แหล่งเรียนรู้กรมปศุสัตว์
- 1. การแนะนำ
- 2. ตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้
- 3. ที่ตั้งและความเป็นมา
- 4. บทบาทและหน้าที่ของกรมปศุสัตว์
- 5. การคัดเลือกพันธุ์
- 6. ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์ผสมเทียมลำพญากลาง
- 7. การรีดน้ำเชื้อ
- 8. การตรวจคุณภาพและการเจือจางอสุจิ
- 9. การบรรจุอสุจิใส่หลอดบรรจุน้ำเชื้อเพื่อนำไปแช่แข็ง
- 10. ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสระบุรี
- 11. อุปกรณ์ผสมเทียม
- 12. ขั้นตอนการผสมเทียมวัว
- 13. การถ่ายฝากตัวอ่อนโค
- 14. การรีดน้ำเชื้อพ่อพันธุ์แพะ
- 15. การตรวจคุณภาพน้ำอสุจิและการผสมเทียมแพะ
- 16. การรีดน้ำเชื้อพ่อพันธุ์สุกร
- 17. การตรวจคุณภาพน้ำอสุจิและการผสมเทียมสุกร
- - ทุกหน้า -
ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ศึกษา วิจัย ด้านการผลิต การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ เพื่อให้ได้สัตว์พันธุ์ดี ถูกสุขลักษณะ iรวมทั้งการอนุรักษ์พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพด้านการปศุสัตว์และ รักษาสิ่งแวดล้อมจากการปศุสัตว์ ดำเนินการพัฒนา การตรวจสอบ รับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐานถูกสุขอนามัยและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ดำเนิน การผลิตและจัดหาชีวภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ รวมทั้งศึกษา วิจัย ด้านระบาดวิทยา โรคระบาดสัตว์ กำจัดโรคสัตว์ โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีชั้นสูงด้านการปศุสัตว์ ทั้งด้านการผลิต สุขศาสตร์ และสุขอนามัยสัตว์ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมปศุสัตว์หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
กลับไปที่เนื้อหา
สาระ มาตรฐานและตัวชี้วัดชั้นปี
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 – ม.3 ) และช่วงชั้นที่ 4 (ม. 4 – ม.6)
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของ ระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ตัวชี้วัด ( ม.2)
4. อธิบายหลักการและผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ และเพิ่มผลผลิตของสัตว์และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกลักษณะของพ่อพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการผสมเทียมได้
2. บอกวิธีการสังเกตอาการสัตว์ที่มีความเป็นสัดได้
3. บอกลักษณะของน้ำเชื้อที่มีคุณภาพได้
4. อธิบายวิธีการรีดเก็บน้ำเชื้อและการบรรจุน้ำเชื้อแช่แข็งได้
5. อธิบายขั้นตอนการผสมเทียมของสัตว์ชนิดต่างๆได้
6. อธิบายวิธีการถ่ายฝากตัวอ่อนโคได้
กลับไปที่เนื้อหา
กรมปศุสัตว์(Department of Livestock Development) เป็นหน่วยงานราชการไทย ประเภทกรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ 69/1 ถนน พญาไท แขวง ถนนพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร มีประวัติการก่อตั้ง คือ ในปีพ.ศ. 2447ได้มีการเริ่มกิจการทางสาขาสัตวแพทย์ขึ้นใน"กรมช่างไหม"กระทรวงเกษตราธิการในสมัยนั้น โดยได้มีการเปิดสอนวิชาสัตวแพทย์ขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 กรมช่างไหมได้เปลี่ยนชื่อเป็น"กรมเพาะปลูก"ซึ่งได้มีการจัดตั้งกิจการผสมสัตว์ และกิจการแผนกรักษาสัตว์ขึ้นในกรม ในปี พ.ศ. 2474 ได้โอนกรมเพาะปลูกไปร่วมกิจการของกองตรวจพันธุ์รุกขชาติ โดยจัดตั้งขึ้นเป็น"กรมตรวจกสิกรรม"สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 ได้แยกกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมออกเป็นกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรพาณิชย์ ซึ่งต่อมากระทรวงเกษตรพาณิชย์ได้เปลี่ยนเป็นกระทรวงเศรษฐการ และในส่วนกรมตรวจกสิกรรมได้เปลี่ยนชื่อเป็น"กรมเกษตร"ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น"กรมเกษตรและการประมง" จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 "กรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมการปศุสัตว์"สังกัดกระทรวงเกษตร (เปลี่ยนชื่อจากกระทรวง เกษตราธิการ) และในปลายปี พ.ศ. 2495 ได้ย้ายที่ตั้งกรมจากข้างป้อมพระสุเมรุถนนพระอาทิตย์มาอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบันถนนพญาไท เขตราชเทวีกรุงเทพฯ และในปีถัดมาคือในวันที่ 26 ธันวาคม 2496 กรมการปศุสัตว์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมปศุสัตว์"ดังเช่นในปัจจุบัน
