แหล่งเรียนรู้กรมอุตุนิยมวิทยา
- 1. การแนะนำ
- 2. ตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้
- 3. ที่ตั้งและการเดินทาง
- 4. ความเป็นมา
- 5. องค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ
- 6. สนามอุตุนิยมวิทยา
- 7. ความชื้นสัมพัทธ์
- 8. อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุด
- 9. เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน
- 10. ทิศทางลมและอัตราเร็วลม
- 11. การวัดแสงแดด
- 12. ความกดอากาศ
- 13. การตรวจอากาศชั้นบน
- 14. การพยากรณ์และวิเคราะห์ข้อมูลอากาศ
- 15. สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
- - ทุกหน้า -
ความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ ได้มาจากเฝ้าสังเกตและบันทึกไว้ มนุษย์ได้มีการสังเกตลมฟ้าอากาศมานานแล้ว เพราะมนุษย์อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมฟ้าอากาศโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องทราบลักษณะลมฟ้าอากาศที่เป็นประโยชน์และลักษณะอากาศที่เป็นภัย การสังเกตทำให้สามารถอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดลักษณะอากาศแบบต่าง ๆ ได้ อย่างไรก็ตามความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศนั้นยังมีอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับปรากฎการณ์ของบรรยากาศที่มนุษย์ยังไม่มีความเข้าใจอย่างเพียงพอ ทั้งนี้เพราะอุตุนิยมวิทยาซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับบรรยากาศและปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้องนั้น มีการพัฒนาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาได้ไม่นานนัก โดยก่อนหน้านี้มนุษย์เชื่อว่าลมฟ้าอากาศอยู่มากมาย สภาวะอากาศปัจจุบันที่ต้องใช้เป็นข้อมูลเริ่มต้นสำหรับการพยากรณ์อากาศนั้น ได้มาจากการตรวจอากาศ ซึ่งมีทั้งการตรวจอากาศผิวพื้น การตรวจอากาศชั้นบนในระดับความสูงต่าง ๆ สิ่งสำคัญที่ต้องทำการตรวจเพื่อพยากรณ์อากาศได้แก่ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น ลม เมฆ และฝน
กลับไปที่เนื้อหา
สาระ มาตรฐานและตัวชี้วัดชั้นปี (ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ชั้น ม.1 )
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศและสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัดชั้นปี
2. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้นและความกดอากาศที่มีต่อปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ
4. สืบค้น วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากการพยากรณ์อากาศ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เข้าใจความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศที่มีผลต่อมนุษย์ สัตว์ พืชและสิ่งแวดล้อม
2. บอกองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ ความเร็วลมและปริมาณฝนได้
