนโลกมีมากกว่า 250,000 ชนิด แต่มีเพียงประมาณ 5,000 ชนิดเท่านั้นที่เป็นที่รู้จักและนำมาใช้ประโยชน์
การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการสูญเสียเชื้อพันธุกรรม(genetic erosion) เนื่องจากความหลากหลายทางพันธุกรรมของทรัพยากรพืชอาจสูญหายไป อันเนื่องมาจากการทำลายป่า จากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์ที่ใช้ทรัพยากรพันธุ์พืชอย่างไม่จำกัด หรือเกิดจากความนิยมของผู้บริโภคจึงทำให้เกษตรกรมักเลือกปลูกพืชเฉพาะพันธุ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาดเท่านั้น เป็นสาเหตุให้พืชพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ที่ดีในท้องถิ่นเสื่อมความนิยมและต้องสูญหายไปจากแปลงปลูกของเกษตรกร ด้วยเหตุดังกล่าวความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชจึงลดลงไป และอาจเป็นสัญญาณอันตรายที่จะแสดงให้เห็นได้ในกรณีที่พันธุ์ที่ใช้ปลูกกันอย่างกว้างขวางและมีพันธุกรรมเหมือนกัน (genetic uniformity) มักมีความอ่อนแอต่อโรคหรือแมลงบางชนิดในลักษณะเดียวกัน หากเกิดการระบาดของโรคหรือแมลงขึ้นมา ความสูญเสียก็จะเป็นไปอย่างกว้างขวางและรุนแรง การอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมเก่า ๆ ไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะอาจจะต้องนำกลับมาใช้ใหม่ในกรณีที่จำเป็น
พันธุกรรม (Heredity) หมายถึง สิ่งที่เป็นลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและสามารถส่งต่อจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้ โดยลักษณะที่แสดงออกและถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไป พันธุกรรมถูกควบคุมโดยหน่วยควบคุมลักษณะที่เรียกว่า ยีน ซึ่งอยู่ภายในเซลล์และมีการจัดเรียงตัวเป็นเส้นยาว เรียกว่า โครโมโซม ลักษณะทางพันธุกรรมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ลักษณะทางคุณภาพและลักษณะทางปริมาณ โดยลักษณะทางคุณภาพเป็นลักษณะที่ควบคุมโดยยีนน้อยคู่ ในขณะที่ลักษณะทางปริมาณเป็นลักษณะที่ควบคุมโดยยีนหลายคู่ ซึ่งสิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนมีสารพันธุกรรมที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
ความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ทรัพยากรพันธุกรรมพืช (Plant genetic resources) เป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอยู่ของประชากรมนุษย์ มีการประมาณการจากนักพฤกษศาสตร์ว่า พืชบนโลกมีมากกว่า 250,000 ชนิด แต่มีเพียงประมาณ 5,000 ชนิดเท่านั้นที่เป็นที่รู้จักและนำมาใช้ประโยชน์
การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการสูญเสียเชื้อพันธุกรรม(genetic erosion) เนื่องจากความหลากหลายทางพันธุกรรมของทรัพยากรพืชอาจสูญหายไป อันเนื่องมาจากการทำลายป่า จากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของมนุษย์ที่ใช้ทรัพยากรพันธุ์พืชอย่างไม่จำกัด หรือเกิดจากความนิยมของผู้บริโภคจึงทำให้เกษตรกรมักเลือกปลูกพืชเฉพาะพันธุ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาดเท่านั้น เป็นสาเหตุให้พืชพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ที่ดีในท้องถิ่นเสื่อมความนิยมและต้องสูญหายไปจากแปลงปลูกของเกษตรกร ด้วยเหตุดังกล่าวความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชจึงลดลงไป และอาจเป็นสัญญาณอันตรายที่จะแสดงให้เห็นได้ในกรณีที่พันธุ์ที่ใช้ปลูกกันอย่างกว้างขวางและมีพันธุกรรมเหมือนกัน (genetic uniformity) มักมีความอ่อนแอต่อโรคหรือแมลงบางชนิดในลักษณะเดียวกัน หากเกิดการระบาดของโรคหรือแมลงขึ้นมา ความสูญเสียก็จะเป็นไปอย่างกว้างขวางและรุนแรง การอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมเก่า ๆ ไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะอาจจะต้องนำกลับมาใช้ใหม่ในกรณีที่จำเป็น
วีดิทัศน์เรื่อง มหัศจรรย์พันธุกรรม
กลับไปที่เนื้อหา
นวัตกรรมและเศรษฐกิจพอเพียง
ประเทศไทยในปัจจุบันประสบกับปัญหาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความเดือดร้อนกับประชาชนทุกระดับในสังคม ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการพัฒนาที่ขาดสมดุลของประเทศ มุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจแต่กลับไม่ยั่งยืนและเปราะบางต่อผลกระทบจากความผันผวนของปัจจัยภายนอก เป็นผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นเป็นระยะ ส่งผลต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม เกิดเป็นความเหลือมล้ำในการกระจายรายได้ หน่วยงานต่าง ๆ ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและพยายามแก้ไขโดยมุ่งส่งเสริมความสมดุลในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ เน้นความยั่งยืนของการพัฒนาเพื่อให้คนรุ่นหลังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับ โดยยกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชทานเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ซึ่งรูปแบบในการพัฒนาจึงควรใช้ภูมิปัญญาและทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ด้วยวิธีการใหม่ ๆ หรือสร้างสิ่งใหม่ ๆ โดยเริ่มต้นจากการปลูกฝังค่านิยมที่ดีและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจอันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาในระยะยาวต่อไป
นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีใหม่ ๆ การสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา หรือการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต และกระบวนการ จึงเป็นที่มาของทั้งผลิตภัณฑ์และแนวความคิดเกิดใหม่มากมาย หากมีการนำมาประยุกต์ใช้กับหลักกการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ก็จะเป็นการดี ดังนั้นเมื่อนำหลักการของนวัตกรรมและเศรษฐกิจพอเพียงมารวมเข้าด้วยกัน จึงหมายถึง กระบวนการการจัดการแบบใหม่ที่คิดค้นและพัฒนาจากองค์ความรู้และประสบการณ์ เพื่อแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการเสริมสร้างสุขภาวะอย่างเป็นระบบตามภูมิสังคมของชุมชน ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนการที่เกิดจากความสัมพันธ์อันเกี่ยวเนื่องกันของทุกภาคส่วน มีลักษณะเดียวกันกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
หากพิจารณาการดำรงชีวิตโดยใช้หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเปรียบเทียบกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศ ที่ล้วนมีบทบาทและหน้าที่แตกต่างกันด้วยการศึกษาสายใยอาหารก็จะช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของแต่ละภาคส่วนได้
สายใยอาหาร หมายถึง โซ่อาหารหลาย ๆ ห่วงโซ่ ที่มีความสัมพันธ์กัน ในธรรมชาติจึงเกิดการกินต่อกันเป็นทอด ๆ ในโซ่อาหารจะมีความซับซ้อนมากขึ้น คือ มีการกินกันอย่างไม่เป็นระเบียบ จากแผนภาพสายใยอาหารด้านบน จะสังเกตเห็นได้ว่าต้นข้าวที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศน์นั้น สามารถถูกสัตว์หลายประเภทบริโภคได้ คือ มีทั้ง วัว ตั๊กแตน ไก่ ผึ้ง และสัตว์ที่เป็นผู้บริโภคลำดับที่ 1 เหล่านั้น ก็สามารถจะเป็นเหยื่อของสัตว์อื่น และ ยังเป็นผู้บริโภคสัตว์อื่น ได้เช่นกัน เช่น ไก่ สามารถจะบริโภคตั๊กแตนได้ และในขณะเดียวกันไก่ก็มีโอกาสที่จะถูกงูบริโภคได้เช่นกัน
โซ่อาหาร (food chain) มีหลักการจากการถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมีชีวิตหนึ่งให้กับสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยทั่วไปพืชและสัตว์จำเป็นต้องได้รับพลังงาน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต โดยพืชจะได้รับพลังงานจากแสง ของดวงอาทิตย์ โดยใช้รงควัตถุสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เป็นตัวดูดกลืนพลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อนำมาใช้ในการสร้างอาหาร เช่น กลูโคส แป้ง ไขมัน และโปรตีน เป็นต้น พืชจึงเป็นผู้ผลิต (producer) และเป็นสิ่งมีชีวิตอันดับแรกในการถ่ายทอดพลังงานของโซ่อาหาร สำหรับสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ จำเป็นต้องได้รับพลังงานจากการบริโภคสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร สัตว์จึงถือว่าเป็น ผู้บริโภค (consumer) โดยแบ่งออกได้เป็น
1. ผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง (primary consumer) หมายถึง สัตว์ที่กินผู้ผลิต
2. ผู้บริโภคลำดับที่สอง (secondary consumer) หมายถึง สัตว์ที่กินผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง
ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตหนึ่ง โซ่อาหารไม่ได้ดำเนินไปอย่างอิสระ แต่ละโซ่อาหารอาจมีความสัมพันธ์กับโซ่อื่น ๆ อีก เกิดเป็นความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน เช่น สิ่งมีชีวิตหนึ่งในโซ่อาหารอาจเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งในโซ่อาหารอื่นก็ได้ โดยเรียกลักษณะโซ่อาหารหลาย ๆ ห่วงโซ่ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างสลับซับซ้อนว่า สายใยอาหาร (food web) ซึ่งสายใยอาหารของสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อนมากจะแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคลำดับที่ 2 และ 3 มีทางเลือกในการกินอาหารได้หลายทางมีผลทำให้กลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้นมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตมากตามไปด้วย โดยมีสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่อยู่ปลายสุดของโซ่อาหารซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตใดมากินต่อ อาจเรียกว่าผู้บริโภคลำดับสุดท้ายหรือผู้บริโภคลำดับสูงสุด (top consumer)
ตัวอย่างความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่พบในสายใยอาหารน้ำ ที่ประกอบด้วยสาหร่าย สัตว์น้ำที่กินสาหร่าย เช่น หอย ปู และปลา สัตว์ที่บริโภคสัตว์ที่กินสาหร่าย เช่น กบ และนก ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง สิ่งมีชีวิตที่พบในสายใยอาหารจึงถูกแบ่งกลุ่มตามหน้าที่ ดังนี้