กรมปศุสัตว์ แบ่งการบริหาราชการออกเป็น 2 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนกลาง ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการกรม กองการเจ้าหน้าที่ กองคลัง กองแผนงาน สำนักกฎหมาย สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ ศูนย์สารสนเทศ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ สำนักงานตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์ กรุงเทพมหานคร และสำนักงานปศุสัตว์เขต 1-9 สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย สำนักงานปศุสัตว์ในแต่ละจังหวัด
กลับไปที่เนื้อหา
กรมปศุสัตว์ (Department of Livestock Development) เป็นหน่วยงานราชการไทย ประเภทกรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางและนโยบาย การควบคุม การกำกับ การส่งเสริม การวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการปศุสัตว์ รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพด้านการปศุสัตว์ โดยมีบทบาทและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้ากฤหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2) ศึกษา วิจัย และพัฒนาด้านการผลิต การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ เพื่อให้ได้สัตว์พันธุ์ดี ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งการอนุรักษ์พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพด้านการปศุสัตว์และรักษาสิ่งแวดล้อมจากการปศุสัตว์
3) ส่งเสริม พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์ และบริหารจัดการการประสานความร่วมมือด้านการปศุสัตว์ทั้งในและต่างประเทศ
4) บริการให้แก่เกษตรกรด้านการปศุสัตว์
5) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมปศุสัตว์หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
โดยบทบาทการทำงานของกรมปศุสัตว์นั้นอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เช่น การควบคุมป้องกันโรค การตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ การพัฒนาพันธุ์สัตว์ โดยเฉพาะการขยายพันธุ์สัตว์โดยวิธีผสมเทียม ซึ่งช่วยเพิ่มจำนวนของสัตว์ได้จำนวนมาก ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับและได้รับความร่วมมือจากเกษตรเป็นอย่างมาก
วีดิทัศน์เรื่อง บทบาทและหน้าที่ของกรมปศุสัตว์
กลับไปที่เนื้อหา
การคัดเลือกเป็นขบวนการที่สัตว์ตัวใดตัวหนึ่งมีโอกาสที่จะถูกคัดเลือกไว้เพื่อให้สืบพันธุ์ไปยังชั่วอายุต่อไป การคัดเลือกพันธุ์เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ โดยใช้ร่วมกับแผนการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้สัตว์รุ่นต่อๆไปที่มีลักษณะที่ดีตามความต้องการมากยิ่งขึ้น ซึ่งกรมปศุสัตว์ใช้เวลากว่า 10 ปี จึงประสบความสำเร็จในการคัดเลือกพ่อพันธุ์โคนม โดยมีชื่อพันธุ์ว่า“ทรอปิคอลโฮลสไตน์” โคนมสายเลือดไทย ที่มีความดีเด่นในด้านผลผลิตน้ำนม และรูปร่างโคนมที่ดี สามารถให้กำเนิดลูกสาวพันธุกรรมดีซึ่งให้น้ำนมสูงถึง 5,000-6,000 กิโลกรัม/305วัน ในพ่อพันธุ์โคนมใช้เวลานานเฉลี่ย 6 ปี
ที่พ่อโคแต่ละตัวจะผ่านการพิสูจน์พันธุ์ เพราะต้องรอวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตน้ำนมของลูกสาวที่เกิดจากพ่อโค ส่วนโคเนื้อจะใช้เวลาประมาณ 3 – 4 ปี พ่อโคที่ผ่านการทดสอบแล้วจะถูกนำออกใช้บริการต่อไป ส่วนพ่อโคที่พิสูจน์ว่าถ่ายทอดพันธุกรรมที่ไม่ดีพอจะถูกคัดออกจากการเป็นพ่อพันธุ์ สำหรับการคัดเลือกพ่อพันธุ์ จะมีการบันทึกข้อมูลต่างๆของวัวแต่ละตัวทุกเดือนจนกว่าจะถึงเวลาที่ถูกคัดเลือก
ซึ่งเรียกว่า Performance test เช่น รูปร่างหน้าตาความยาวและความหนาของลำตัวความยาวรอบอกความลึกของช่วงท้องความสูงและความกว้างใหญ่ของตะโพกความแข็งแรงของเท้าและขาอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นต้น ซึ่งพ่อพันธุ์ที่ดีควรมีลักษณะต่างๆ เช่น
- หน้าตาดีและใหญ่ มีความสมเป็นพ่อพันธุ์
- คอมีความแข็งแรงได้สัดส่วนกับลำตัว
- มีอัณฑะใหญ่ซึ่งจะทำให้น้ำเชื้อมีคุณภาพดี มีความเข้มข้นของตัวอสุจิมากอสุจิแข็งแรงและ
ปริมาณน้ำเชื้อมาก
- หลังตรง
- อกใหญ่ ซึ่งบ่งบอกถึงการมีปอดและหัวใจที่ใหญ่ สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ดี
- ขาแข็งแรง ไม่ตรงหรือโค้งเกินไป
คำถาม: น้ำเชื้อที่ได้จากพ่อพันธุ์ชั้นดีนั้นจะเป็นอย่างไร?