3. บอกวิธีวัดค่าองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณฝน ความเร็วลมความกดอากาศได้
4. บอกกระบวนการในการพยากรณ์อากาศได้
5. บอกและแปลความหมายสัญลักษณ์ที่สำคัญในแผนที่อากาศได้
กลับไปที่เนื้อหา
กรมอุตุนิยมวิทยาเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งอยู่ เลขที่ 4353 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร ใกล้สี่แยกบางนา
ในกรุงเทพมหานคร จะเดินทางได้สะดวกด้วยรถไฟฟ้าสายหมอชิต – แบริ่ง โดยลงที่สถานีบางนาซึ่งอยู่หน้ากรมอุตุนิยมวิทยาพอดี หาก เดินทางมาจากภาคกลาง ภาคเหนือหรือภาคอิสานด้วยรถยนต์ ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ขึ้นทางด่วนเฉลิมมหานครที่ดินแดงตรงไปบางนาเลี้ยวลงทางไปสมุทรปราการ เมื่อลงจากทางด่วนประมาณ 500 เมตร ก็จะถึงทางเข้ากรมอุตุนิยมวิทยาซึ่งอยู่ซ้ายมือ และจากภาคใต้ก็เช่นดียวกัน ถ้าเดินทางไปตามถนนพระราม 2 จะใช้การข้ามสะพานพระราม 9 หรือสะพานขึงขึ้นทางด่วนดาวคะนองไปเชื่อมกับทางด่วนเฉลิมมหานครและตรงไป บางนา เช่นเดียวกัน ถ้า เดินทางมาจากภาคตะวันออกจะใช้เส้นทางสายบางนา-ตราด จนถึงสี่แยกบางนาแล้วเลี้ยวซ้ายไปทางสมุทรปราการประมาณ 500 เมตร ก็จะถึงกรมอุตุนิยมวิทยา
วีดิทัศน์ เรื่อง กรมอุตุนิยมวิทยา
กลับไปที่เนื้อหา
กรมอุตุนิยมวิทยาเป็นสมาชิกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก(World Meteorological Organization-WMO) เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยาได้กับประเทศสมาชิก 189 ประเทศ ทั่วโลก
กลับไปที่เนื้อหา
ลมฟ้าอากาศ สภาวะของลมฟ้าอากาศที่เกิดขึ้นใกล้ตัวเรา เช่นฝน อุณหภูมิ เมฆ หมอก คลื่นลม รวมทั้งภัยธรรมชาติที่รุนแรงและไม่รุนแรง ได้แก่ พายุหมุนเขตร้อน พายุฝนฟ้าคะนอง การเกิดอุทกภัย ภัยแล้ง ฯลฯ เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของเราอย่างมาก ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศเป็นสิ่งสำคัญ เพราะกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศจะมีผลต่อสภาพแวดล้อมบนพื้นผิวโลก เช่น ดิน น้ำ และสิ่งมีชีวิต ทั้งมนุษย์ สัตว์และพืช องค์ประกอบภูมิอากาศที่มีอิทธิพลต่อพืชได้แก่ แสงแดด อุณหภูมิ และความชื้น เป็นต้น
โดยแสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของพืช เพราะแสงแดดมีบทบาทโดยตรงในการสังเคราะห์ด้วยแสง พืชต้องการอุณหภูมิที่พอเหมาะสำหรับการเจริญเติบโต นอกจากนี้อุณหภูมิของดินก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืชด้วย ส่วนความชื้นไม่ว่าจะเป็นความชื้นในอากาศหรือความชื้นในดินล้วนมีความสำคัญ ต่อพืช เช่น ถ้ามีความชื้นน้อยเกินไปก็จะจำกัดการเจริญเติบโตของพืช หรือถ้ามีความชื้นมากเกินไปก็จะทำให้พืชเน่าตาย หรืออาจเป็นการเพิ่มโรคให้แก่พืช เป็นต้น สำหรับมนุษย์แม้ปัจจุบันจะมีการพัฒนาและมีความเจริญในด้านต่าง ๆ มากขึ้น แต่ภูมิอากาศก็ยังเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์อยู่ เช่น การที่ภูมิอากาศมีอิทธิพลต่อพืชและผลผลิตจึงมีผลกระทบต่อการบริโภคของมนุษย์ ด้วย รวมทั้งลักษณะที่อยู่อาศัย การตัดสินใจในการสร้างบ้านเรือนและการออกแบบวางผังบ้านเรือนเพื่อให้อยู่ อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย หรือลักษณะภูมิอากาศอาจเอื้ออำนวยต่อโรคหรือพาหะของโรคอันอาจก่อให้เกิด อันตรายต่อชีวิตมนุษย์ได้ เป็นต้น การ เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญซึ่งทำได้โดยการเก็บ รวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากการตรวจอากาศภาคผิวพื้น การตรวจอากาศชั้นบน ตลอดจนข้อมูลของสภาพอากาศจากพื้นที่โดยรอบจากดาวเทียม เรดาร์ และนำข้อมูลเหล่านี้มาประมวลเข้าด้วยกันเพื่อพยากรณ์สภาพอากาศให้เรารู้ล่วง หน้า ทำให้เราสามารถวางแผน รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศที่จะเกิดขึ้นได้
วีดิทัศน์ เรื่อง องค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ
กลับไปที่เนื้อหา
การตรวจอากาศภาคผิวพื้น เป็นการตรวจวัดค่าขององค์ประกอบต่าง ๆ ของลมฟ้าอากาศ เช่น อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน ความเร็วลม แสงอาทิตย์ เป็นต้น สถานีตรวจอากาศทุกแห่งทั่วประเทศจะมีเครื่องมือที่ใช้วัดองค์ประกอบเหล่านี้ ติดตั้งอยู่ในสนาม เรียกว่า สนามอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเป็นสนามหญ้าตัดสั้น อยู่กลางแจ้ง มีขนาดอย่างน้อยคือกว้าง 6 เมตรและยาว 9 เมตร อยู่ห่างจากสิ่งปลูกสร้างอย่างน้อย 2 เท่าของความสูงของสิ่งปลูกสร้าง ทุกสถานีต้องอ่านค่าต่าง ๆ จากเครื่องมือวัดพร้อมกันทุก ๆ 3 ชั่วโมง และต้องเป็นเวลาตรงกันทั่วโลก โดยเริ่มอ่านครั้งแรก เวลา 07.00 น. ของแต่ละวัน แล้วรวบรวมข้อมูล ที่อ่านได้ส่งไปยังศูนย์กลางเพื่อวิเคราะห์สภาพอากาศและพยากรณ์อากาศต่อไป
วีดิทัศน์ เรื่อง สนามอุตุนิยมวิทยา
คำถาม
- เหตุใดสนามอุตุนิยมวิทยาต้องอยู่ห่างจากสิ่งปลูกสร้างอย่างน้อย 2 เท่าของความสูงของสิ่งปลูกสร้าง
- เวลาในประเทศไทย 07.00 น. ตรงกับเวลามาตรฐานกรีนิช (GMT)ที่เวลาอะไร
- เหตุใด เทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้อ่านค่าต่าง ๆ จึงต้องอยู่ในเรือนเทอร์มอมิเตอร์
กลับไปที่เนื้อหา
ความชื้นสัมพัทธ์ เป็นการวัดความชื้นในบรรยากาศ โดยวัดอัตราส่วน (เป็นร้อยละระหว่างปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศในขณะนั้นกับปริมาณไอน้ำที่ จะมีอยู่ได้ เมื่ออากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิเดียวกัน
เครื่องมือสำหรับวัดความชื้นในบรรยากาศคือ ไฮกรอมิเตอร์ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่เรารู้จักกันดีคือ ไซโครมิเตอร์แบบกระเปาะแห้ง-กระเปาะเปียก ซึ่งเป็นไฮกรอมิเตอร์แบบหนึ่งประกอบด้วยเทอร์มอมิเตอร์สองอัน อันหนึ่งเป็นเทอร์มอมิเตอร์ธรรมดาหรือเรียกว่า เทอร์มอมิเตอร์กระเปาะแห้ง อีกอันหนึ่งเป็นเทอร์มอมิเตอร์ ซึ่งมีผ้ามัสลินหรือผ้าเปียกหุ้มที่กระเปาะ มีด้ายดิบต่อไปยังน้ำในถ้วยที่วางใต้เทอร์มอมิเตอร์เรียกว่า เทอร์มอมิเตอร์กระเปาะเปียก