สาหร่าย | มีหน้าที่เป็น | ผู้ผลิตลำดับต้น |
หอย ปู ปลา | มีหน้าที่เป็น | ผู้บริโภคลำดับที่ 1 |
กบ นก | มีหน้าที่เป็น | ผู้บริโภคลำดับที่ 2 เป็นต้น |
จึงจะเห็นได้ว่าบนโลกใบนี้ประกอบด้วยระบบนิเวศที่หลากหลาย เช่น ระบบนิเวศทุ่งหญ้า ระบบนิเวศป่า และระบบนิเวศทุ่งนา เป็นต้น โดยระบบนิเวศที่เราคุ้นเคยมักประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่แท้ที่จริงแล้วยังมีจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลาย (decomposer) ซากของสิ่งมีชีวิตให้กลายเป็นสารอินทรีย์ได้ จุลินทรีย์มีทั้งชนิดที่เป็น เห็ด (mold) รา (fungi) และแบคทีเรีย (bacteria) จึงได้มีการนำความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์ใช้กับการดำรงชีวิตด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การใช้ราTricoderma sp. แทนยาปราบศัตรูพืช การใช้ไรโซเบียมในพืชตระกูลถั่ว การใช้ยีสต์เพื่อหมักขนมปัง แต่จุลินทรีย์บางชนิดก็ให้โทษ เช่น การเกิดโรคในพืชผลเศรษฐกิจ ทำให้พืชเกิดการเน่าเสีย เป็นต้น การดำเนินการและพัฒนานวัตกรรมบนพื้นฐานของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเดียงจึงควรเน้นให้ความสำคัญอย่างถูกจุด นั่นคือ การพัฒนาคน โดยการนำศักยภาพและความรู้มาใช้อย่างรอบคอบและมีสติ เพื่อให้คนสามารถพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือผู้คนที่ด้อยกว่าได้ จึงจะเป็นการพัฒนาสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนและยาวนาน
วีดิทัศน์เรื่อง นวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง
กลับไปที่เนื้อหา
ทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วยผู้บริโภค ได้แก่ สัตว์กินพืช และสัตว์กินสัตว์ รวมถึง ผู้ย่อยสลาย และผู้ผลิตซึ่งเป็นพืชที่สังเคราะห์แสงด้วยคลอโรฟิลล์ ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน คือ ป่าไม้ ประกอบกันเป็นระบบนิเวศป่าไม้ประเภทต่าง ๆ
ป่าไม้ในพระราชบัญญัติป่าไม้ หมายถึง ที่ดินที่บุคคลยังไม่ได้มาตามกฎหมาย ป่าไม้เป็นพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยต้นไม้ต่าง ๆ หลายชนิดปะปนกัน ประกอบด้วยพืชพรรณที่แตกต่างและมีเรือนยอดที่ลดหลั่นกันไปตั้งแต่ชั้นบนสุดที่ประกอบด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่และมีอายุมากซึ่งเรือนยอดแผ่กิ่งก้านสาขาได้เต็มที่ เรือนยอดชั้นรองลงมาเป็นส่วนของต้นไม้ที่มีขนาดเล็กกว่า จากนั้นจึงเป็นชั้นของไม้พุ่ม ไม้ขนาดเล็ก และไม้พื้นล่างอื่น ๆ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดป่าไม้ชนิดต่าง ๆ ได้แก่
1. ภูมิอากาศ ประเทศต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคของโลกมีฤดูกาลและปริมาณของฝนที่แตกต่างกัน จึงทำให้สภาพป่าแตกต่างกัน เนื่องจากน้ำฝนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ตกลงมาในแต่ละฤดูกาลไม่เท่ากัน จึงทำให้พืชจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
2. ดิน ชนิดของดิน ไม่ว่าจะเป็นดินทราย ดินเหนียว และดินร่วนจะมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่าง เช่น ความชื้น รูพรุน ขนาดของเม็ดดิน เป็นต้น จึงทำให้พืชแต่ละชนิดสามารถขึ้นในดินได้แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังรวมถึงความลึกของดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินอีกด้วย
3. ลักษณะของพื้นที่ ภูมิประเทศในแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะที่แตกต่างไป บ้างเป็นภูเขา เนิน และที่ราบ จึงทำให้ความลาดชันของพื้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากมีความสามารถในการยึดเกาะผืนดินแตกต่างกัน
4. อุณหภูมิ โดยทั่วไป พืชสามารถเจริญเติบโตได้ในอุณหภูมิประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำจนเกินไปจะทำให้พืชเจริญเติบโตช้า
5. ช่วงวันยาวของวัน แสงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช จึงทำให้ให้พืชมีระยะการเจริญและสืบพันธุ์แตกต่างกันไปตามช่วงแสงที่ได้รับ
ประเทศไทยประกอบด้วยป่า 2 ประเภท
1. ป่าผลัดใบ (deciduous forest) เป็นป่าที่ประกอบด้วยพรรณไม้ที่ทิ้งใบในฤดูแล้ง ประกอบด้วยและจะแตกใบใหม่ในช่วงฤดูฝน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1.1.ป่าเต็งรัง มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ประกอบด้วยไม้ขนาดกลางและขนาดเล็ก พรรณไม้เด่นได้แก่ พันธุ์ไม้ในวงศ์ยาง
1.2.ป่าเบญจพรรณ ประกอบด้วยพรรณไม้เด่น 5 ชนิด ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สัก ประดู่ แดง ชิงชัง และมะค่า จัดเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด
2. ป่าไม่ผลัดใบ (evergreen forest) หรือป่าดงดิบ เป็นป่าที่มีลักษณะเขียวตลอดทั้งปี มีการกระจายทั่วประเทศไทย มีชนิดของพันธุ์พืชแตกต่างกัน ซึ่งในแต่ละภูมิภาคจะประกอบด้วยพรรณพืชที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน สามารถแบ่งประเภทของป่าไม่ผลัดใบตามระดับของน้ำทะเลได้เป็น 3 ประเภท
2.1.ป่าดิบชื้น (tropical rain forest) พบการกระจายส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ อาจพบในภาคอื่นบ้าง ขึ้นอยู่ในที่ราบหรือบนภูเขาที่ระดับความสูงไม่เกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล
2.2.ป่าดิบแล้ง (dry evergreen forest) พบกระจายตั้งแต่ภาคใต้ตอนบนจนถึงภาคเหนือ และกระจายอยู่ทางภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ป่าชนิดนี้พบตั้งแต่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 100 เมตรขึ้นไปจนถึง 800 เมตร
2.3.ป่าดิบเขา (Hill evergreen forest) อาจพบได้ในทุกภาคของประเทศในบริเวณที่เป็นยอดเขาสูง ทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออก มีความสูงอยู่เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป
ความเชื่อมโยงของป่าแต่ละชนิด
ป่าเต็งรังมีพื้นที่อยู่ใกล้กับป่าเบญจพรรณ ในฤดูแล้งป่าเต็งรังจะขยายตัวและมีอาณาเขตรุกล้ำเข้าไปในป่าเบญจพรรณ ในขณะที่ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนป่าเบญจพรรณก็จะเจริญเติบโตและรุกคืบกลับค้นไปในพื้นที่ของป่าเต็งรัง เมื่อระยะเวลาผ่านไปจะทำให้เกิดเป็นป่าที่มีลักษณะผสมระหว่างป่าทั้ง 2 ชนิด เกิดเป็นป่ารอยต่อที่ส่งผลต่อความหลากหลายทางพันธุกรรมทั้งชนิดของพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่ารอยต่อ
จึงสรุปได้ว่าป่าไม้เป็นทรัพยากรที่สำคัญ นอกจากจะเป็นผู้ผลิตที่สำคัญของระบบนิเวศแล้ว ยังเป็นแหล่งอาหารและแหล่งอาศัยให้กับสัตว์หลายชนิด หากป่าไม้ถูกทำลายเท่ากับว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบต่อเนื่องกันไปเหมือนลูกโซ่ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นหน้าที่ของประชาชนทั้งหลายที่ควรต้องอนุรักษ์และช่วยกันดูแลป่าไม้สืบไป
วีดิทัศน์เรื่อง ป่าดงพงไพร
กลับไปที่เนื้อหา
เกษตรเมือง (Urban agriculture) คือ การเพาะปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการปลูกป่าในพื้นที่เมืองและรอบ ๆ เขตพื้นที่เมือง โดยมีการออกแบบให้เหมาะสมสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในเมืองซึ่งมีพื้นที่จำกัดทั้งที่มีที่ดินและไม่มีที่ดิน โดยการดัดแปลงหรือใช้อุปกรณ์และวัสดุที่หาได้ง่าย เช่น การปลูกผักในบ่อซีเมนต์ การปลูกข้าวในบ่อซีเมนต์ การปลูกพืชบนดาดฟ้า การนำขยะในครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นต้น
ประวัติของการทำเกษตรเมือง
เกษตรเมืองมีต้นกำเนิดในประเทศสหรัฐอเมริการาวศตวรรษที่ 19 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีแรงบันดาลใจจากความต้องการผลิตอาหารไว้สำหรับการบริโภคให้แก่ประชากรและผลิตอาหารส่งไปเลี้ยงกองกำลังของทหารในสงคราม จากนั้นมีการเปลี่ยนสถานะของเกษตรเมืองภายหลังสงครามเป็นกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนและปรับเปลี่ยนเป็นแปลงเกษตรของชุมชนในเมือง (Urban community gardens) จนกระทั่งปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1960 รัฐบาลจึงส่งเสริมให้มีการดำเนินโครงการโดยใช้เกษตรกรรมเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยเหลือให้ชาวเมืองผู้มีรายได้น้อยให้มีอาหารพอกินด้วยการทำเกษตรบนผืนดินว่างเปล่า ต่อมาในคริสต์ทศวรรษที่ 1970 เกษตรเมืองได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นจากผู้คนหลาย ๆ กลุ่มในชุมชน โดยเน้นการทำเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมองหาระบบตลาดที่เกษตรกรจะสามารถนำผลผลิตไปขายให้แก่ผู้บริโภคในเมืองได้โดยตรง ซึ่งผู้บริโภคในเมืองก็มีโอกาสช่วยสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยได้
การทำเกษตรเมืองในปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ของการทำเกษตรเมืองในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้การศึกษาแก่คนในเมือง โดยเน้นการพัฒนาสังคมผ่านการเกษตรกรรมและสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร การทำเกษตรเมืองจึงมีรูปแบบที่หลากหลายตั้งแต่การทำสวนขนาดใหญ่ของชุมชนไปจนถึงสวนหลังบ้านของครอบครัวและฟาร์มขนาดเล็ก มีการจัดทำโครงการให้การศึกษาแก่เยาวชน รวมถึงการทำฟาร์มเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบและยังครอบคลุมกิจกรรมทั้งในด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด นอกจากนี้ยังมีการนำสิ่งของกลับมาใช้ใหม่อีกด้วย จึงจัดได้ว่าการทำเกษตรเมืองเป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ มุ่งเน้นในการตอบสนองต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองเป็นสำคัญ โดยผสมผสานระหว่างวิถีชีวิตของคนเมืองเข้ากับระบบนิเวศและพัฒนาเมืองต่าง ๆ ให้เป็นเมืองที่มีความยั่งยืนและมีศักยภาพในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันได้ การทำเกษตรเมืองมีหลายระดับและสามารถประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบขึ้นกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
การทำเกษตรเมืองในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีโครงการเกษตรในเมืองหลายแห่ง เช่น ในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่อื่น ๆ มีการทำเกษตรในเมืองเป็นรูปแบบของตัวเองเพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตแบบพอเพียงและการบริโภคอย่างยั่งยืน เกษตรในเมืองแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก เมื่อพิจารณาจากกิจกรรมที่ทำภายในเขตเมืองหลายศูนย์กลาง คือ
1. การทำเกษตรในเมืองระดับจุลภาค จัดเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาอาคารสงเคราะห์และสลัมรวามถึงในพื้นที่เปิดโล่งที่ยังไม่มีผู้ใดใช้ประโยชน์ เช่น การปลูกพืชในละแวกบ้าน การทำสวนในบ้าน โรงเรียนและชุมชน และการเลี้ยงสัตว์ตามทางรถไฟหรือใต้สายไฟฟ้า การทำเกษตรในระดับนี้สามารถทำให้เกิดการเข้าถึงอาหารและความมั่นคงด้านอาหารสำหรับผู้ยากไร้ในเขตสลัม
2. การทำเกษตรหลายบทบาทขนาดเล็กและวนเกษตรในทางเชื่อมเขียว (green corridors) ของเขตพื้นที่เมืองและรอบ ๆ เขตพื้นที่เมือง รวมถึงพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วมและแผ่นดินไหว พื้นที่ลาดชัน และพื้นที่ในระบบนิเวศที่มีความพิเศษหรือคุณค่าเชิงทิวทัศน์ การทำเกษตรในระดับนี้เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร การนำขยะในเมืองที่ผ่านการหมักกลับมาใช้ใหม่ การกักเก็บน้ำฝน นันทนาการและความหลากหลายทางชีววิทยา
3. กลุ่มการเกษตรแบบเข้มข้นและการเกษตรเทคโนโลยีชั้นสูง รวมถึงการทำฟาร์มสุกร ฟาร์มสัตว์ปีกและฟาร์มปลาแบบเข้มข้นขนาดใหญ่ และการทำพืชกรรมสวนแบบเข้มข้นในเรือนกระจกที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตร การทำเกษตรในระดับนี้มักจะประสานประโยชน์ของส่วนประกอบของกลุ่มโดยการนำผลิตภัณฑ์พลอยได้กลับมาใช้ใหม่ได้
วีดิทัศน์เรื่อง เกษตรเมือง
กลับไปที่เนื้อหา
การเติบโตและการขยายตัวของชุมชนเมือง (Urban community) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นทำให้อาคารและบ้านเรือนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การประกอบอาชีพของคนในชุมชนมีความแตกต่างกันมากและไม่นิยมทำอาชีพเกษตรกรรมจึงทำให้พื้นที่สีเขียวภายในชุมชนลดลงและต้องพึ่งพาระบบตลาดเพื่อการได้มาซึ่งอาหาร จึงนำไปสู่แนวความคิดเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมโดยการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่โดยรอบในชุมชนเมือง ด้วยการพัฒนารูปแบบการปลูกพืชแบบคนเมืองขึ้น เป็นการอาศัยเทคนิคและแนวทางปลูกพืชในพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานเอง นอกจากจะเป็นการดูแลสุขภาพแล้วยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง ขณะเดียวกันสามารถสร้างทัศนียภาพที่สวยงามให้กับพื้นที่ด้วย จึงเป็นที่มาของการปลูกพืชบนดาดฟ้าของอาหารและในวงบ่อซีเมนต์
การปลูกพืชบนดาดฟ้า
เป็นลักษณะของสวนบนหลังคา (Green roof) ที่มีพืชพันธุ์ปกคลุมอยู่ โดยเน้นถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะสร้างภาวะสบายให้กับอาคารแล้วยังช่วยลดการใช้พลังงานลงด้วย นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการช่วยจัดการน้ำฝน บรรเทาภาวะเกาะความร้อนและช่วยชะลออุบัติเหตุจากไฟไหม้ได้ การปลูกพืชบนหลังคามีข้อที่ควรคำนึงถึงเป็นลำดับแรกก็คือขนาดและโครงสร้างของอาคารว่าสามารถรองรับน้ำหนักของวัสดุได้มากน้อยเพียงใด ความชื้นที่เกิดขึ้นจาการให้น้ำเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเพื่อป้องกันน้ำซึมลงสู่พื้นด้านล่าง จึงจำเป็นต้องใช้วัสดุกันซึม นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
1. ชนิดของพืชที่ปลูก ควรเป็นพืชที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ทนทานต่อสภาพอากาศและน้ำท่วมขัง
2. วัสดุที่ใช้ปลูก ควรใช้ดินที่มีความร่วนซุยเพื่อให้พืชสามารถชอนไชรากได้ดี
3. ปริมาณแสง ควรมีการพรางแสงให้แก่พืชอายุน้อยเพราะการปลูกพืชบนดาดฟ้ามักพบปัญหาแสงแดดจัด
4. การรดน้ำ ใส่ปุ๋ยหรือการดูแลรักษาพืชที่ปลูกบนดาดฟ้าจะเหมือนกันกับการปลูกพืชในแปลงเกษตรทั่ว ๆ ไป
การปลูกพืชในวงบ่อ
เป็นการปลูกพืชแบบชุมชนเมืองในอีกลักษณะหนึ่งซึ่งใช้วัสดุหรืออุปกรณ์ที่หาได้โดยทั่วไป เช่น การจัดเรียงอิฐเป็นบ่อ หรือการปลูกพืชโดยใช้บ่อซีเมนต์ โดยต้องมีการเตรียมดินในบ่อให้เหมาะสมกับพืชที่ต้องการจะปลูก พืชผักที่นิยมปลูกในบ่อซีเมนต์ได้แก่ ผักกินใบ ไม้ผลที่เป็นต้นไม่ใหญ่มาก สามารถดูแลรักษาได้โดยดูแลความชื้นของหน้าดินเป็นหลัก ปัจจัยส่วนใหญ่ที่จะส่งผลต่อพืชจะเป็นแสงและน้ำ จึงควรรดน้ำไม้ผลให้มากกว่าพืชใบและควรดูแลเพิ่มเติมโดยการเติมปุ๋ยเป็นบางครั้ง