วีดิทัศน์เรื่อง การคัดเลือกพันธุ์
กลับไปที่เนื้อหา
ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์ผสมเทียมลำพญากลางจ.ลพบุรี มีหน้าที่เก็บรักษาน้ำเชื้อนำเข้าของกรมปศุสัตว์และผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งที่เป็นพ่อพันธุ์ภายในประเทศ รับและเบิกจ่ายน้ำเชื้อแช่แข็ง
(Semen Bank) ให้แก่ศูนย์วิจัยการผสมเทียมต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำหน่ายน้ำเชื้อแช่แข็งของพ่อพันธุ์ และรวบรวมข้อมูลประวัติโคพ่อพันธุ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง จะทำการรีดเก็บน้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ที่มีลักษณะที่ดี ซึ่งมี 3 วิธี คือ การใช้ช่องคลอดเทียมการใช้มือนวดและการรีดเก็บด้วยไฟฟ้า โดยวิธีที่นิยมมากที่สุดคือ การใช้ช่องคลอดเทียม ซึ่งเป็นวิธีที่กระตุ้นความกำหนัดของพ่อพันธุ์ด้วยการใช้ตัวล่อแล้วให้พ่อพันธุ์ขึ้นทับ จากนั้นจะสวมช่องคลอดเทียมให้พ่อพันธุ์ปล่อยเชื้อลงไป สำหรับตัวล่อที่ใช้มี 3 แบบ คือ
1) วัวเพศผู้ที่ตอนแล้วโดยใช้วัวเพศผู้ที่รีดน้ำเชื้อได้น้อยมาตอนด้วยการตัดอัณฑะ ซึ่งจะให้ฟีโรโมนเหมือนกับเพศเมีย จึงสามารถดึงดูดวัวเพศผู้ด้วยกันเองได้วัวเพศผู้ที่ตอนแล้วนิยมถูกนำมาใช้เป็นตัวล่อ เนื่องจากในแต่ละวันมีการรีดน้ำเชื้อจำนวนมาก ถ้าใช้ตัวเพศเมียเป็นตัวล่อจะรับน้ำหนักไม่ไหว
2) วัวเพศเมีย ต้องใช้วัวที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์และอยู่ในช่วงของการเป็นสัด เพื่อกระตุ้นให้เพศผู้มีความกำหนัดมากขึ้น
3) หุ่นล่อเป็นวัสดุที่ทำเลียนแบบคล้ายวัวโดยนำหนังวัวมาหุ้มและเคลื่อนที่ได้ นิยมใช้ในการฝึกพ่อพันธุ์ใหม่ซึ่งไม่เคยถูกรีดน้ำเชื้อมาก่อน
สำหรับความถี่ในการรีดน้ำเชื้อพ่อพันธุ์หนึ่งตัว ใน 1 สัปดาห์จะรีดน้ำเชื้อได้ 2 วัน และใน 1 วันจะรีดน้ำเชื้อได้ 2 ครั้ง โดยต้องให้พ่อพันธุ์พัก 3 วัน จึงจะรีดน้ำเชื้อใหม่ได้ ซึ่งการเก็บน้ำเชื้อถี่ไปจะทำให้ปริมาณตัวอสุจิลดลง
วีดิทัศน์เรื่อง ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งลำพญากลาง
กลับไปที่เนื้อหา
ในการรีดเก็บน้ำเชื้อพ่อพันธุ์เพื่อใช้ในการผสมเทียม พ่อพันธุ์จะต้องมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรค และพร้อมที่จะทำการผสมพันธุ์ ก่อนการรีดน้ำเชื้อ ควรอาบน้ำล้างทำความสะอาดพ่อโคและโคตัวล่อก่อนทำการรีดเก็บน้ำเชื้อ โดยเฉพาะบริเวณช่วงขา กีบ ช่วงท้องและส่วนท้าย ใช้น้ำยาฆ่าเชื้ออ่อน ๆ หรือน้ำเกลือชำระล้างภายในกระพุ้งหนังหุ้มลึงค์ของพ่อโคและตัดขนที่บริเวณหนังหุ้มลึงค์ให้สั้น
การรีดน้ำเชื้อโดยใช้ช่องคลอดเทียม วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยม เนื่องจากเป็นวิธีที่รีดเก็บน้ำเชื้อได้ปริมาณมากและมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกับการหลั่งน้ำเชื้อโดยธรรมชาติ สามารถเก็บได้สะดวก ใช้เวลาไม่นานและควบคุมการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมได้ดี ช่องคลอดเทียมในโค ประกอบด้วย 1) ตัวช่องคลอด เป็นท่อยางแข็งรูปทรงกระบอก 2) ท่อยางอ่อน สอดเข้าข้างใน และม้วนปิดปลายทั้ง 2 ข้างของกระบอก และรัดด้วยยาง จะทำให้เกิดช่องว่างสำหรับบรรจุน้ำอุ่น 3) กรวยยาง เป็นกรวยสวมปิดทับท่อยางอ่อนที่ปลายด้านหนึ่ง อุณหภูมิประมาณ 38 – 56 OC 4) หลอดเก็บน้ำเชื้อและ 5) ปลอกป้องกันแสง