เมื่อความชื้นในอากาศน้อย น้ำจะระเหยได้มาก น้ำที่อยู่ตรงกระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะเปียกจะระเหยโดยดูดความร้อน จากกระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์ ทำให้อุณหภูมิที่อ่านได้จากเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะเปียกต่ำกว่ากระเปาะแห้ง
- ถ้าอุณหภูมิที่อ่านได้จากเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะเปียกต่ำกว่ากระเปาะแห้งมาก ความชื้นในอากาศควรเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด
ไฮกรอมิเตอร์แบบอื่น ๆ ที่ใช้กันเช่น ไฮกรอกราฟ ใช้เส้นผมของมนุษย์หรือขนของสัตว์บางชนิด นำมาขึงให้ตึงและต่อกับคานกระเดื่องและแขนปากกา เส้นผมจะยืดและหดตัวตามการเปลี่ยนแปลงของความชื้นในอากาศ ปากกาจะขีดบันทึกค่าความชื้นของอากาศลงบนกระดาษกราฟ
วีดิทัศน์ เรื่อง การวัดความชืื้นสัมพัทธ์
กลับไปที่เนื้อหา
อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุด องค์ประกอบอย่างหนึ่งของลมฟ้าอากาศที่จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศใน แต่ละวันคืออุณหภูมิ จึงต้องมีการวัดค่าอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในแต่ละวันของพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เครื่องมือที่ใช้วัดคือเทอร์มอมิเตอร์ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะและวางไว้ในแนวนอนในเรือนเทอร์มอมิเตอร์
เทอร์มอมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิสูงสุด ภายในบรรจุปรอท มีคอคอดตรงใกล้กระเปาะเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นปรอทจะขยายตัวอ่านค่าได้มากขึ้น และเมื่ออุณหภูมิลดลงปรอทจะไม่สามารถหดตัวกลับลงสู่กระเปาะได้ ลำปรอทจะยังค้างอยู่ที่ตำแหน่งค่าสูงสุด การใช้งานจะวางในแนวนอนโดยให้ปลายของเทอร์มอมิเตอร์เอียงสูงกว่าด้านกระเปาะเล็กน้อย
เทอร์มอมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิต่ำสุด ภายในบรรจุแอลกอฮอล์ มีดัชนีแตะติดผิวบนสุดของลำแอลกอฮอล์ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นแอลกอฮอล์จะขยายตัวผ่านดัชนีไปได้ แต่เมื่ออุณหภูมิลดลงดัชนีจะเลื่อนตามแอลกอฮอล์ลงมาด้วยแรงดึงผิวของ แอลกอฮอล์ การใช้งานจะวางในแนวนอนพอดี ในเรือนเทอร์มอมิเตอร์
ถ้าใช้เทอร์มอมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิต่ำสุดวางในแนวนอนที่ระดับยอดหญ้า อุณหภูมิต่ำสุดที่วัดได้จะเรียกว่าอุณหภูมิที่ยอดหญ้า ข้อมูลนี้จะทำให้รู้ จุดน้ำค้าง ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ไอน้ำในอากาศถึงจุดอิ่มตัวโดยความกดอากาศและปริมาณไอน้ำ ไม่เปลี่ยนแปลง ไอน้ำจะควบแน่นเป็นหยดน้ำหรือน้ำค้างเกาะบนใบไม้ ใบหญ้าหรือวัตถุซึ่งอยู่ตามพื้นดินเมื่ออากาศมีอุณหภูมิเย็นลงต่ำกว่า จุดน้ำค้าง
นอกจากนี้ ยังมีการวัดอุณหภูมิใต้ดินเพื่อศีกษาการเจริญเติบโตทางรากของพืชในระดับ ต่างๆ ด้วย โดยวัดอุณหภูมิที่ความลึกระดับ 5 ,10 ,20 , 50 และ 100 เซนติเมตร