การปลูกพืชในวงบ่อซีเมนต์สามารถประยุกต์ร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำได้ เพียงแต่ต้องเลือกปลูกพืชที่มีความทนทานต่อการเจริญอยู่ในน้ำ เช่น การปลูกข้าวร่วมกับการเลี้ยงปลา โดยต้องคำนึงถึงพันธุ์ข้าวที่ใช้ ควรเป็นข้าวพันธุ์อายุสั้น ใช้เวลาปลูกไม่นานก็สามารถให้ผลผลิตได้เหมาะสมกับพันธุ์ปลาที่จะเลี้ยง และบ่อที่เลือกต้องมีความลึกพอสมควร ในขณะที่ขังน้ำเพื่อปลูกข้าวจะทำให้การถ่ายเทของน้ำจำกัด ปลาจึงควรเป็นพันธุ์ที่ทนต่อระบบของเสียที่เกิดขึ้นได้ เช่น ปลานิลหรือปลาดุก โดยมูลปลาก็จะกลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นข้าวที่อยู่ในบ่อต่อไป
ประโยชน์ของการปลูกพืชในวงบ่อ
1. พืชเจริญเติบโตได้เร็วกว่าพืชที่ปลูกลงดิน เพราะดินปลูกมีความร่วนซุยและโปร่ง
2. ใช้พื้นที่น้อย
3. ให้ผลผลิตเร็ว
4. ดูแลรักษาด้านโรค แมลง วัชพืช และการห่อผลง่าย
5. บังคับออกดอกติดผลได้
6. ควบคุมคุณภาพและรสชาติได้
7. สามารถเคลื่อนย้าย หรือยกขายทั้งภาชนะได้
8. ใช้เป็นไม้ประดับภายในบ้าน
9. สร้างบรรยากาศภายในครอบครัว
10.ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ มลภาวะ คายออกซิเจน และลดโลกร้อนได้
วีดิทัศน์เรื่อง การปลูกพืชบนดาดฟ้าและวงบ่อ
กลับไปที่เนื้อหา
ภาวะโลกร้อนในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก จึงทำให้หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจกับสาเหตุที่เป็นต้นตอดังกล่าว โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะ แม้ว่าขยะบางชนิดสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพแต่ยังมีขยะหลายชนิดที่ต้องใช้กระบวนการรวมถึงขั้นตอนต่าง ๆ ในการกำจัดซึ่งเป็นผลให้เสียค่าใช้จ่ายและเป็นการเพิ่มภาระมากยิ่งขึ้น การนำขยะมารีไซเคิลจึงเป็นทางเลือกที่จะนำวัสดุเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อชดเชยและลดปริมาณของขยะที่มีมากขึ้น แนวความคิดในการปลูกพืชในวัสดุเหลือใช้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว จึงช่วยลดปริมาณขยะลงและยังเป็นการลดมลพิษทางอากาศโดยอ้อมได้อีกด้วย
การนำวัสดุเหลือใช้เพื่อมาแปรรูปเป็นกระถางสำหรับการปลูกพืชในภาชนะที่ดัดแปลงมาจากวัตถุหรือเศษวัตถุที่เหลือจากการใช้งานต่าง ๆ ซึ่งมีระยะการใช้งานไม่มากนัก จึงเป็นการนำของเหล่านั้นมาใช้ซ้ำ (reusing) ให้เกิดประโยชน์ โดยไม่ผ่านกระบวนการแปรสภาพ เศษวัสดุที่สามารถนำมาใช้เพื่อปลูกพืชได้มีด้วยกันหลายชนิด เช่น ยางรถยนต์ ถุงกระสอบ รองเท้าบู๊ท ตะกร้า ขวดน้ำพลาสติค กระป๋องสี ตอไม้ ขวดน้ำอัดลม เป็นต้น โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
1. รวบรวมวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนตามความเหมาะสม
2. นำวัสดุเหลือใช้มาล้างทำความสะอาด ตกแต่งขนาด รูปแบบและแปรรูปตามความต้องการ
3. นำต้นไม้โดยเลือกชนิดพันธุ์ที่เหมาะสมกับลักษณะและขนาดของภาชนะไปปลูก
ตัวอย่างการปลูกพืชในวัสดุเหลือใช้ที่หาได้จากครัวเรือน
การปลูกพืชในวัสดุเหลือใช้จากครัวเรือนควรเลือกปลูกพืชที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่มีขนาดเหมาะสมกับภาชนะที่เลือกใช้ ส่วนที่เหลือจากการรับประทานอาจนำไปจำหน่ายเพื่อหารายได้เสริม
วัสดุและอุปกรณ์
1. ต้นกล้าพืชที่ต้องการ
2. เปลือกมะพร้าวสับ
3. ดินร่วน
4. มูลสัตว์
5. อินทรียวัตถุ เช่น เศษใบไม้ เศษกิ่งไม้ และแกลบ เป็นต้น
6. วัสดุเหลือใช้ที่นำมาเป็นภาชนะปลูก
วิธีการปลูก
1. การเตรียมภาชนะปลูก ทำได้โดยนำเปลือกมะพร้าวสับใส่ในวัสดุเหลือใช้ที่นำมาเป็นภาชนะ อาจพิจารณาปริมาณของการใส่เปลือกมะพร้าวสับได้จากชนิดของพืชในครัวเรือนที่ต้องการปลูก เช่น ผักกว้างตุ้ง เป็นผักที่มีรากฝอย ซึ่งรากจะดูดสารอาหารและธาตุอาหารได้ลึกลงไป 10 ซ.ม. จึงควรใส่มะพร้าวสับให้สูงประมาณ 10 ซ.ม. จากพื้นของภาชนะ
2. การเตรียมดิน เป็นการผสมดินและสารอาหารที่ใช้เพื่อบำรุงพืช ประกอบด้วย
ดิน 1 ส่วน
มูลสัตว์ 1 ส่วน
อินทรียวัตถุ 2 ส่วน
จากนั้น นำส่วนผสมทั้ง 3 อย่างมารวมกัน เรียกขั้นตอนนี้ว่าการหมักดินให้เย็น โดยใช้อินทรียวัตถุ เป็นวัตถุที่ทำให้ดินโปร่ง เพื่อให้อากาศและน้ำซึมผ่านได้ดี และเป็นการทำให้ระบบรากทำงานได้ดีขึ้น เมื่อผสมดินเสร็จแล้วให้นำดินที่ได้มาใส่ในวัสดุเหลือใช้พอประมาณ
3. การปลูกต้นกล้า เป็นการนำเมล็ดพืชหรือผักที่ต้องการมาหยอดใส่ในถาดเพาะกล้า ถ้าไม่มีถาดเพาะกล้าสามารถใช้วัสดุเหลือใช้ประเภทอื่น ๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้ เช่น ถ้วยขนมและถ้วยคุกกี้ โดยการใส่ดินปลูกธรรมดาแล้วหยอดเมล็ดลงไปตรงกลาง
4. การนำต้นกล้ามาใส่ในวัสดุเหลือใช้ หลังจากต้นกล้าเจริญได้ระยะหนึ่ง ให้ย้ายปลูกต้นกล้าไปยังดินที่เตรียมไว้ ซึงประกอบด้วยเปลือกมะพร้าวกับดินที่หมักให้เย็น การปลูกสามารถทำได้โดยใช้นิ้วทำเป็นรูกดลงไปบนดิน แล้วนำต้นกล้าที่ปลูกไว้มาปลูกใส่ในรูที่เตรียมไว้ ประมาณ 2 สัปดาห์ ผักกวางตุ้งก็สามารถเก็บและรับประทานได้
การแก้ปัญหาแมลงกัดกิน