เมื่อเตรียมตัวล่อและช่องคลอดเทียมเรียบร้อย พร้อมจะทำการรีดเก็บน้ำเชื้อ จึงทำการจูงโคพ่อพันธุ์ออกมาจากคอกเพื่อให้ได้น้ำเชื้อที่มีคุณภาพดีที่สุดและมีปริมาณมากที่สุด ควรให้พ่อพันธุ์เกิดความกำหนัดมากที่สุดก่อนที่จะหลั่งน้ำเชื้อ โดยขณะที่พ่อพันธุ์จะขึ้นขี่ตัวล่อ ให้ดึงพ่อพันธุ์ลงและให้ปีนใหม่สัก 2-3 ครั้ง แล้วจึงปล่อยให้พ่อพันธุ์ขี่ตัวล่อเพื่อทำการรีดเก็บน้ำเชื้อ ถ้าผู้ทำการรีดน้ำเชื้อถือช่องคลอดเทียมด้วยมือขวา ควรเข้าทำการรีดเก็บน้ำเชื้อโดยเข้าทางด้านขวาของพ่อพันธุ์ ถ้าผู้ทำการรีดถือช่องคลอดเทียมด้วยมือซ้าย ควรเข้าทำการรีดเก็บน้ำเชื้อทางด้านซ้ายของพ่อพันธุ์เมื่อพ่อพันธุ์ขึ้นขี่ตัวล่อ อวัยวะเพศของพ่อพันธุ์จะแข็งและยืดยาวออกจากหนังหุ้ม ผู้ทำการรีดจะต้องใช้มือข้างที่ไม่ได้ถือช่องคลอดเทียม เหนี่ยวโคนของอวัยวะเพศพ่อพันธุ์ให้เบนเฉียงออกจากตัวล่อ แล้วใช้ช่องคลอดเทียมสวมเข้ากับอวัยวะเพศพ่อพันธุ์พ่อพันธุ์จะกระแทกอย่างรุนแรงและจะหลั่งน้ำเชื้อออกมาจากนั้นบันทึกหมายเลขผู้รีดเชื้อ หมายเลขวัว และจำนวนครั้งที่รีดลงบนหลอดเก็บน้ำเชื้อ แล้วนำไปตรวจคุณภาพของน้ำเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์
วีดิทัศน์เรื่อง การรีดน้ำเชื้อ
กลับไปที่เนื้อหา
การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อส่วนใหญ่จะเน้นการตรวจลักษณะทางกายภาพ เช่น
1) ปริมาตร ปริมาตรของน้ำเชื้อขึ้นอยู่กับ ชนิด ขนาด พันธุ์ อายุ และความถี่ในการรีดน้ำเชื้อ รวมทั้งการกระตุ้นก่อนการรีดน้ำเชื้อ
2) สีลักษณะของน้ำเชื้อโคที่ปกติ ต้องเป็นสีขาวครีมจนถึงเหลืองจาง ๆ มีกลิ่นเพียงเล็กน้อย น้ำเชื้อที่มีตัวอสุจิน้อยมักจะใส
3) สิ่งปนเปื้อนหลังจากตั้งน้ำเชื้อไว้สักครู่ควรส่องดูบริเวณก้นหลอดว่ามีสิ่งสกปรกตกตะกอนหรือไม่ การมีสิ่งสกปรกปนอยู่อาจเนื่องมาจากการทำความสะอาดตัวสัตว์ไม่เพียงพอก่อนการรีดน้ำเชื้อ
4) ความข้น วัดด้วยเครื่อง Spectrophotometer โดยน้ำเชื้อที่สามารถนำไปผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งได้ต้องมีความเข้มข้นไม่ต่ำกว่า 300 ล้านตัว ต่อ 1 cc
5) การเคลื่อนไหว แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
- การเคลื่อนไหวหมู่ (Mass movement) ประเมินโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ ที่ 40-100 เท่า จะพบการเคลื่อนที่แบบคลื่น
- การเคลื่อนไหวรายตัว (Individual movement) เป็นการสังเกตอสุจิรายตัว ภายใต้กล้องขยาย 400 เท่าบันทึกอัตราการเคลื่อนที่ตรงไปข้างหน้าคำนวณเทียบเป็น %ซึ่งต้องมีการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าไม่ต่ำกว่า 70%โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วกลุ่มที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้ากลุ่มที่ไม่เคลื่อนที่แต่ยังไม่ตายและกลุ่มที่ตายแล้ว
การเจือจางน้ำเชื้อ เป็นการเพิ่มปริมาณของน้ำเชื้อให้มากขึ้น เพื่อแบ่งผสมให้กับแม่พันธุ์ได้หลายตัว โดยนำน้ำเชื้อที่วัดความเข้มข้นแล้วไปเจือจางด้วยสารละลายเจือจาง คือ ไข่แดง ทริส(Egg-York Tris) และสารอื่นๆอีก เช่น กลีเซอลอลให้มีความเข้มข้น 20 ล้านตัว ต่อ 1 ซีซี
วีดิทัศน์เรื่อง การตรวจสอบคุณภาพและการเจือจางอสุจิ
กลับไปที่เนื้อหา
เมื่อเจือจางน้ำเชื้อแล้วจะเข้าสู่กระบวนการบบรรจุน้ำเชื้อลงหลอดและนำไปแช่แข็ง ส่วนใหญ่ใช้หลอดบรรจุขนาด 0.25 มิลลิลิตรโดยที่หลอดต้องมีข้อมูลต่างๆ ดังนี้ คือ ผู้ผลิต หมายเลขพ่อพันธุ์ สายเลือด และ วันที่ผลิต หลังจากบรรจุน้ำเชื้อลงหลอดด้วยเครื่องบรรจุน้ำเชื้ออัตโนมัติแล้ว ทำการเรียงหลอดน้ำเชื้อลงบนถาดให้หลอดน้ำเชื้อเรียงตัวเป็นแถวเดียว ไม่มีการซ้อนทับกัน เพื่อขณะทำการลดอุณหภูมิในขั้นตอนต่อไป น้ำเชื้อทุกหลอดจะได้รับความเย็นเท่า ๆ กัน จากนั้นนำไปทำให้เย็นลงที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา4 ชั่วโมง เพื่อทำให้เกิดความสมดุลระหว่างตัวอสุจิกับสารละลาย ก่อนนำไปลดอุณหภูมิด้วยเครื่องแช่แข็งน้ำเชื้อที่อุณหภูมิ –140 องศาเซลเซียส ในเวลาควบคุมประมาณ 6นาที แล้วเก็บลงในถังไนโตรเจนเหลวที่ -196 องศาเซลเซียสจากนั้นต้องนำไปตรวจคุณภาพของน้ำเชื้ออีกครั้งหนึ่ง จึงจะนำไปผสมเทียมได้ โดยน้ำเชื้อที่ไม่ได้มาตรฐานจะถูกทำลายทิ้ง