วีดิทัศน์ เรื่อง อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุด
กลับไปที่เนื้อหา
ปริมาณน้ำฝน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของลมฟ้าอากาศที่ต้องมีการเก็บข้อมูลและเฝ้าระวัง ถ้าปริมาณฝนตกมากเกินไปจะส่งผลถึงการเกิดอุทกภัยหรือดินถล่ม ไร่นาและผลิตผลทางการเกษตรเสียหาย ถ้าปริมาณฝนน้อยเกินไปก็จะส่งผลถึงภัยแล้งที่ทำให้ผลิตผลทางการเกษตรเสียหาย เช่นกัน ทุกสถานีตรวจอากาศจะต้องวัดปริมาณน้ำฝนที่ตกใน 24 ชั่วโมง การวัดจะใช้เครื่องวัดฝนซึ่งมีหลายแบบ ที่ใช้กันทั่วไปคือแบบแก้วตวง ตัวเครื่องทำด้วยโลหะไม่เป็นสนิม มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 8 นิ้ว สูง 145 มม. อ่านค่าโดยการตวงวัดน้ำฝนลงในหลอดแก้วตวงมาตรฐานสำหรับใช้กับเครื่องวัดน้ำ ฝนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว สามารถอ่านค่าได้ละเอียดถึง 0.1 มม. เครื่องวัดฝนต้องติดตั้งอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้งและวางตั้งในแนวดิ่ง
เราสามารถใช้ภาชนะที่เป็นรูปทรงกระบอกทำเครื่องวัดฝนได้ เพราะภาชนะทรงกระบอกขนาดเท่าใดก็ตามเมื่อวางไว้กลางแจ้งโดยตั้งในแนวดิ่งก็ จะวัดปริมาณน้ำฝนได้สูงเท่ากัน และอาจวัดความสูงของน้ำฝนได้ง่าย ๆ โดยใช้ไม้บรรทัดวัด
วีดิทัศน์ เรื่อง เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน
กลับไปที่เนื้อหา
ความเร็วลม ทั้งอัตราเร็วและทิศทางของลมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ ลมที่พัดมาจากทะเลและมีอัตราเร็วมากก็จะพาไอน้ำเข้ามามาก มีผลต่อปริมาณฝน ทิศทางลมมีผลต่อการเคลื่อนที่ของเมฆ และการเคลื่อนที่ของพายุ เครื่องมือวัดความเร็วลมประกอบด้วย ศรลม (wind vane) ใช้บอกทิศของลมโดยหัวลูกศรซึ่งหมุนได้คล่องในแนวราบจะชี้ทิศที่ลมพัดมา (สวนทางลม) และวัดทิศทางเป็นมุมที่ทำกับทิศเหนือ ส่วนอัตราเร็วลมจะวัดด้วยถ้วยลมหรือ Anemometer ซึ่งหมุนในแนวราบบนยอดเสาที่สูงจากพื้น 11 เมตร การหมุนของถ้วยลมจะทำให้เกิดไฟฟ้าเล็กน้อยส่งไปยังเครื่องมือวัด ซึ่งจะอ่านค่าอัตราเร็วลมออกมาในหน่วยน็อต ( 1 น็อต คือ 1 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง ซึ่งเท่ากับ 1.853 กิโลเมตรต่อชั่วโมง )
วีดิทัศน์ เรื่อง เครื่องวัดทิศทางและความเร็วลม
เอกสารอ้างอิง
http://bom.gov.au
กลับไปที่เนื้อหา
แสงแดดความยาวนานของแสงแดด และความเข้มของแสงแดดที่ส่องลงมาในแต่ละวัน มีผลต่ออุณหภูมิบนผิวโลกและสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆของลมฟ้าอากาศ ทั้งความชื้น ลม ความกดอากาศและ อื่น ๆ ทั้งยังมีผลต่อการระเหยของน้ำและการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชด้วย การวัดความยาวนานของแสงแดดในแต่ละวันวัดได้ด้วยเครื่องวัดแสงแดดที่มีลักษณะ เป็นลูกแก้วกลมใส มีที่สอดกระดาษอาบสารเคมีอยู่ข้างใต้ เมื่อแสงแดดส่องผ่านลูกแก้วจะหักเหไปรวมกันที่จุดโฟกัสบนกระดาษพอดี เกิดรอยไหม้บนกระดาษเป็นทางยาวซึ่งจะบอกความยาวนานของแสงแดด ส่วนความลึกของรอยไหม้จะบอกความเข้มของแสงแดด