ในระหว่างการปลูกพืชอาจพบกับศัตรูพืช หรือแมลงมากัดกินใบ สามารถป้องกันได้โดยใช้สารที่มีรสขม ที่ทำขึ้นเอง คือ น้ำหมักที่ได้จากสมุนไพรธรรมชาติฉีดที่บริเวณใบ โดยเฉพาะทางด้านใต้ใบ ซึ่งแมลงพวกดูดซับ จำพวกเพลี้ยมักเกาะอยู่เพื่อดูดน้ำเลี้ยงภายในต้นพืช ในกรณีที่ไม่อยากใช้น้ำหมัก สามารถปลูกพืชที่มีความหลากหลายหรือปลูกพืชแบบผสมผสานหลายอย่างสลับกันไป ซึ่งแมลงจะเลือกกินพืชเพียงบางส่วนหรือบางชนิดเท่านั้น พืชอีกหลาย ๆ ชนิดก็จะยังคงปลอดจากแมลงเหล่านั้น ทำให้เกิดพืชผลที่ปลูกไว้เสียหายเพียงส่วนน้อย
วีดิทัศน์เรื่อง ปลูกพืชในวัสดุเหลือใช้
กลับไปที่เนื้อหา
น้ำหมักชีวภาพ คือ การนำวัตถุดิบ เช่น พืช ผัก ผลไม้ สัตว์ ชนิดต่าง ๆ มาหมักกับน้ำตาล ทำให้เกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก ซึ่งจุลินทรีย์จะทำหน้าที่ย่อยสลายธาตุอาหารที่อยู่ในวัตถุดิบออกมา ธาตุอาหารที่จำเป็น เช่น โปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เป็นต้น
น้ำหมักชีวภาพเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ละท้องถิ่นจะมีการผลิตและใช้งานแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของวัตถุดิบ กรรมวิธีในการผลิต ตลอดจนวิธีการที่ใช้กับพืช หรือแม้แต่ใช้เพื่อประโยชน์อื่น ๆ ปัจจุบัน น้ำหมักชีวภาพได้รับความนิยมมากขึ้นเพื่อใช้กับการเกษตรที่เน้นความปลอดภัยจากสารพิษ ทั้งในไร่ นา สวนผัก และสวนผลไม้ นอกจากนี้น้ำหมักชีวภาพยังเป็นธาตุอาหารให้พืชได้ขึ้นกับส่วนผสมที่นำมาใช้ มีการพัฒนาสูตรการผลิตมากมายและมีการเติมปุ๋ยเคมี สารเคมีเพื่อให้เกิดผลเร็ว บางครั้งเกษตรกรจึงต้องเสียค่าใช้จ่ายในราคาสูงและอาจมีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ในผลผลิต แท้ที่จริงแล้วการทำน้ำหมักชีวภาพสามารถทำได้ง่ายโดยใช้อุปกรณ์ที่หาได้ในท้องถิ่น
กระบวนการทำงานของน้ำหมักชีวภาพ
การนำเศษพืช สัตว์ ที่เป็นวัสดุอินทรีย์ไปหมักกับการน้ำตาลจะทำให้สารประกอบอินทรีย์ที่อยู่ภายในไหลออกมาจากเซลล์โดยกระบวนการ plasmolysis ซึ่งจุลินทรีย์ธรรมชาติและชนิดที่ติดมากับเศษวัสดุสามารถใช้กากน้ำตาลรวมถึงสารประกอบอินทรีย์ดังกล่าวเป็นแหล่งอาหารและพลังงานในการเจริญเติบโตได้ จุลินทรีย์แต่ละชนิดจะย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ให้มีโมเลกุลเล็กลงตามลำดับ จึงพบชนิด ปริมาณ และสารประกอบอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ แตกต่างกันตามระยะเวลาในการหมัก ซึ่งจุลินทรีย์ที่พบส่วนใหญ่เป็นชนิดแบคทีเรีย ราและยีสต์ เช่น Bacillus sp., Lactobacillus sp., Streptococus sp., Aspergillus niger และ Canida sp. ส่วนสารอินทรีย์ที่พบ ได้แก่ สารฮิวมิก สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช สารควบคุมแมลง และสารป้องกันกำจัดโรคพืช คุณภาพของน้ำหมักชีวภาพจึงขึ้นกับองค์ประกอบของวัสดุหลักที่ใช้ โดยมีปัจจัยเสริม คือ สภาพแวดล้อมในการหมักที่มีผลต่อชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์นั่นเอง
การทําน้ำหมักชีวภาพมีการพัฒนาสูตรไปตามวัตถุดิบที่หาได้ง่ายและราคาถูก โดยเน้นความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่จะนําไปใช้ สามารถแบ่งออกตามประเภทของวัตถุดิบที่นํามาใช้ในการผลิตงได้เป็น 2 ประเภท
1. น้ำหมักชวภาพที่ผลิตจากพืช
2. น้ำหมักชวภาพที่ผลิตจากสัตว์
ตัวอย่างสูตรน้ำหมักชีวภาพสำหรับบำรุงใบ
วัสดุและอุปกรณ์
1. เศษผักสด
2. จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการย่อยสลาย (EM)
3. กากน้ำตาล เป็นอาหารจุลินทรีย์
4. ถังที่ใช้สำหรับหมักพร้อมฝาปิด
5. เทปกาว
วิธีการ โดยใช้ปริมาณของ ผักสด : กากน้ำตาล : จุลินทรีย์ ในอัตราส่วน 3 : 1 : 1
1. นำเศษผักสดจำนวน 3 ส่วน มาฉีกให้เป็นชิ้นขนาดเล็ก (ประมาณ 1 นิ้ว)
2. นำจุลินทรีย์ EM 1 ส่วน ผสมกับกากน้ำตาลปริมาณ 1 ส่วน และผสมให้เข้ากัน
3. นำส่วนผสมระหว่างจุลินทรีย์และกากน้ำตาลเทใส่เศษผักที่เตรียมไว้จนกระทั่งเศษผักจมอยู่ใต้ระดับของส่วนผสม
4. ปิดฝาและพันปากภาชนะด้วยเทปกาวเพื่อป้องกันอากาศไม่ให้เข้าไป ซึ่งจะช่วยทำให้การย่อยสลายเกิดได้ดีขึ้น จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน ก็สามารถนำน้ำหมักไปใช้งานได้ โดยน้ำหมักชีวภาพที่หมักสมบูรณ์แล้วจะมีฝ้าขาวหรือราปกคลุมบริเวณผิวหน้าของของเหลว ซึ่งเศษผักจะย่อยสลายจดหมดหรือเหลือเพียงเศษขนาดเล็ก
5. การใช้งานสามารถทำได้โดยตวงน้ำหมักชีวภาพสูตรบำรุงใบ 2 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 10 ลิตร นำไปฉีดพ่นใบพืชที่ต้องการ
น้ำหมักชีวภาพแต่ละสูตรมีความเหมาะสมกับการใช้งานแตกต่างกัน โดยน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตขึ้นจากวัสดุหลักที่ได้จากพืชหรือสัตว์ที่ไม่ผสมสารอื่นจะมีธาตุอาหารพืชในปริมาณน้อย ไม่เพียงพอต่อการใช้งานเพื่อทดแทนปุ๋ย จึงจำเป็นต้องใช้บำรุงพืชร่วมกับปุ๋ยชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้น้ำหมักชีวภาพที่มีสารธรรมชาติอาจใช้เพื่อควบคุมแมลงหรือมีสมบัติป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิดได้ ซึ่งประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพจึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมกับชนิดและกระบวนการหมัก
วีดิทัศน์เรื่อง น้ำหมักชีวภาพ
กลับไปที่เนื้อหา
การปลูกผักเชิงพาณิชย์หรือการปลูกผักเพื่อการค้าโดยทั่วไปต้องมีการปลูกต่อเนื่องกันตลอดทั้งปี แต่เนื่องจากผักเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น และมีศัตรูพืชรบกวนมาก การใช้สารเคมีจึงเป็นวิธีที่มีการใช้งานเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรที่ออกสู่ตลาดผู้บริโภคต้องมีลักษณะสวยงามและสดใหม่ เป็นเหตุให้มีการปนเปื้อนและพบสารพิษตกค้างในผลผลิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคแล้วยังส่งผลต่อระบบนิเวศอีกด้วย จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดการใช้สารเคมีด้วยการปลูกผักในโรงเรือนตาข่าย หรือที่เรียกว่าผักกางมุ้ง
ผักกางมุ้ง หมายถึง การปลูกผักในมุ้งตาข่ายหรือการปลูกผักโดยการใช้วิถีการทางธรรมชาติร่วมกับวิถีการอื่น ๆ ที่ปลอดภัย เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืช การปลูกผักวิธีนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกผักที่มีการปลูกหลายรุ่นและปลูกต่อเนื่องกันตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกษตรกรมีการใช้ตาข่ายที่ได้มาตรฐาน ก็จะสามารถป้องกันศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ ได้มากกว่าร้อยละ 70 และยังช่วยป้องกันการเล็ดลอดของแมลงในพื้นที่ที่มีการระบาดได้มากถึงร้อยละ 80 อีกด้วย
การปลูกผักกางมุ้ง นอกจากจะมีประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ยังมีประสิทธิภาพในการจัดการแปลงปลูกสูง คือ สามารถประหยัดการใช้น้ำได้มากกว่าการปลูกผักแบบปกติถึงร้อย 50 ทั้งนี้ เนื่องจากภายในมุ้งตาข่ายจะมีอุณหภูมิและความชื้นสูงกว่าภายนอก และยังช่วยลดแรงปะทะของเม็ดฝนที่ทำให้ผักชะงักการเจริญเติบโต จึงทำให้พืชผักเจริญเติบโตเร็วกว่าปกติ ชนิดของผักที่เหมาะสมกับการปลูกในมุ้ง ควรเป็นผักที่เสี่ยงต่อการเข้าทำลายของแมลง เช่น ผักคะน้า กวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี ผักกาด เป็นต้น หรือควรเป็นพืชที่มีผู้นิยมบริโภคและตลาดมีความต้องการสูง
การปลูกผักการมุ้งควรคำนึงถึงสิ่งที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.ลักษณะของโรงเรือนที่ดี
- ต้องได้รับแสงตลอดทั้งวัน
- ใกล้แหล่งน้ำ
- บริเวณรอบๆต้องไม่มีหญ้าหรือพืชเพราะเป็นแหล่งที่อยู่ของโรคและแมลง
- ภายในโรงเรือนต้องเป็นพื้นที่เรียบและเป็นระเบียบ
- ต้องมีระบบน้ำพร้อมและสามารถปรับอุณหภูมิภายในโรงเรือนได้
2.ปัจจัยที่มีผลต่อพืช
- ความชื้น
- อุณหภูมิ
- การให้ปุ๋ย
3.ส่วนผสมของดินปลูก
- หน้าดิน
- ขุยมะพร้าว ทำหน้าที่ในการอุ้มน้ำ
- แกลบดิบหรือเปลือกข้าวช่วยให้ดินโปร่ง
- ขี้เถ้าช่วยในการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน
- ปุ๋ยคอกเพื่อเป็นอาหารให้พืช
4.ผลผลิตที่ได้
- มีความปลอดภัยเนื่องจากไม่ใช้สารเคมี
- มีผลผลิตที่สูงกว่าพืชผักที่ปลูกแบบทั่วไป
5.ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในโรงเรือน
- โรคแมลงที่ติดเข้ามากับผู้ดูแลพืชผัก
- การเปิดโรงเรือนไว้นานเกินไป ทำให้แมลงสามารถเข้ามาในโรงเรือนได้
- ปริมาณน้ำฝนสะสมทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค ในช่วงที่มีพายุทำให้เกิดความชื้นสูงจึงมีความเสี่ยงต่อการใช้ยา เช่น ยากันเชื้อรา
แต่อย่างไรก็ตามการปลูกผักกางมุ้งนับเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนรักสุขภาพ รักการบริโภคผักปลอดสารพิษ และให้ผลผลิตดีมีคุณภาพมากกว่าพืชผักที่ปลูกโดยทั่วไป อีกทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกด้วย
วีดิทัศน์เรื่อง ผักกางมุ้ง
กลับไปที่เนื้อหา
-
คลังรูปภาพ
ชื่อ Galleryพิพิธภัณฑ์เกษตร เฉลิมพระเกียรติฯGalleryชื่อ Galleryพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเราGalleryชื่อ Galleryพิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรมGalleryชื่อ Galleryพิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพรGalleryชื่อ Galleryผักกางมุ้งGalleryชื่อ GalleryเกษตรเมืองGalleryชื่อ Galleryการทำปุ๋ยหมักGalleryชื่อ GalleryภาพพาโนรามาGallery
-
คลังวิดีทัศน์
พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
ในหลวงรักเรา
เจ้าฟ้านักอนุรักษ์
มหัศจรรย์พันธุกรรม
นวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง
ป่าดงพงไพร
เกษตรเมือง
ปลูกพืชบนดาดฟ้าและในวงบ่อ
-
แผนการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนแผนการสอนนายเทิดทูน บุญประกอบผู้เขียนแผนการสอนผู้เขียนแผนการสอนนางสาวนันท์นภัสร อ่อนสุวรรณ์ผู้เขียนแผนการสอนผู้เขียนแผนการสอนนางสาววันวิสาข์ ภูมิภูผู้เขียนแผนการสอน