วีดิทัศน์เรื่อง การบรรจุอสุจิใส่หลอดบรรจุน้ำเชื้อเพื่อนำไปแช่แข็ง
กลับไปที่เนื้อหา
ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสระบุรีเป็นหน่วยงานของสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ มีบทบาทและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1) ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผสมเทียมและวิทยาการสืบพันธุ์ ปัญหาทางระบบสืบพันธุ์ รวมทั้งการตรวจวินิจฉัย เพื่อหาสาเหตุและการแก้ไขปัญหาทางระบบสืบพันธุ์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
2) ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ การทดสอบสกุลสัตว์ การแก้ไขปัญหาทางระบบสืบพันธุ์ การปรับปรุงและการขยายพันธุ์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
3) วางแผนและดูแลการปฏิบัติงานของหน่วยผสมเทียมทั่วประเทศ
4) เป็นห้องปฏิบัติการเบื้องต้นสำหรับการวินิจฉัยปัญหาการผสมพันธุ์ การผสมติดยากในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
5) ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพการปศุสัตว์
6) พัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผสมเทียม การย้ายฝากตัวอ่อนโคนม โคเนื้อ กระบือ สุกร แพะ และปศุสัตว์อื่นๆ
7) ให้บริการด้านสุขภาพสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางระบบสืบพันธุ์
ศูนย์วิจัยจะมีธนาคารน้ำเชื้อซึ่งเก็บน้ำเชื้อแช่แข็งภายใต้ไนโตรเจนเหลวที่ -196 องศาเซลเซียส เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำเชื้อ สำหรับแจกจ่ายให้หน่วยงานหรือเกษตรกรนำไปใช้ผสมเทียมต่อไป
วีดิทัศน์เรื่อง ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสระบุรี
กลับไปที่เนื้อหา
อุปกรณ์การผสมเทียม ประกอบด้วย
1) ถังเก็บน้ำเชื้อ (ไนโตรเจนเหลวที่ -196 องศาเซลเซียส)
2) กระติกใส่น้ำอุ่น ใช้สำหรับการละลายน้ำเชื้อ ซึ่งต้องมีอุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส
3) พลาสติกชีทใช้สำหรับป้องกันไม่ให้หลอดบรรจุน้ำเชื้อหลุดเข้าไปในตัวของวัว
4) ปืนผสมเทียม (ปืนฉีดน้ำเชื้อ)
5) แซนนิตารีชีท ในการผสมเทียมตามปกติปืนฉีดนํ้าเชื้อที่มีพลาสติกชีทหุ้มจะสอดผ่านอวัยวะเพศ ผ่านช่องคลอดและผ่านคอมดลูกเลยเข้าไปถึงตัวมดลูกในขณะปลายปืนฉีดนํ้าเชื้อสอดผ่านส่วนต่างๆจะเป็นการพาเอาสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคที่อยู่ตามส่วนต่างๆ เข้าไปในมดลูกด้วยส่งผลให้อัตราการผสมติดตํ่าดังนั้นปัจจุบันจึงพยายามลดการปนเปื้อน ของเชื้อโรคจากภายนอกที่อาจเข้าไปสู่ตัวมดลูกโดยการใช้แซนนิตารีชีทหุ้มอีกชั้นหนึ่ง
6) ถุงมือ ที่มีความยาวถึงหัวไหล่
7) ผ้ากันเปื้อน
วีดิทัศน์เรื่อง อุปกรณ์การผสมเทียม
กลับไปที่เนื้อหา
ก่อนที่จะมีการผสมเทียมวัว ต้องตรวจสอบก่อนว่าแม่วัวตัวใดมีความเป็นสัดซึ่งพร้อมจะผสมเทียมได้ โดยแม่วัวที่เป็นสัดจะยืนนิ่งเมื่อมีตัวอื่นมาปีนทับน้ำนมลด มีนํ้าเมือกใสไหลออกจากปากช่องคลอดและเยื่อเมือกช่องคลอดบวมแดง และเพื่อยืนยันการเป็นสัดให้ทำการล้วงตรวจการเป็นสัดทางทวารหนักโดยสวมถุงมือและหล่อลื่นตรวจดูสภาพของคอมดลูก ตัวมดลูก ปีกมดลูก โดยคอมดลูกควรมีลักษณะแน่นแข็งตัวมดลูกและปีกมดลูกควรมีลักษณะแข็งแต่มีความหยุ่นตัวสูงขั้นตอนการผสมเทียมวัว ประกอบด้วย
1) การเตรียมปืนผสมเทียม
โดยละลายน้ำเชื้อในน้ำอุ่น 35-37 องศาเซลเซียส นาน 30 วินาที จากนั้นเช็ดหลอดบรรจุน้ำเชื้อให้แห้ง แล้วบรรจุใส่ในปืนผสมเทียม ครอบด้วยพลาสติกชีทและแซนนิตารีชีท
2) การสอดปืนผสมเทียมผ่านเข้าไปในคอมดลูก