วีดิทัศน์ เรื่อง เครื่องวัดความยาวนานแสงแดด
กลับไปที่เนื้อหา
ความกดอากาศ เป็นองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปเรียกว่าความดันอากาศแต่ในทางอุตุนิยมวิทยาใช้คำว่าความกดอากาศ เพราะพิจารณาเฉพาะความดันอากาศที่เกิดจากน้ำหนักของลำอากาศที่กดทับบน พื้นที่ 1 ตารางเมตร ความกดอากาศมีหน่วยเป็นนิวตันต่อตารางเมตรหรือบาร์ หรือ ปาสคัล ทางอุตุนิยมวิทยาจะอ่านค่าความกดอากาศในหน่วย มิลลิบาร์ หรือ เฮคโตปาสคัล ความ กดอากาศที่ตรวจวัดได้แต่ละพื้นที่ทำให้บอกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณฝนและทิศทางลม สถานีตรวจอากาศทุกแห่งจึงต้องคอยตรวจวัดความกดอากาศและส่งข้อมูลไปวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการพยากรณ์อากาศ
การวัดความกดอากาศใช้เครื่องมือที่เรียกว่า บารอมิเตอร์ ซึ่งมีหลายแบบ ที่ใช้กันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ บารอมิเตอร์แบบปรอท



วีดิทัศน์ เรื่อง ความกดอากาศ
หลักการของบารอมิเตอร์แบบปรอท จาก tps.ac.th
บารอมิเตอร์แบบปรอทที่ใช้ในปัจจุบันจาก www.cmmet.tmd.go.th/ http://www.universetoday.com/
http://www.stuffintheair.com
กลับไปที่เนื้อหา
การตรวจอากาศชั้นบน การเปลี่ยนแปลงของลักษณะอากาศสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบทางลม ฟ้าอากาศที่อยู่เหนือผิวพื้นของโลกด้วย โดยเฉพาะในชั้นโทรโพสเฟียร์ ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาที่ตรวจวัด เพื่อใช้ในการพยากรณ์อากาศ ได้แก่ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความเร็วลมและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในระดับต่าง ๆ เครื่องมือในการตรวจวัดข้อมูลเหล่านี้ ในกรมอุตุนิยมวิทยามีใช้อยู่ 2 แบบ
แบบแรกเรียกว่า เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosonde) ใช้สำหรับตรวจอากาศในระดับสูง เครื่องวิทยุหยั่งอากาศเป็นเครื่องส่งคลื่นวิทยุที่มีอุปกรณ์ขนาดเล็ก (sensor) สำหรับวัดค่าต่าง ๆ ที่ต้องการ ทำงานด้วยแบตเตอรี่ขนาดเล็ก เวลาใช้งานจะผูกติดกับบอลลูนบรรจุก๊าซไฮโดรเจน บอลลูนจะพาเครื่องวิทยุหยั่งอากาศขึ้นไปยังระดับสูงๆ แล้วเครื่องวิทยุหยั่งอากาศจะส่งคลื่นวิทยุมายังเครื่องรับที่พื้นดิน ซึ่งจะแปลความหมายของคลื่นวิทยุนั้นเป็นค่าของความกดอากาศ อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ในระดับต่างๆ ได้ และประกอบกับการใช้เครื่องมือคอยจับทิศทางการเคลื่อนที่ของลูกโป่งทุกๆ นาที ก็จะคำนวณหาทิศและความเร็วของลมในระดับต่างๆ ได้ด้วย ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์อากาศอย่างมาก การตรวจวัดนี้ทำได้ถึงระดับสูง 30 กิโลเมตร