ใช้มือข้างหนึ่งล้วงไปที่ลำไส้ใหญ่ จับคอมดลูกไว้และยกขึ้นให้อยู่ระดับเดียวกับปืนผสมเทียมจากนั้นใช้หัวแม่มือกดหาส่วนที่เป็นรูเปิดของคอมดลูกซึ่งจะเป็นช่องทางที่จะสอดปืนผ่านเข้าไปในคอมดลูกเมื่อพบแล้วให้สอดปลายปืนฉีดนํ้าเชื้อไปจนชนนิ้วหัวแม่มือจากนั้นหลบหัวแม่มือออกปลายปืนจะผ่านเข้าไปในรูของคอมดลูก
การที่จะทราบว่าการผสมเทียมประสบผลสำเร็จหรือไม่ ให้สังเกตการเป็นสัดของแม่วัว ซึ่งโดยธรรมชาติถ้าวัวมีรอบการเป็นสัดมาปกติ และไม่ตั้งท้อง ทุก 20-21 วัน จะแสดงอาการเป็นสัด ดังนั้นถ้าผสมเทียมติด ในอีก 21 วัน วัวจะไม่แสดงอาการเป็นสัด จากนั้นอีก 45-60 วัน ให้เจ้าหน้าที่มาตรวจท้อง ถ้าพบว่าปีกมดลูกมีการขยายมากกว่าปกติ แสดงว่ามีการตั้งท้อง
วีดิทัศน์เรื่อง ขั้นตอนการผสมเทียมวัว
กลับไปที่เนื้อหา
การถ่ายฝากตัวอ่อน คือ การนำตัวอ่อนที่เกิดจากการผสมระหว่างตัวอสุจิของพ่อพันธุ์และไข่ของแม่พันธุ์ที่คัดเลือกไว้ แล้วล้างเก็บออกมาจากมดลูกของแม่พันธุ์ ต่อจากนั้นนำไปฝากใส่ไว้ให้เติบโตในมดลูกของตัวเมียอีกตัวหนึ่งให้อุ้มท้องไปจนคลอด การถ่ายฝากตัวอ่อนนิยมทำกับสัตว์ที่มีการตกลูกครั้งละ 1 ตัว และมีระยะเวลาตั้งท้องนาน เช่น โค กระบือ โดยประโยชน์ของการถ่ายฝากตัวอ่อนคือ ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาเท่าเดิม ขยายพันธุ์ได้จำนวนมากช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขยายพันธุ์สัตว์ และช่วยในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่ใกล้สูญพันธุ์
ขั้นตอนการย้ายฝากตัวอ่อนเริ่มจากการเหนี่ยวนำการเป็นสัดในแม่โคตัวให้และโคตัวรับจากนั้นฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ และผสมเทียมแม่โคตัวให้ภายใน 12 ชั่วโมงหลังอาการสัด 2 – 3 ครั้ง จากนั้นจึงเก็บตัวอ่อน 7 วันหลังจากอาการสัดวันแรกโดยใช้เครื่องมือดูดเอาตัวอ่อน แล้วนำไปประเมินคุณภาพตัวอ่อนที่เก็บได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ตัวอ่อนที่ได้คุณภาพจะย้ายไปฝากในแม่โคตัวรับทันที หรือแช่แข็งไว้ใช้เมื่อแม่โคตัวรับมีความพร้อม หลังจากถ่ายฝากตัวอ่อนครบ 1 เดือนแล้วจึงตรวจสอบว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์
คำถาม:การผสมพันธุ์วัวโดยวิธีผสมเทียมกับการย้ายฝากตัวอ่อนแบบไหนจะให้ลูกวัวพันธุ์ดีกว่ากัน ?
วีดิทัศน์เรื่อง การย้ายฝากตัวอ่อนโค
กลับไปที่เนื้อหา
การรีดเก็บน้ำเชื้อพ่อพันธุ์แพะมีวิธีการคล้ายกันกับของโค แต่ตัวล่อที่ใช้ ต้องเป็นตัวเมียที่มีอาการเป็นสัด คือ กระวนกระวายส่งเสียงร้องหาเพศผู้และเข้าหาเพศผู้แกว่งหรือกระดิกหางเป็นจังหวะอวัยวะเพศบวมแดงเต้านมเต่งตึงมีน้ำเมือกไหลออกมาจากช่องคลอด และขึ้นทับแพะตัวอื่นหรือยินยอมให้ตัวอื่นขึ้นทับตัวเอง การรีดเก็บน้ำเชื้อพ่อพันธุ์แพะ มีขั้นตอนดังนี้
1) การเตรียมตัวล่อโดยจะต้องใช้ตัวล่อเป็นแพะเพศเมียที่เป็นสัดเนื่องจากแพะที่รีดเป็นพ่อแพะที่ไม่เคยฝึกการรีดน้ำเชื้อมาก่อนจึงจำเป็นจะต้องใช้ตัวล่อที่เป็นสัดซึ่งเตรียมโดยการเหนี่ยวนำให้แพะเพศเมียเป็นสัดในวันที่จะรีดน้ำเชื้อ
2) การเตรียมซองรีดซองรีดจะต้องแข็งแรงและพอดีกับตัวล่อไม่หลวมหรือคับจนเกินไปและมีที่ล็อกหรือยึดหัวของตัวล่อด้วยเพื่อป้องกันการหันหัวกลับของตัวล่อบริเวณคอกรีดจะต้องเป็นที่โล่งพื้นเรียบสงบไม่มีสิ่งรบกวนภายนอก
3) การเตรียมพ่อแพะที่จะรีดน้ำเชื้อ ต้องทำความสะอาดและตัดขนบริเวณลึงค์ให้สั้นเพื่อรักษาความสะอาดได้ง่าย
4) การเตรียมช่องคลอดเทียมประกอบช่องคลอดเทียมให้เรียบร้อยใส่กรวยรับน้ำเชื้อและหลอดรับน้ำเชื้อและมีถุงผ้าหรือหนังหุ้มไว้ภายนอกเพื่อป้องกันการกระแทกและกันแสงเติมน้ำอุ่นในช่องคลอดเทียมให้เต็มโดยใช้น้ำอุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส
5) เริ่มรีดน้ำเชื้อโดยนำตัวล่อเข้าซองรีดผูกตัวล่อให้อยู่เฉพาะในซอง แล้วนำพ่อแพะมาวนบริเวณด้านท้ายของตัวล่อผู้รีดถือช่องคลอดเทียมด้วยมือข้างที่ถนัดถ้าถนัดขวาก็อยู่ด้านขวาของตัวล่อให้ปลายของช่องคลอดเทียมหันไปทางหัวของตัวล่อจูงพ่อแพะมาที่ท้ายของตัวล่ออย่างสบายๆเมื่อพ่อแพะขึ้นตัวล่อให้ผู้รีดเบี่ยงลึงค์เข้ามาสวมในช่องคลอดเทียมอย่างนุ่มนวลแต่รวดเร็ว เมื่อพ่อแพะกระแทกแสดงว่าหลั่งน้ำเชื้อแล้วโดยครั้งหนึ่งจะเก็บน้ำเชื้อจากแพะได้ประมาณ 1-2 ซีซี จากนั้นนำเชื้อเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบคุณภาพต่อไป
วีดิทัศน์เรื่อง การรีดเก็บน้ำเชื้อพ่อพันธุ์แพะ
กลับไปที่เนื้อหา
หลังจากรีดน้ำเชื้อแล้ว บันทึกปริมาตรของน้ำเชื้อที่ได้ แล้วนำไปตรวจคุณภาพภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เช่น สี การเคลื่อนไหว และความเข้มข้น จากนั้นจึงนำน้ำเชื้อไปล้างให้เหลือเฉพาะตัวอสุจิ เติมน้ำยาละลายTris Dilutor สำหรับนำไปแช่แข็ง แล้วนำไปลดอุณหภูมิในตู้ควบคุมอุณหภูมิที่ 4 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง และบรรจุใส่หลอดบรรจุน้ำเชื้อเพื่อนำไปเก็บในถังไนโตรเจนเหลว สำหรับนำไปผสมเทียมต่อไป
การผสมเทียมแพะมีหลักการเช่นเดียวกับการผสมเทียมโคโดยมีขั้นตอน ดังนี้
1)นำแพะเพศเมียที่เป็นสัดเข้าซองบังคับ
2)ใช้อุปกรณ์ถ่างช่องคลอดสอดเข้าทางช่องคลอด
3)ใช้ไฟฉายส่องดูปากคอมดลูก
4)สอดปืนฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในช่องคลอด
5)สอดปืนฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในคอมดลูก
6)ฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในคอมดลูก
หลังจากผสมเทียมแล้วประมาณ 1 เดือนครึ่ง จึงนำแพะมาตรวจการตั้งท้องด้วยเครื่องอัลตราซาวด์
วีดิทัศน์เรื่อง การตรวจสอบคุณภาพน้ำอสุจิและการผสมเทียมแพะ
กลับไปที่เนื้อหา
ารเก็บน้ำเชื้อจากสุกรเพศผู้ในปัจจุบันนิยมใช้กันอยู่ 2 วิธีคือ การใช้อวัยวะเพศเมียเทียมและ การใช้มือบีบหรือนวดปลายอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศผู้แต่ในที่นี่จะอธิบายการเก็บน้ำเชื้อจากวิธีที่สอง
การใช้มือบีบหรือนวดอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้วิธีนี้นิยมทำในสุกรก่อนที่จะรีดเก็บน้ำเชื้อควรจะอาบน้ำทำความสะอาดพ่อสุกรก่อนโดยเฉพาะบริเวณถุงหุ้มอวัยวะเพศนอกจากนั้นควรตัดขนที่ปลายถุงหุ้มออกให้สั้นเพราะเวลาใช้มือจับอวัยวะเพศของพ่อพันธุ์จะได้ไม่ดึงขนออกมาด้วยถ้าพ่อพันธุ์ถูกดึงขนมันจะเจ็บและหดอวัยวะเพศของมันทันทีควรบีบน้ำปัสสาวะที่ค้างอยู่ที่ถุงหุ้มออกให้หมดล้างให้สะอาดแล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้งเพื่อเป็นการลดแบคทีเรียที่จะปะปนไปกับน้ำเชื้อหลังจากนั้นนำพ่อพันธุ์มายังคอกรีดเก็บน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ที่ผ่านการฝึกมาแล้วเมื่อมาถึงก็จะขึ้นหุ่นได้ทันทีควรปล่อยให้พ่อพันธุ์ปีนหุ่นและให้อวัยวะเพศแข็งตัวอยู่สักระยะหนึ่งก่อนเพื่อให้พ่อพันธุ์เกิดความต้องการผสมเต็มที่จะทำให้รีดเก็บน้ำเชื้อง่ายใช้มือที่ถนัดจับโดยการคว่ำมือลงจะทำให้จับได้ถนัดและแน่นในการจับครั้งแรกเอามือไปล็อคที่ปลายอวัยวะเพศของพ่อพันธุ์แล้วบีบรัดให้แน่นที่สุดอย่าให้หลุดเมื่อปลายอวัยวะเพศถูกบีบรัดเหมือนแรงกดที่คอมดลูกพ่อพันธุ์ก็จะพยายามยื่นอวัยวะเพศของมันออกมาจนสุดเห็นส่วนโคนอวัยวะเพศหลังจากนั้นพ่อพันธุ์จะหยุดเคลื่อนไหวยืนนิ่งจึงคลายแรงบีบออกบ้างเล็กน้อยแต่อย่าให้อวัยวะเพศหลุดแล้วทำการกระตุ้นอวัยวะเพศโดยการเขี่ยที่ปลายอวัยวะเพศอย่างเบาๆก็ได้เมื่ออวัยวะเพศของพ่อพันธุ์อ่อนตัวลงจึงค่อยคลายมือออก นำภาชนะที่ใส่น้ำเชื้อที่รีดได้ใส่ลงในกระติกหรือกล่องโฟมปิดฝาให้มิดชิด แล้วนำไปตรวจสอบคุณภาพของน้ำเชื้อต่อไป
วีดิทัศน์เรื่อง การรีดน้ำเชื้อพ่อพันธุ์สุกร
กลับไปที่เนื้อหา
หลังจากรีดน้ำเชื้อแล้ว ชั่งน้ำหนักของน้ำเชื้อที่ได้ แล้วนำไปตรวจคุณภาพภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เช่น ความแข็งแรงในการเคลื่อนไหวของเชื้ออสุจิ ซึ่งบ่งบอกถึงความสมบูรณ์พันธุ์ของพ่อพันธุ์พ่อพันธุ์ตัวไหนที่มีตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวไปข้างหน้าได้มากและแข็งแรงจัดว่าพ่อพันธุ์ตัวนั้นมีน้ำเชื้อที่เหมาะสมที่จะนำมารีดเก็บไว้เพื่อเจือจางต่อไปและ ดูความเข้มของเชื้ออสุจิซึ่งความเข้มข้นของเชื้ออสุจิมีความจำเป็นในการคำนวณเพื่อการเจือจางน้ำเชื้อ จากนั้นนำน้ำเชื้อไปเจือจางและบรรจุใส่หลอดน้ำเชื้อ สำหรับนำไปผสมเทียมต่อไป
การผสมเทียมสุกร จะฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในอวัยวะเพศเมียก่อนทำการฉีดน้ำเชื้อควรทำความสะอาดบริเวณปากช่องคลอดด้วยน้ำให้สะอาดใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือเปิดแคมนอกของอวัยวะเพศเมียออกแล้วสอดอวัยวะเพศผู้เทียมเข้าไปเอียงส่วนปลายขึ้นข้างบนทำมุม 30องศากับแนวนอนเพื่อป้องกันไม่ให้หลอดฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในท่อปัสสาวะเมื่อสอดอวัยวะเพศผู้เทียมผ่านพ้นท่อปัสสาวะเข้าไปแล้วสอดเข้าไปอีกตามแนวนอนจนถึงคอมดลูกจะรู้สึกสอดผ่านไม่สะดวกหมุนทวนเข็มนาฬิกาเพื่อให้เกลียวสว่านของอวัยวะเพศผู้เทียมเข้าไปล็อคอยู่ที่บริเวณคอมดลูกแต่ไม่ต้องให้เข้าไปถึงตัวมดลูกซึ่งจะเป็นทำให้เกิดการติดเชื้อได้จากนั้นรวบจับด้ามอวัยวะเพศผู้เทียมกับหางไว้เพื่อป้องกันการหลุดเมื่อแม่สุกรเดินทำการต่อขวดน้ำเชื้อเข้ากับอวัยวะเพศผู้เทียมน้ำเชื้อที่เก็บไว้ในที่เย็นไม่จำเป็นต้องอุ่นก่อนฉีดผสมเพียงแต่เขย่าโดยการคว่ำขวดน้ำเชื้อเบาๆเพื่อให้ตัวอสุจิกระจายทั่วน้ำเชื้อทำการฉีดน้ำเชื้อเข้าไปช้าๆโดยบีบขวดบรรจุน้ำเชื้อเบาๆถ้ามีน้ำเชื้อบางส่วนไหลกลับออกมาควรใช้มือกระตุ้นโดยลูบบริเวณเต้านมด้านข้างลำตัวและเขี่ยเบาๆเป็นระยะที่บริเวณปากช่องคลอดซึ่งจะช่วยให้น้ำเชื้อถูกดูดเข้ามดลูกจนหมดซึ่งเมื่อผสมเทียมแล้วแม่หมูจะมีระยะเวลาการตั้งท้องประมาณ 114 วัน
คำถาม: ทางฟาร์มจะให้ให้แม่หมูตั้งท้องกี่ครั้ง ?
วีดิทัศน์เรื่อง การตรวจคุณภาพน้ำอสุจิและการผสมเทียมสุกร
กลับไปที่เนื้อหา
-
คลังรูปภาพ
ชื่อ Galleryศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์(หมู)Galleryชื่อ Galleryศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อน(แพะ)Galleryชื่อ Galleryเก็บตัวอย่างGalleryชื่อ Galleryศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีย้ายฝากตัวอ่อน(วัว)Galleryชื่อ Galleryบรรยากาศกรมปศุสัตว์Galleryชื่อ GalleryภาพพาโนรามาGallery
-
คลังวิดีทัศน์
ตอน บทบาทและหน้าที่ของกรมปศุสัตว์
ตอน การคัดเลือกพันธุ์
ตอน ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์ผสมเทียมลำพญากลาง
ตอน การรีดน้ำเชื้อ
ตอน การตรวจสอบคุณภาพและการเจือจางอสุจิ
ตอน การบรรจุอสุจิใส่หลอดบรรจุน้ำเชื้อเพื่อนำไปแช่แข็ง
ตอน ศุนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสระบุรี
ตอน อุปกรณ์การผสมเทียม
-
แผนการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนแผนการสอนนางสาวจารุวรรณ วิจิตรวงศ์วาน โรงเรียนราชินีนาถราชวิทยาลัยผู้เขียนแผนการสอนนางสาวมณลดา ศุขอร่าม โรงเรียนราชินีนาถราชวิทยาลัยผู้เขียนแผนการสอนนางสาวกรรณิการ์ จาบถนอม โรงเรียนภัทรญาณวิทยาผู้เขียนแผนการสอนนางสาวกมลลักษณ์ เซี่ยงฉิน โรงเรียนภัทรญาณวิทยาผู้เขียนแผนการสอนนายทนงศักดิ์ แย้มเยื้อน โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษาผู้เขียนแผนการสอนนายจิตวิสุทธิ์ จารีย์ โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา
-
คำที่เกี่ยวข้อง