แบบที่สองคือ ไพล็อตบอลลูน (pilot balloon) หรือบอลลูนนำ ใช้อากาศชั้นบนได้เฉพาะทิศทางและความเร็วลม โดยใช้กล้องวัดมุม (theodolite) ซึ่งเป็นกล้องที่มีลักษณะคล้ายกับกล้องสำรวจแผนที่ กล้องวัดมุมนี้ สามารถวัดมุมตามแนวนอน และแนวตั้งของลูกโป่งที่กำลังลอยอยู่เพื่อนำไปคำนวณหาตำแหน่งและความเร็วของ ลูกบัลลูน ทำให้รู้ทิศทางและความเร็วลมของอากาศชั้นบน แต่ความสูงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะอากาศ ถ้าอากาศแจ่มใส ก็สามารถตรวจได้สูงมากๆใช้เวลาในการตรวจอาจจะถึง 1 ชั่วโมง แต่ถ้ามีลักษณะอากาศไม่ดีเช่นมีฟ้าหลัวชื้นหรือแห้ง หรือมีเมฆต่ำมากก็ไม่สามารถตรวจวัดได้ ข้อมูลจากการตรวจวัด จะถูกส่งไปรวบรวมและวิเคราะห์ เพื่อพยากรณ์อากาศต่อไป
วีดิทัศน์ เรื่อง การตรวจอากาศชั้นบน
กลับไปที่เนื้อหา
การพยากรณ์อากาศ เป็นการคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศในอนาคต ข้อมูลเริ่มต้นสำหรับการพยากรณ์อากาศนั้น ได้มาจากการตรวจอากาศ ทั้งการตรวจอากาศผิวพื้น การตรวจอากาศชั้นบนในระดับความสูงต่าง ๆ ข้อมูลสำคัญที่ต้องใช้เพื่อพยากรณ์อากาศได้แก่ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น ลม เมฆ และฝน การที่จะพยากรณ์อากาศในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ต้องใช้ข้อมูลจากผลการตรวจอากาศในบริเวณนั้นร่วมกับผลการตรวจอากาศจากบริเวณ ที่อยู่โดยรอบด้วย นอกเหนือจากกการตรวจอากาศผิวพื้นทั้งบนพื้นดิน พื้นน้ำ และการตรวจอากาศชั้นบนแล้ว ปัจจุบันการตรวจอากาศที่ช่วยให้การพยากรณ์แม่นยำยิ่งขึ้นคือ การตรวจอากาศด้วยเรดาร์และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาด้วย
วีดีทัศน์ เรื่อง การพยากรณ์อากาศ
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพยากรณ์อากาศ เมื่อมีข้อมูลผลการตรวจอากาศแล้ว สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้สามารถพยากรณ์อากาศได้ คือการวิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจอากาศเพื่อให้ทราบลักษณะอากาศปัจจุบัน และการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงของลักษณะอากาศที่กำลังเกิดขึ้น โดยขั้นตอนแรกเป็นการบันทึกผลการตรวจอากาศที่ได้รับทั้งหมด ทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศ ลงบนแผนที่หรือแผนภูมิทางอุตุนิยมวิทยาชนิดต่าง ๆ เช่น แผนที่อากาศผิวพื้น แผนที่อากาศชั้นบน แผนภูมิการหยั่งอากาศ ด้วยสัญลักษณ์มาตรฐานทางอุตุนิยมวิทยา
วีดิทัศน์ เรื่อง ข้อมูลสำหรับพยากรณ์อากาศ
วีดิทัศน์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพยากรณ์อากาศ
ขั้นตอนที่สองคือการวิเคราะห์ผลการตรวจอากาศที่ได้จากขั้นตอนแรก โดยการลากเส้นแสดงค่าองค์ประกอบทางอุตุนิยมวิทยา เช่น เส้นความกดอากาศเท่ากันหรือไอโซบาร์ เพื่อแสดงตำแหน่ง และความรุนแรงของระบบลมฟ้าอากาศ เส้นทิศทางและความเร็วลมในระดับความสูงต่าง ๆ เพื่อแสดงลักษณะอากาศในระดับบน และเส้นแสดงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความสูงเพื่อแสดงเสถียรภาพของ บรรยากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดเมฆและฝน
วีดิทัศน์ เรื่อง สัญลักษณ์ในแผนที่อากาศ
วีดิทัศน์ เรื่อง ขั้นตอนในการพยากรณ์อากาศ
- อากาศร้อน (Hot) ใช้กับอุณหภูมิสูงสุดตั้งแต่ 35.0 – 39.9 องศาเซลเซียส
- อากาศร้อนจัด (Very Hot) ใช้กับอุณหภูมิสูงสุดตั้งแต่ 40.0 องศาเซลเซียสขึ้นไป
- อากาศเย็น (Cool) ใช้กับอุณหภูมิต่ำสุดตั้งแต่ 18.0 – 22.9 องศาเซลเซียส
- อากาศค่อนข้างหนาว (Moderately Cold) ใช้กับอุณหภูมิต่ำสุดตั้งแต่ 16.0 – 17.9 องศาเซลเซียส
- อากาศหนาว (Cold) ใช้กับอุณหภูมิต่ำสุดตั้งแต่ 8.0 – 15.9 องศาเซลเซียส
- อากาศหนาวจัด (Very Cold) ใช้กับอุณหภูมิต่ำสุดตั้งแต่ 7.9 องศาเซลเซียสลงไป
เกณฑ์ปริมาณฝน กำหนดจากปริมาณน้ำฝน ดังนี้
กลับไปที่เนื้อหา
สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว นอกจากกรมอุตุนิยมวิทยาจะมีหน้าที่ตรวจวัด เฝ้าระวังเรื่องลมฟ้าอากาศ พยากรณ์อากาศแล้วยังมีสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว ทำหน้าที่ในการตรวจและวิเคราะห์แผ่นดินไหวทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีเครือข่ายสถานีตรวจแผ่นดินไหวแบบอัตโนมัติ สถานีตรวจวัดอัตราเร่งของพื้นดิน สถานีวัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก และสถานีวัดระดับน้ำทะเล ติดตั้งอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อตรวจวัด เฝ้าระวัง และให้บริการข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องภัยแผ่นดินไหวในประเทศอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตลอดจนแจ้งเตือนภัยให้กับพื้นที่เสียงภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในทะเล และอาจเกิดคลื่นสึนามิได้
วีดิทัศน์ เรื่อง สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
วีดิทัศน์ เรื่อง ระบบการตรวจวัดแผ่นดินไหว
วีดิทัศน์ เรื่อง การเกิดแผ่นดินไหว
วีดิทัศน์ เรื่อง การป้องกันและบรรเทาแผ่นดินไหว
กลับไปที่เนื้อหา
-
คลังวิดีทัศน์
ตอน กรมอุตุนิยมวิทยา
ตอน องค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ
ตอน สนามอุตุนิยมวิทยา
ตอน การวัดความชื้นสัมพัทธ์
ตอน อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุด
ตอน เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน
ตอน เครื่องวัดทิศทางและความเร็วลม
ตอน เครื่องวัดความยาวนานแสงแดด
-
แผนการจัดการเรียนรู้
ผู้เขียนแผนการสอนคุณครชูนัญญา สังข์มูล โรงเรียนบ้านโคกวิทยาผู้เขียนแผนการสอนคุณครูศิวาพร หล้าเชียงของ โรงเรียนบ้านโคกวิทยาผู้เขียนแผนการสอนนางวรรณภรณ์ ละออ โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1”ผู้เขียนแผนการสอนนางสาวรัตนาภรณ์ กาญจนพัฒน์ โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ 1”ผู้เขียนแผนการสอนนางสาวเมลดา ยมจินดา โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรีผู้เขียนแผนการสอนนางสาวก าไลทิพย์ อินทะปัญญา โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
-
คำที่เกี่ยวข้อง